ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 พ.ย.2554 ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ได้ขอความร่วมมือกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการประชุม โดยเฉพาะในส่วนของวาระการประชุมลับ หลังจากที่กรณีการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) พระราชทานอภัยโทษ...2554 ซึ่งเป็นวาระจร และเป็นการประชุมลับ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมาถูกเปิดเผยและทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าการกระทำดังกล่าว รัฐบาลต้องการเอื้อประโยชน์ให้แก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเคลื่อนไหวกดดันจากหลายกลุ่ม
ได้ยกมือขอชี้แจงต่อที่ประชุมทันที ซึ่งทั้งนพ.วรรณรัตน์ และนายศิริวัฒน์ ได้กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นคนให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยูบำรุง ที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมครั้งก่อน และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง ไม่ได้แสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
ปชป.เชื่อรบ.เตรียมเดินหน้าออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ได้วิเคราะห์สถานการณ์กรณีที่รัฐบาลออกพ.ร.ฏ.ขอพระราชทานอภัยโทษ โดยยึดตามฉบับปี 2553 โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้กล่าวตอนหนึ่งในที่ประชุมว่า กรณีการผลักดันพ.ร.ฎ.อภัยโทษแม้รัฐบาลจะยอมถอยแล้ว เพราะถูกกระแสสังคมต้าน แต่ขอให้ระวังกรณีการเสนอออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ระบุว่าจะลบล้างการกระทำต่างๆก่อนหน้านี้ ของกมธ.วิสามัญ สร้างความปรองดอง เพราะหลายย่างมีการสอดรับกับการออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษ เมื่อแผนหนึ่งไม่ผ่าน ก็มีแผนสองคือการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จึงขอให้ทำหน้าที่ตรวจสอบต่อไปว่าเป็นอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้วิเคราะห์ว่า
การเมืองวันนี้ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรกันแล้ว เพราะเขาเปิดหน้าเล่นวันต่อวัน ทำในสิ่งที่คิดไว้อย่างเปิดเผย แต่ต่อจากนี้ให้ติดตามสถานการณ์ เพราะเป็นห่วงว่าหลังจากนี้ไปอาจจะยังไม่หยุดการเคลื่อนไหวง่ายๆ เพราะวันนี้เรื่องพ.ร.ฏ.อภัยโทษถึงเขาจะถอย แต่ก็ถอยออกไปเหมือนไปตั้งหลัก เพื่อเดินหน้าต่อ ต่อจากนี้ไปอาจจะมีเรื่องของการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมตามที่เป็นข่าวออกมา โดยอาจจะใช้ช่องทางของกมธ.วิสามัญปรองดองฯ ซึ่งกมธ.ในซีกของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องยึดหลักของพรรคไว้ ในการไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายหรือพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้คนๆ เดียว
ขณะที่นายเจะอามิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกมธ.วิสามัญปรองดองแห่งชาติ
ได้รายงานความคืบหน้าของการประชุมกมธ. ต่อที่ปรุมส.ส.ว่า ได้มีการเสนอให้กมธ.หยิบยกเรื่องประเด็นปัญหาในภาคใต้ เข้ามาพิจารณาร่วมด้วย เพราะเป็นเรื่องอุดมการณ์ วิถีชีวิต และมีความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ ซึ่งจะเป็นการสื่อสารไปถึงพื้นที่ว่าในฐานะที่เป็นนิติบัญญัติ ว่าเห็นด้วยที่จะให้เกิดความปรองดองในภาคใต้ โดยที่ประชุมของกมธ.จะมีการหยิบยก เรื่องการใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมกับประชาชน คือ การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งการเยียวยาในภาคใต้ด้วย ดังนั้น การหยิบยกเรื่องของภาคใต้มาพิจารณาในกมธ.นั้น อย่างน้อยที่สุดเป็นการส่งสัญญาณเรื่องการปรองดองที่อาจทำให้ประชาชนในภาคใต้อุ่นใจได้บ้าง ทั้งนี้ การพิจารณาของกมธ.จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ความรุนแรงในเมืองกรุง และประเด็นความไม่สงบในภาคใต้