กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยก 5 คำร้อง ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 และศาลรัฐธรรมนูญเสนอแนะให้จัดทำประชามติก่อนหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนควรที่จะออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และหากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน ถึงแม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมาชี้แจง หรือแม้แต่โฆษกศาลรัฐธรรมนูญเองก็ตามที่ออกมาชี้แจงก็ไม่สามารถทำให้เกิดความชัดเจนได้เพราะไม่ใช่ศาล มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆก็จะยังไม่จบ
สดศรี บี้ 8 ตลก.ศาลรธน. แสดงความชัดเจนคำวินิจฉัยยก 5 คำร้องคดีแก้ไขรธน.
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง สดศรี บี้ 8 ตลก.ศาลรธน. แสดงความชัดเจนคำวินิจฉัยยก 5 คำร้องคดีแก้ไขรธน.
ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ
กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยก 5 คำร้อง ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 และศาลรัฐธรรมนูญเสนอแนะให้จัดทำประชามติก่อนหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนควรที่จะออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และหากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน ถึงแม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมาชี้แจง หรือแม้แต่โฆษกศาลรัฐธรรมนูญเองก็ตามที่ออกมาชี้แจงก็ไม่สามารถทำให้เกิดความชัดเจนได้เพราะไม่ใช่ศาล มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆก็จะยังไม่จบ
กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยก 5 คำร้อง ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 และศาลรัฐธรรมนูญเสนอแนะให้จัดทำประชามติก่อนหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คนควรที่จะออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และหากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน ถึงแม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมาชี้แจง หรือแม้แต่โฆษกศาลรัฐธรรมนูญเองก็ตามที่ออกมาชี้แจงก็ไม่สามารถทำให้เกิดความชัดเจนได้เพราะไม่ใช่ศาล มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆก็จะยังไม่จบ
“ไม่ว่าจะทำประชามติก่อนหรือหลังยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กกต. สามารถดำเนินการได้ทั้งนั้น ซึ่งต้องใช้งบประมาณครั้งละ 2,500 ล้านบาท โดยใช้เวลาในการทำประชามติประมาณ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม ยังไม่อยากกล่าวไปถึงขั้นตอนนั้นเพราะขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเลย” นางสดศรีกล่าว