ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้เชิญตัวแทนบุคคลจาก 3 ฝ่ายประกอบด้วย
นายวรชัย เหมะ ส.ส. สมุทรรปราการ พรคเพื่อไทย ในฐานะตัวแทนของกลุ่มแดงนิติราษฎร์ , นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะแกนนำ นปช. และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาหารือถึงแนวทางการนิรโทษกรรม ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง รวมถึงแนวทางออกที่จะนำไปสู่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งนี้ในการหารือ ใช้เวลาร่วมสองชั่วโมง
หลังการหารือ นายวรชัย ได้เปิดเผยว่า
เบื้องต้นเห็นตรงกันว่าจะออกร่างพระราชบัญญัติ จำนวน 2 ฉบับคือ 1.ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กับประชาชน ที่มีการฝ่าฝืน พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ 2. ร่าง พ.ร.บ.เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและความขัดแย้งทางการเมือง จะโฟกัสไปที่ผู้ยุยงปลุกปั่นการชุมนุม แต่รายละเอียดจะเป็นใครบ้างหรือแกนนำระดับใดจะให้กรรมการกลางเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ในหลักการกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะต้องตั้งกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบว่าบุคคลใดที่เข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรม
ขณะที่ นายปานเทพ กล่าวว่า
เป็นการร่วมหารือเป็นการส่วนตัว เพราะนายเจริญบอกว่าเป็นการคุยกันเพื่อรับฟังความเห็นและขจัดความขัดแย้งนอกสภาต่อแนวความคิดการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการ แต่กฎหมายนิรโทษกรรมที่ออกมา ก็อยากให้ยึดข้อเสนอของนางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่ระบุว่า หากนิรโทษกรรมไปแล้ว บุคคลที่เข้าข่ายจะได้รับการนิรโทษฯ ต้องยอมรับผิดและเมื่อสำนึกผิดแล้วก็และทำสัญญาว่าจะไม่กระทำความผิดลักษณะเดิมซ้ำสอง
นอกจากนี้ ความเห็นของนางนิชาก็สอดคล้องและได้รับการยอมรับจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ส่วนกลุ่มพันธมิตร ยึดในหลักการเดิมคือ จะยังคงต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการชุมนุมของพันธมิตรเป็นการชุมนุมโดยสงบ แต่ถูกประกาศ พ.ร.ก.มาครอบเอาไว้ ซึ่งเราไม่ใช่คนผิดและกำลังต่อสู้เรื่องนี้ และแกนนนำก็ยังคงต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ต่อไป
ด้าน นายก่อแก้ว กล่าวว่า
การออกร่าง พ.ร.บนิรโทษกรรมสองฉบับเป็นแนวคิดที่นายปานเทพ เป็นผู้เสนอในวงหารือ ซึ่งตามหลักการแล้วโดยส่วนตัวเห็นด้วย แต่เชื่อว่าจะมีข้อถกเถียงกันอย่างมากมาย และทำให้การอออกกฎหมายไปบังคับใช้เกิดความยุ่งยาก โดยเฉพาะการตั้งกรรมการกลางมาพิจารณา ทั้งนี้แนวคิดการนิรโทษให้ประชาชนที่มีความผิดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ นั้นเห็นด้วย เพราะจะได้รับเร็ว ส่วนอีกฉบับเป็นร่างเพื่อบรรเทาความขัดแย้งทางการเมือง ในวงหารือยังคงไม่ชัดเจนว่าบุคคลใดที่จะเข้าข่ายที่จะได้รับการนิรโทษกรรม โดยหลักการต้องให้กรรมการกลางเป็นผู้พิจารณา
นายก่อแก้ว กล่าวอีกว่า
สำหรับการประชุมเป็นบรรยากาศที่ดี แบบปัญญาชนได้หารือร่วมกันทั้งนี้ได้คุยกันว่าอะไรที่พันธมิตรรับได้หรือรับไม่ได้โดยนายปานเทพ บอกว่าต้องไม่เขียนกฎหมายเพื่อให้อานิสงส์ล้างผิดใดๆกับพล.ต.ท.ทักษอิณการประชุมครั้งนี้ยังไม่ถือเป็นข้อสรุป และต้องหารือกับฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยจะนำเรื่องนี้ไปคุยกับแกนนำนปช. และในการประชุม ส.ส.วันที่ 19 ก.พ. คาดว่า นายวรชัย จะนำเข้าหารือในที่ประชุมพรรค ทั้งนี้การหารือในวันนี้ไม่ได้พูดถึง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับของนายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน คอ.นธ.ส่วนร่างกฎหมายทั้งสองฉบับจะเขียนเมื่อไหร่นั้นคงต้องรออีกสักระยะ เพราะการหารือครั้งนี้เป็นแบบไม่เป็นทางการ