สมิทธ เชื่อแผนทัวร์นกขมิ้นเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนได้

สมิทธ เชื่อแผนทัวร์นกขมิ้นเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนได้

วันที่ 13 ก.พ. ที่เขื่อนสิริกิติ์ ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ นายสมิทธ ธรรมสโรช ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)
 
 กล่าวถึงการเดินทางมาติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในระหว่างวันที่ 13-17 ก.พ.ของนายกรัฐมนตรี ว่า ถือเป็นเรื่องดี หากการบริหารจัดการน้ำมีข้อบกพร่องตรงไหนจะได้แก้ปัญหาได้ทันก่อนถึงฤดูฝน ไม่เกิดเหตุการณ์เหมือนที่ จ.พระนครศรีอยุธยาที่ผ่านมา  อีกทั้งยังจะทำให้เกิดความมั่นใจและอุ่นใจให้กับประชาชน และนักลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้นด้วย ส่วนการระบายน้ำออกจากเขื่อนให้เหลือ 45 % ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่การบริหารจัดการน้ำจะต้องทำให้ได้ดีด้วย เพื่อไม่ให้น้ำไปท่วมพื้นที่ลุ่มและส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน และเกิดปัญหาภัยแล้งตามมา


 นายสมิทธ ยังกล่าวถึงระบบเตือนภัยในปัจจุบันว่ายังใช้ไม่ได้ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ผ่านมา

เพราะควรต้องบอกประชาชนล่วงหน้า เพื่อลดความเสียหาย อย่างไรก็ตามเชื่อว่านายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเรื่องนี้คงจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะทำระบบการเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อถามว่าประเมินว่าสถานการณ์น้ำในปีนี้จะท่วมหนักกว่าปีที่แล้วหรือไม่ นายสมิทธ กล่าวว่า ถ้าไม่มีการบริหารที่ถูกต้องก็มีอาจจะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่ตนเชื่อว่าสิ่งที่นายกรัฐมนตรีกำลังทำ จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ต้องยอมรับว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงที่เก่งมาก ตัดสินใจเด็ดขาดและรวดเร็ว เพราะอาจเคยเป็นผู้บริหารมาก่อน

  นายสมิทธ ยังกล่าวด้วยว่า ตนเห็นว่าควรจะมีการตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมา เพื่อให้มีอำนาจเต็มในการควบคุมการบริหารงาน สั่งการแบบเด็ดขาด 

 ทั้งการแจ้งบริหารจัดการน้ำ การแจ้งเตือนภัย หรือการอนุมัติจ่ายเงินเยียวยา แต่ปัจจุบันมีกระทรวงที่ดูแลเรื่องน้ำถึง 20 หน่วยงาน ซึ่งมากเกินไป ทำให้ทะเลาะกัน เพราะต่างคนต่างมีความเห็นไม่ตรงกัน ประชาชนก็จะเกิดความสับสน ซึ่งคิดว่ากระทรวงน้ำคงมีความเป็นไปได้ที่จะมีขึ้น เพราะเท่าที่ฟังจากผู้ใหญ่ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีก็มีแนวโน้มเห็นด้วย เพราะเป็นมาตรการเดียวที่จะทำให้การบริหารจัดการน้ำทำได้ดีขึ้น สั่งงานทุกหน่วยงานได้แบบเด็ดขาด แม้แต่ กทม. หากไม่ทำตามก็จะถือว่าผิดกฎหมาย แต่ในระหว่างนี้ก็ให้คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ที่ครม.แต่งตั้งขึ้นใหม่บริหารจัดการไปก่อน เพราะมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน เพียงแต่รองรับด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะถ้าทำผิดพลาดไป คนทำงานอาจถูกฟ้องร้องได้ แต่ถ้าเป็นกระทรวงน้ำ มีพระราชกิจจานุเบกษารองรับ รัฐบาลจะรับผิดชอบเองหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น

 นายสมิทธ ยังกล่าวถึงกรณีที่ถูกโจมตีเรื่องการออกมาแจ้งเตือนอาจเกิดแผ่นดินไหว

และทำให้ 2 เขื่อนใหญ่คือเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี จากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และเจดีย์ 3 องค์ เพราะในประวัติศาสตร์ก็เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้ง ตนจึงจำเป็นต้องออกมาแจ้งเตือนเพื่อให้เตรียมการรองรับ เพราะถ้าเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นจริง ก็จะส่งผลให้เขื่อนแตก ซึ่ง จ.กาญจนบุรีก็จะเกิดน้ำท่วมทันทีถึง 22 เมตร  และไหลมายัง จ.ราชบุรี นครปฐม รวมทั้งกทม.ก็จะถูกน้ำท่วมไม่ต่ำกว่า  3 เมตรเช่นกัน ซึ่งทางผู้ว่า ราชการจังหวัดกาญจนบุรีก็ออกมายอมรับแล้วว่าได้เตรียมสถานที่สูงไว้อพยพผู้คนแล้ว ดังนั้นข้อมูงทางวิชาการเตือนไว้ก็ไม่เสียหายอะไร 

 “แต่ผมคงไม่สามารถคาดการณ์ระยะเวลาเกิดเหตุได้ เพราะถ้าบอกได้ก็คงรวยไปแล้ว แต่บอกว่ามันมีความเป็นไปได้ ให้คอยดูแล้วกัน โดยเฉพาะคนที่หัวเราะเยาะผมในเวลานี้” นายสมิทธ กล่าว

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์