แต่ปัญหายังวนเวียนอยู่เหมือนเดิม และมารุนแรงขึ้นเมื่อปี 2547 เหตุการณ์ปล้นปืน และรุนแรงเรื่อยมา มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคิดว่าน่าจะทำได้ดี แต่กลับไม่ดีขึ้น ก็น่าจะถึงเวลาแล้วที่ควรประเมินเรื่องการใช้กฎหมายใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยุติธรรมให้ได้ เพราะถือเป็นปัญหาสำคัญ ส่วนเรื่องปากท้อง และการแบ่งแยกดินแดนนั้น เป็นปัญหารองเท่านั้น
พร้อมกันนี้ ศ.ดร.อุกฤษ ยังเปรียบเทียบว่า ปัญหาดังกล่าวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นไข้ใจ จะต้องใช้ใช้ใจรักษา เอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึง ได้รับความเมตตาจากภาครัฐ ไม่ใช่ใช้กำลังทหารแก้ไข เพราะที่ผ่านมามีการจับตัวผู้ต้องสงสัยและส่งฟ้องจำนวนมาก แต่ศาลก็ปล่อยตัว โดยระบุเพียงว่า หลักฐานไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกับประชาชน ดังนั้น จำเป็นต้องไม่มองว่าประชาชนเป็นศัตรู และไม่ถือว่าเป็นการให้ท้ายผู้ก่อเหตุ แต่การแก้ปัญหาจริงๆ ต้องหาทางแก้ที่ต้นเหตุ ในเรื่องของกลุ่มผู้ลักลอบค้าของหนีภาษี น้ำมันเถื่อน ที่สนับสนุนการก่อเหตุ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางส่งทหารจำนวนมากลงภาคใต้ เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ โดยที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์