น้ำกับการเมือง จากต.ค.-พ.ย.54 ถึงวันนี้ ก.ย. 2555

เรื่องน้ำท่วมยังคงเป็นเรื่องการเมือง

ตั้งแต่ น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554

มาจนถึงเดือนนี้ปีนี้ กันยายน 2555


น้ำยังไม่มา แต่การเมืองมารออยู่นานแล้ว

ปลายปี 2554 รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนสิงหาคม โดนถล่มโจมตีอย่างหนัก

ด้วยเป้าหมายจะให้รัฐบาลเพื่อไทย ไหลออกทะเลไปกับมหาธาราให้ได้

เรื่องราวจบลงด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่อง "ถุงยังชีพ" ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ประธาน เป็นเป้าใหญ่

เกมพลิกอีก เมื่อ พล.ต.อ.ประชา โชว์เก๋าพลิกตัวหลบจากข้อหาไปได้

น้ำกับการเมือง จากต.ค.-พ.ย.54 ถึงวันนี้ ก.ย. 2555

สองเหตุการณ์ใหญ่ ในแผนงานป้องกันน้ำท่วมจากรัฐบาล ที่เกิดขึ้นในต้นเดือน ก.ย. คือ

1.นิทรรศการ "มุ่งมั่นทำงานบริหารจัดการน้ำเพื่อประชาชน" ที่บางกอกคอนเวนชั่น เซ็นทรัล ลาดพร้าว

และ 2.การทดสอบระบบระบายน้ำ โดยปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯไปลงอ่าวไทย

โดยปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯผ่านคลองลาดพร้าวด้านตะวันออก และคลองทวีวัฒนาด้านตะวันตก

คำชี้แจงจากรัฐบาล นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.)

การดำเนินการอยู่ภายใต้การควบคุมของ กบอ., กทม. และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการน้ำ

หากเกิดฝนตกในระหว่างซ้อมแผนจะหยุดทันที

สาเหตุที่ต้องซ้อม เพื่อตรวจสอบว่า กทม.ได้มีการขุดลอกคูคลองรอบกรุงเทพฯ ป้องกันปัญหาน้ำท่วมตามคำสั่งของรัฐบาลหรือไม่

หรือมีจุดใดที่ต้องขุดให้ลึกเพิ่ม หรือจุดใดสามารถระบายน้ำได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งประตูระบายน้ำต่างๆ ที่สั่งการให้ซ่อมแซมเสร็จสิ้นลงหรือยัง

นอกจากทดสอบการระบายน้ำแล้ว เป้าหมายของโครงการ ยังต้องการทำให้คน กทม.เชื่อมั่นในระบบระบายน้ำ และยอมให้น้ำผ่านกรุงเทพฯ

หลังจากที่เกิดปัญหาในปี 2554 เนื่องจากเกิดแรงต้านไม่ยอมให้ระบายน้ำผ่านกรุงเทพฯ

ส่งผลต่อจังหวัดเหนือกรุงเทพฯ ต้องรับความเสียหายอย่างหนัก



อุปสรรคของการ "ซ้อมใหญ่" ให้น้ำเดินทางผ่านกรุงเทพฯ อาจไม่ได้อยู่ที่คนกรุงเทพฯ

แต่น่าจะอยู่ที่ผู้ว่ากรุงเทพฯและคณะรองผู้ว่าฯ

รวมถึง ส.ส.กรุงเทพฯของพรรค ปชป.

ดังที่มีข่าว แสดงความ "วิตก" และ "กังวล" จากพรรคประชาธิปัตย์ทันที

บางท่านถึงกับระบุว่า เป็นเรื่องไม่จำเป็น เป็นเพียงละครฉากหนึ่งเท่านั้น

นับเป็นความกังวลและวิตกที่เข้มข้นด้วย "การเมือง"

ที่น่าสนใจ คือคำกล่าวของนายมิคิโกะ ทาเคยะ ที่ปรึกษาอาวุโสองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า ในที่สัมมนาของนิทรรศการน้ำ เมื่อวันที่ 2 ก.ย. สนับสนุนให้ทดสอบปล่อยน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และจัดการน้ำ

ดังนั้น หากพิจารณาจากความวิตกกังวลของนักการเมือง ทำให้ชาวบ้านวิตกได้เหมือนกันว่า

คูคลองต่างๆ ใน กทม. ผ่านการขุดลอกเรียบร้อยแล้วหรือไม่

หากพร้อมรับการทดสอบ ไฉนจึงมากด้วยความกังวลกันถึงขนาดนั้น

จากปลายปี 2554 ถึง ก.ย. 2555 การเมืองยังเป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาน้ำ

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์