'คนกรุง' เชื่อ 'เหลือง-แดง' ปะทะกันห้ามยาก สะท้อนการเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ต้นเหตุสำคัญทำ ปชช.ทะเลาะกัน ระบุกองปราบฯ ไม่ควรปล่อยเหตุการณ์บานปลาย แนะทางออกต้องมีสติ ถอยคนละก้าว
29 ก.ย.55 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
กรณี การปะทะกันของคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง หน้ากองปราบ จำนวน 1,094 คน ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2555 เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางสังคมและแสวงหาฐานข้อมูล ด้านความคิดเห็นของประชาชน สรุปผลดังนี้
1.ความคิดเห็นของประชาชน กรณีเหตุการณ์การปะทะกันของคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง หน้ากองปราบฯ
อันดับ 1 เป็นเรื่องของคน 2 กลุ่ม ที่มีแนวคิดมุมมองที่แตกต่างกัน ยากที่จะห้ามไม่ให้มีการกระทบกระทั่งกันได้ 42.04%
อันดับ 2 มีแต่ผลเสียตามมา ภาพลักษณ์ประเทศดูแย่ลง ทรัพย์สินราชการเสียหาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 29.21%
อันดับ 3 ทางกองปราบฯ น่าจะรับมือกับผู้ชุมนุมได้ดีกว่านี้ ไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์บานปลาย 18.87%
อันดับ 4 การปะทะกันครั้งนี้อาจมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาปลุกปั่นยั่วยุหวังให้กลุ่มผู้ชุมนุมเกิดความโกรธแค้น 9.88%
2.จากเหตุการณ์การปะทะกันของคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง สะท้อนให้เห็นถึงภาพการเมืองไทย ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?
อันดับ 1 การเมืองไทยยังขาดเสถียรภาพ ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นต้นเหตุสำคัญให้ประชาชนทะเลาะกัน 53.12%
อันดับ 2 ตราบใดที่การเมืองไทยยังไม่สามารถปรองดองกันได้ ก็ไม่สามารถเดินหน้าบริหารบ้านเมืองในด้านอื่นๆให้พัฒนาได้ 19.23%
อันดับ 3 ภาพลักษณ์ของการเมืองไทยดูแย่ลง /ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น /นักลงทุนไม่ไว้วางใจ 17.56%
อันดับ 4 ประเทศไทยยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตยมากพอ คนไทยไม่เคารพและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 10.09%
3. ประชาชนคิดว่าแนวทางแก้ไขปัญหานี้เพื่อไม่ให้เกิดการบานปลาย ควรทำอย่างไร?
อันดับ 1 ต้องมีสติ อดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุ ถอยคนละก้าว ไม่ใช้กำลังในการตัดสินปัญหา 40.05%
อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเข้มงวด มีการเตรียมการหรือวางแผนเพื่อป้องกันดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุม 24.49%
อันดับ 3 ผู้ที่เป็นแกนนำแต่ละฝ่ายควรดูแล ควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตนให้อยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย 19.39%
อันดับ 4 อย่าหลงเชื่อหรือตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดี /หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากัน ไม่อยู่ในที่สุ่มเสี่ยงต่อการปะทะกัน16.07%อัญมินทร์ เรียบเรียง