ความลำบากใจต่อประมุขของรัฐ
นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงว่า ปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง เรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ โดยบทบัญญัติ มาตรา 68 มีเจตนา คือ ตั้งใจให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องการตีความนั้น ต้องกลับไปถามเจตนารมณ์ผู้ร่างเสมอ และแม้การตีความของศาลจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการยกร่าง แต่ถ้อยคำตามกฎหมายที่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทำให้ตีความเช่นนั้นได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่อัยการสูงสุดออกมามีคำวินิจฉัยว่า ไม่เข้าข่าย ก็ไม่มีผล เพราะศาลวินิจฉัยไปแล้วว่า การยื่นเรื่องทำได้ 2 ช่องทาง ส่วนการที่ศาลให้ชะลอนั้น การดำเนินการในชั้นต่อไปก็เป็นดุลยพินิจของรัฐสภา เมื่อศาลไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดของคดี ขอบเขตการผูกพันรับผิดชอบมีน้อยกว่าการที่ศาลได้วินิจฉัยเด็ดขาด
ทั้งนี้ หากสภาลงมติในวาระที่ 3 ไปในทางเห็นชอบ กระบวนการต่อไป สภาก็ต้องเสนอให้พระมหากษัติรย์ลงพระปรมาภิไธย นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน คือ เสนอเรื่องไปให้พระมหากษัตริย์ต้องตัดสินใจเลือกว่า จะทำตามศาลรัฐธรรมนูญ หรือตามที่รัฐสภามีมติ ซึ่งเป็นการสร้างความลำบากใจต่อประมุขของรัฐ