เวลา 13.00 น. วันที่ 15 ม.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ มีการเปิดตัวคณะกรรมการรณรงค์แก้ไข ม.112 (ครก.112) การแสดงทางวัฒนธรรม และการเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยมีประชาชนร่วมงานประมาณ 500 คน
ตั้งแต่การรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ที่ผ่านมา สถิติผู้ถูกจับกุม และต้องโทษด้วยมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉพาะปี 2553 มีการฟ้องร้องถึง 478 ข้อหา นอกจากนี้ ความจงรักภักดียังกลายเป็นอาวุธสำหรับข่มขู่คุกคาม และสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชน ความอ่อนไหวของข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาประสบกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงสิทธิพื้นฐานของประชาชน เช่น ไม่อนุญาตให้ประกันตน การดำเนินการไต่สวนด้วยวิธีปิดลับ และพบความกดดันจากสังคมรอบข้าง
จนองค์กรฟรีด้อมเฮ้าท์ เปลี่ยนสถานะเสรีภาพสื่อไทยจากกึ่งเสรีเป็นไม่เสรี และล่าสุดคดีของอากง และโจ กอร์ดอน ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยดังไปทั่วโลก จนองค์กรระหว่างประเทศได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรา 112 และภายในประเทศไทยเอง กลุ่มนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อให้สังคมร่วมกันพิจารณา
อาทิ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ ผาสุก พงษ์ไพจิตร นักเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้ย อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ อาจารย์พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปราบดา หยุ่น นักเขียน อาจารย์อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วัฒน์ วรรยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ซะการีย์ยา อมตยา กวีรางวัลซีไรต์ และ บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนรางวัลซีไรต์ เป็นต้น
และกระบวนการเข้าเสนอชื่อกฎหมาย โดยช่วงหนึ่งระบุว่า ถ้าเสนอเข้าสภาแล้ว มีการแก้ไขกฎหมายนี้ได้จริง ขอให้ผู้สนุบสนุนอย่าเพิ่งดีใจว่าปัญหานี้ยุติไปแล้ว การแก้ 112 เป็นเพียงก้าวแรกของการแก้ไขกฎเกณท์ทั้งปวงอันเกี่ยวกับกษัตริย์ เป็นก้าวแรกของการปฏิรูประบบกษัตริย์ทั้งระบบ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญมากที่จะทำให้ระบอบกษัตริย์ยังดำรงอยู่ได้ในสังคมประชาธิปไตย วิธีการที่เราทำอยู่ตอนนี้ถูกปิดล้อมโดยสื่อมวลชนกระแสหลัก ถูกป้ายสีว่าไม่หวังดีต่อสถานัน ทั้งที่การเสนอแก้ไขมาตรานี้ เป็นการแก้ในกรอบของรัฐที่ยังมีกษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้แก้ไขจนพ้นไปจากกรอบนี้