ที่ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษ
เรื่อง "นโยบายของรัฐบาล ต่อการท่องเที่ยวไทย...ในอนาคต" และกล่าวเปิดงานเสวนา หัวข้อ "มุมมองการท่องเที่ยวไทย..ในอนาคต" จัดโดยสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (สสทท.) โดยมีสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเครือของสหพันธ์ฯ ตลอดจนสื่อมวลชนมาร่วมงานประมาณ 400 คน
การท่องเที่ยวไทย เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้และเงินตราเข้าประเทศ เป็นอันดับต้น ๆ ของไทย โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 60 ของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับแต่ปี 2552 เกิดปัญหาวิกฤตจากการเมือง ต่อเนื่องมาถึงการชุมนุมประท้วงทางการเมืองในปี 2553 และในปี 2554 นี้ การท่องเที่ยวเริ่มจะกลับมาดีขึ้น แต่เมื่อเกิดปัญหามหาอุทกภัย ทำให้นักท่องเที่ยวบอกเลิกการเดินทางมาประเทศ ไทย จึงทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวไป สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และทำให้มีการเขามองอนาคตข้างหน้าว่าควรปรับตัว หรือดำเนินการธุรกิจไปในทางใด ตลอดจนกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว ให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน และเกิดสภาพคล่องในการนำเงินตรามาพัฒนาสถานที่ อาชีพ และอื่น ๆ นอกจากนี้ เพื่อรับทราบและกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
จนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และจากการร่วมมือร่วมใจกันฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ทำให้การท่องเที่ยวของไทยเริ่มดีขึ้น แม้ปีที่ผ่านมาจะประสบปัญหามหาอุทกภัย แต่จำนวนนักท่องเที่ยวมีจำนวนสูงถึง 19.1 ล้านคน ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศ ไม่น้อยกว่า 730,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง หากได้รับความมั่นใจและการฟื้นฟูจากภาครัฐบาลและทุกภาคส่วน รวมถึงคนไทยทั้งประเทศต้องช่วยกันฟื้นฟูและสร้างความมั่นใจ ซึ่งถือว่าธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่สำคัญของประเทศ
เพราะรายได้ของประเทศส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว รัฐบาลจึงต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน โดยภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกัน เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการท่องเที่ยวของไทยต่อไปในอนาคต ซึ่งประเทศไทยพร้อมเป็นผู้นำทางด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคให้สมกับปีมิราเคิลไทยแลนด์ให้ได้
และจัดงานแต่งงานที่เมืองไทยมากที่สุด ดังนั้น ประเทศไทยจึงควร เจาะตลาดอินเดียด้วยการจัด package การท่องเที่ยวในทุก ๆ ด้าน เพื่อเป็นการต่อยอดร่วมกันทั้งหมด และการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส ได้มีโอกาสพบผู้นำ นักธุรกิจ และผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ อีกทั้ง ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Economic Forum - East Asia ที่กรุงเทพฯ
ตลอดจน การหารือด้านยุทธศาสตร์ในภาพรวมว่า ทิศทางของธุรกิจท่องเที่ยวต่อไปในอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เพราะประเทศเพื่อนบ้านจะเดินทางมาค้าขายในประเทศไทยได้สะดวกขึ้น ต่อไปจะเห็นว่า ประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ประมาณ 600 ล้านคน จะสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวก ทั้งในเรื่องธุรกิจและท่องเที่ยว
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการสร้างรายได้ในระดับชุมชน รวมถึง การสนับสนุนให้ชุมชนมีการพัฒนาในทุก ๆ ด้านมากยิ่งขึ้น ในทุก ๆ ด้านอาทิ การพัฒนา การพัฒนากองทุน การจัดงบประมาณ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแต่ละหมู่บ้าน รวมถึงกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนตั้งตัวได้
ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่เป็นประตูหน้าด่านของประเทศ เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่ทำให้คนต่างชาติรู้จักประเทศไทย คนที่จะรู้จักประเทศไทยง่ายที่สุดคือ การท่องเที่ยว ถ้าคนไทยสามารถสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวเพียงหนึ่งคน สิ่งที่เขาจะนำไปบอกต่อนั้น จะกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม