วันที่ 16 เม.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ในฐานะกรรมการบริหารจัดการน้ำอุทกภัย (กบอ.).
เปิดเผยว่า ในการประชุม กบอ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงมาตรการป้องกันอุทกภัยในปี 2555 โดยได้สั่งการให้เร่งทำข้อมูลให้แล้วเสร็จ เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนจะนำไปแสดงผลในแบบจำลองสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะทำอย่างไรทำให้คนที่มีอำนาจบริหารตัดสินใจสั่งการได้ทันทีโดยแจ้งเตือนให้ประชาชนรับรู้ล่วงหน้าอย่างเร็ว 1-2 สัปดาห์ก่อนเหตุจะเกิด จะได้เตรียมตั้งรับทันและทำให้ประชาชนคลายความวิตกเรื่องน้ำท่วม
“ขณะนี้ การเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงานหลัก ๆ เช่น กรมชลประทาน กทม.ยังไม่เป็นไปตามแผนเท่าที่ควร เพราะมีการเพิ่มรายการข้อมูลระดับน้ำในเกณฑ์ที่ต้องเตือนภัย เกณฑ์ เหลือง แดง เขียว ที่ระดับใด เช่น ที่ จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำ 3,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ก็มีระบบเตือนภัย แต่ที่ จ.อ่างทอง ระดับน้ำ 1,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ก็อันตรายแล้ว ดังนั้นการจะเอาเกณฑ์เตือนภัยมาใช้ สูงแค่นี้จุดไหนเป็นคอขวด ต้องมานั่งคุยระหว่าง กรมชลฯ กับ กทม.ต้องมาประชุมกันแล้วเอาระบบจำลองมาใช้จริงกันเลยว่าเตือนจะล้นหรือไม่ อีกกี่วันล้นตลิ่ง การเตือนภัยต้องมีข้อมูล มาประมวลได้มีเกณฑ์วัด แบบจำลอง เอาผลลัพเอามาใช้ กับแบบจำลองน้ำท่วม น้ำแล้ง และดูว่าสถานการณ์อย่างนี้จะสั่งการอย่างไร นายกฯ กังวลมาก อยากให้ทีมผม ทำข้อมูลชัด ๆ ทำให้ผู้บริหารตัดสินใจได้รวดเร็วและ ไม่ใช่ข้อมูลทางวิชาการมากเกินไป นายกฯ ได้สั่งทีมผลให้ทำระบบเตือนภัยให้เสร็จสิ้นเดือนนี้" ผอ.สำนักสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ระบุและว่า
คาดว่าเดือน ก.ค. นี้ ระบบโทรมาตรตามแม่น้ำต่าง ๆ ติดตั้งกล้องวงจรปิดได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ปลายเดือน เม.ย.จะประเมินได้ว่าปีนี้ฝนจะมากหรือน้อยได้แล้วก่อนจะเข้าหน้าฝนเดือน มิ.ย. ซึ่งการเตือนภัยมีความถูกต้องแม่นยำได้ล่วงหน้าเกิน 3-7 วันขึ้นไป