วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง
กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าขณะนี้จะเกิดตุลาการภิวัฒน์ ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมว่า บทบาทของตุลาการไม่ใช่พึ่งจะมี แต่การทำหน้าที่ของตุลาการต้องยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญในฐานะที่ตนเคยเป็นตุลาการมาก่อน เรายึดถือกฎหมายในการวินิจฉัยในการตัดสินใดๆ การเมืองก็ดีก็ไม่น่าเป็นอุปสรรค ที่ทำให้บทบาทของตุลาการผิดผันไป ตุลาการต้องยึดตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ ในการที่จะพิจารณาใดๆก็ตามอาจจะมีมุมมองว่ากฎหมายสามารถตีความได้หลายลักษณะ ซึ่งการตีความนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของฝ่ายที่ได้ประโยชน์ หรือฝ่ายที่เสียประโยชน์เป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นตุลาการคงจะใช้บทบาทในฐานะเป็นตุลาการจริงๆ ไม่ใช่นักการเมือง
เมื่อถามว่า มองว่าประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ชะลอการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3
จะส่งผลต่อความขัดแย้งต่อฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า ที่จริงน่าจะคุยกันได้ในลักษณะที่ 2 องค์กรสำคัญของประเทศต้องมาจับเขาคุยกันในลักษณะว่า เรื่องที่ตุลาการวินิจฉัยนั้นท่านเข้าใจอย่างไร และควรเปิดเวทีปาถกกันจริง ว่าตุลาการทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องอะไร ต้องเปิดเวทีพูดและทางตุลาการต้องบอกความจริงว่าสิ่งที่ตุลาการทำไปเป็นอย่างไร ตรงตามตัวบทกฎหมายหรือไม่ น่าจะเป็นการพูดคุยกันทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อถามอีกว่า ในฐานะที่เคยเป็นตุลาการมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการก้าวล่วงอำนาจกันหรือไม่
นางสดศรี กล่าวว่า เป็นมุมมองของแต่ละฝ่าย ฝ่ายที่มองแล้วว่าไม่ถูกต้อง ก็คือเสียประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ก็บอกว่าถูกต้อง เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไรจับคน 2 ฝ่ายมาอยู่กึ่งกลางกันให้ได้ ประชาชนต้องมองบทบาทของทั้งด้านนิติบัญญัติ และตุลาการ ว่า ท่านล้ำเส้นกันหรือเปล่า ควรจะพิจารณาในบทบาทของแต่ละฝ่ายอย่าให้เกิดเหตุการณ์ที่หมุนเวียนกลับไปกลับมากันอยู่ตลอดเวลาเหมือนในขณะนี้ เพราะเราเดินช้าไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านแล้วหลายก้าว อยากให้เกิดความสมานฉันท์กัน แล้วอย่าใช้คำว่ากฎหมายเป็นการพลิกผันวิกฤติการเมือง
เมื่อถามว่า มองอย่างไรว่าสภาเลื่อนการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 จะส่งผลต่อระยะเวลาในการตั้ง ส.ส.ร.หรือไม่
นางสดศรี กล่าวว่าคงไม่มีผลต่อการตั้งส.ส.ร.เพราะเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ศาลขอเวลาในการไต่สวนเมื่อไต่สวนอย่างไรการเดินหน้าของรัฐสภาจะดำเนินการต่อไป เชื่อว่าระยะเวลาที่ยืดออกไปอาจจะทำให้การเมืองไม่สับสนขึ้นมา ไม่มีการหักกันเหมือนด้วยการหักด้ามพร้าด้วยเข่า ต้องยืดเวลาให้เกิดการโปร่งใสยิ่งขึ้น เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องกหารไต่สวนเรื่องนี้ก็ควรจะรอ เพราะการเดินหน้าต่อของวาระที่ 3 นั้นใช้เวลาแค่วันเดียว ดังนั้นควรที่จะให้เวลาตุลาการหน่อย เพราะเห็นว่าตุลาการก็มีกำหนดนัดวันไต่สวนไว้แล้ว ถ้ารีบร้อนทำ ถามว่าผลที่เกิดอาจมีทั้งดีและร้ายขึ้นมาก็ได้ ดังนั้นเมื่อขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมเดินไปอย่างนี้เราต้องให้เวลา
ถามย้ำว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีการวิพากษ์ วิจารณ์ว่าตุลาการก้าวล้ำอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ นางสดศรี กล่าว่า
มุมมองของกฎหมายหรือการตีความกฎหมายอาจจะแตกต่างกัน ตุลาการก็ตีความว่าตุลาการเองก็มีอำนาจในการที่จะพิจารณาเรื่องนี้ก่อน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็บอกว่ามีอำนาจดำเนินเรื่องต่อไป แต่ถามว่าเวลาเพียงไม่กี่วันจากนี้ไปไปถึงวันที่ 5 ก.ค.เป็นเวลาอีกไม่กี่วัน ไม่น่าทำให้ไม่เกิดปัญหาซ้อนปัญหากันขึ้นมา ส่วนตัวเห็นว่าควรให้เวลาศาลวินิจฉัยต่อไป และถ้าผลเป็นอย่างไรคงจะมาพูดกันในสภาดีกว่า นำไปดำเนินการที่ยังไม่ชัดเจนว่าตุลาการท่านจะวินิจฉัยอย่างไร ซึ่งจริงๆ อัยการสูงสุดวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้ามาตรา 68 ก็เป็นกระบวนการหนึ่งของอำนาจศาลเหมือนกัน คิดว่าถ้าเรารับร้อนทำอะไรไปในตอนนี้ต้องถามตัวเองว่าผลลัพท์จะเกิดอะไร จะแรงขึ้นหรือไม่ หรือเกิดปัญหาที่เราไม่ต้องการเช่นการปฏิวัติรัฐประหารเราคงไม่ต้องการแบบนั้น ขอระยะเวลาให้ศาลพิจารณาระยะหนึ่ง ผลอออกมาอย่างไรก็ว่าไปเช่นนั้น