ลำดับเหตุการณ์...อวสาน ไอทีวี ทีวีเสรี

ภายหลังเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 17-20 พ.ค. 2535


ที่สื่อมวลชนถูกเคลือบแคลงสงสัยว่า รายงานข้อเท็จจริงความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง สถานีโทรทัศน์เสรี คือเสียงเรียกร้องจากประชาชนทุกภาคส่วนในห้วงเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นสถานีข่าวที่มีสัดส่วน เนื้อหาสาระไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 บันเทิงร้อยละ 30

ต่อมา บริษัท สยามอินโฟเทน เมนท์ จำกัด ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2538 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นและชำระแล้ว 250 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนเป็น 1,000 ล้านบาท ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2541 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหา ชน) ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ระบบ ยูเอช เอฟ แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

โดยบริษัทฯ ได้รับสัมปทานจาก


สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 3 ก.ค. 2568 โดยบริษัท ฯ มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญดังนี้ ในปี 2538 กลุ่ม บริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิว นิเคชั่นส์ จำกัด นำโดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงานโครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยูเอชเอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้ง บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2538

ปี 2539


บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ และ ได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2539 ต่อมา ในปี 2540 บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด


นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปร สภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน


และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2541 โดยบริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีส่งบนอาคารใบหยก 2 มีขนาดกำลังส่ง ออกอากาศ 1,000 กิโลวัตต์ สามารถให้บริการในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดในภาคกลาง จากนั้น บมจ.ไอทีวี ได้นำเสนอข่าวบนจุดยืน ทีวีเสรี นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อประชาชนเรื่อยมา

ต่อมา บมจ.ไอทีวี เข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2544


มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ โดย กลุ่มชินคอร์ป ได้ตกลงซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากธนาคารฯ จำนวน 106,250,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10.6573 บาท รวมทั้งได้ดำเนินการเสนอ ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากผู้ถือหุ้นรายอื่นในราคาเดียวกัน

เป็นผลให้ชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด

ระหว่างนั้น คลื่นใต้น้ำภายในสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีนักข่าวกลุ่มหนึ่งราว 23 คน ออกมาแสดงจุดยืน ต่อต้านการเข้าแทรกแซงการนำเสนอของฝ่ายบริหาร ทำให้นักข่าวกลุ่มดังกล่าวถูกเลิกจ้างและเป็นที่มาของ 23 กบฏไอทีวี



ต่อมาวันที่ 13 มี.ค. 2545


บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2546 เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจ พร้อมย้ายไปยังที่ทำการใหม่ เลขที่ 1010 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3

พร้อมกันนี้ ได้ปรับเปลี่ยนผังรายการใหม่


ภายใต้ Concept Speed & Spice ทางด้านรายการข่าว ที่เน้นความลึก เข้มข้น ถูกต้อง และเป็นธรรม ส่วนรายการบันเทิง มีพลังแห่งสีสัน ความหลากหลาย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ตรงใจผู้ชมทุกรุ่น ต่อมาในเดือน ธ.ค. 2546 คณะกรรมการบริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทเป็น 7,800 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ 300 ล้านหุ้น เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท

ต่อมาวันที่ 30 ม.ค. 2547


คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อพิพาทกรณี มีสาระสำคัญดังนี้ ให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ชดเชยความเสียหายโดยชำระเงินให้แก่บริษัทฯ จำนวน 20 ล้านบาท ให้ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง

ในส่วนจำนวนเงินรับประกันผลประโยชน์ขั้นต่ำ


ให้ปรับลดจากเดิมลงเหลือปีละ 230 ล้านบาท โดยไม่ต้องชำระขั้นต่ำส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และปรับลดผลประโยชน์ตอบแทน เป็นอัตราร้อยละจากเดิมลงเหลือ อัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และภาษีใด ๆ โดยเปรียบเทียบ ระหว่างจำนวนเงินที่คำนวณได้ ตามอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษีใด ๆ กับเงินประกัน ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ ปีละ 230 ล้านบาท จำนวนใดมากกว่าให้ชำระตามจำนวนที่มากกว่านั้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 3 ก.ค. 2545 เป็นต้นไป

ให้สปน. คืนผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่บริษัทได้ชำระ


โดยมีเงื่อนไขระหว่างพิจารณาข้อพิพาทนี้เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2546 จำนวน 800 ล้านบาท โดยคืนให้แก่บริษัทฯ จำนวน 570 ล้านบาท ให้บริษัทฯ สามารถออกอากาศช่วงเวลา Prime Time คือช่วงเวลาระหว่าง 19.00-21.30 น. ได้โดยไม่ต้องถูกจำกัด เฉพาะรายการข่าว สารคดี และสารประโยชน์


แต่ต้องเสนอรายการข่าว สารคดี และสารประโยชน์


ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของกฎระเบียบที่ทางราชการออกใช้บังคับแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไป แต่ภายหลัง ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าว ทำให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าปรับย้อนหลังเป็นเงินมหาศาล

กระทั่งในวันที่ 6 มี.ค.


ครม.ได้มีมติเห็นชอบให้ บมจ.ไอทีวี หยุดออกอากาศเป็นการชั่วคราว หลังจากทางบริษัทฯ ไม่สามารถหาเงินจ่ายค่าปรับกว่า 1 แสนล้านบาทมาชำระได้ นับเป็นเวลา 10 ปีเต็ม ที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวีออกอากาศเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย

อนึ่ง สถานีโทรทัศน์ไอทีวีมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 50 สถานี


ซึ่งนับว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุดในบรรดาสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ครอบคลุมประชากรที่สามารถรับชมได้ ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์