16 ส.ค.55 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าการจัดการกับสถานการณ์ราคายางพาราในขณะนี้ว่า เรื่องราคายางที่ยกลงในขณะนี้ เป็นที่วิตกของทุกประเทศที่ส่งออกยาก และแต่ละประเทศได้มีมาตราการขึ้นมาเพื่อแก้ไขแต่ราคายางไม่กระเตื้องขึ้น ว่า เมื่อวานที่ผ่านมา (15 ส.ค.) กลุ่มสภาความร่วมมือยางพาราระหว่างประเทศ หรือ IPRC ที่ประกอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในฐานะที่เป็นกลุ่มประเทศที่ส่งออกยากถึงร้อยละ 70 ของตลาดโลก โดยราคายางพาราทั้ง 3 ประเทศเป็นราคายางที่เกาะกลุ่มกัน ไม่เกิน 1- 3 บาท โดยที่ประชุมมีข้อสรุป ในการดำเนินมาตรการลดปริมาณยางพาราในตลาดโลก
โดยทั้ง 3 ประเทศจะลดปริมาณการส่งออกยางพารา จำนวน 3 แสนตัน และจะทำการรณรงค์ให้โค้นยางอายุมากจำนวน 1 แสนไร่
โดยสัดส่วนของประเทศไทยจะลดการส่งออกจำนวน 1.5 แสนตัน และโค่นยางพาราประมาณ 5 แสนไร่ เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณพื้นที่เพาะปลูกและอัตราการส่งออกมากกว่าประเทศอื่น โดยมาตรการดังกล่าว ที่ทั้ง 3 ประเทศจะนำไปประกาศใช้หลังจากนี้ จะช่วยลดปริมาณยางพาราในตลาดโลก 4.5 แสนตัน แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2 บาท และคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นราคายางพาราสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตนเองได้สั่งการอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจงต่อสมาคมยางพาราไทย รวมถึงผู้ส่งออกเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว และจะนำข้อสรุปดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุม ครม. ในวันที่ 21 ส.ค.55
นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนที่มีต้นยางอายุมากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว
ซึ่งทางสำนักส่งเคราะห์การทำสวนยาง จะมีเงินชดเชยไร่ละ 16,000 บาท และเชื่อว่า การโค่นยางในช่วงนี้จะเป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะเป็นช่วงที่ราคายาวตกต่ำ อย่างไรก็ตาม คาดว่า IPRC จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อประเมิณการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ในต้นเดือนกันยายนนี้