'มาร์ค'พร้อมรับชะตา เทือกมั่นใจไม่พลิกขั้ว 'ชวน'เครียดถกทีมกม. งูเห่าอ้างสิทธิ์นั่งกมธ.
ปชป.ระทึกคดียุบพรรค 'ชวน'เครียดนัดทีมกฎหมายถกเครียด 3 วันรวดก่อนแถลงปิดคดี ด้าน'มาร์ค' พร้อมรับคำตัดสิน ขณะที่เทือกมั่นใจการเมืองไม่พลิกขั้ว "สุขุมพันธุ์"ครวญ ถ้าพรรคถูกยุบก็โดนแบนไปด้วย ต้องเลือกผู้ว่าฯกทม.ใหม่ ที่ประชุมตุลาการศาลรธน.อนุมัติ"จรูญ อินทจาร"ถอนตัวจากองค์คณะเป็นคนที่ 3 ต่อจาก"วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์-เฉลิมพล เอกอุรุ"เหลือเพียง 6 ตุลาการ ขึ้นบัลลังก์วินิจฉัยชี้ขาด ตำรวจประสานทหารอารักขาเข้มสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ส.ส. งูเห่าอ้างสิทธิ์นั่งกมธ.แก้รธน. ขู่ลั่นพรรคเพื่อไทยระวังโดนยุบ
ชัยด่า'มนุสโสสิ?'ส.ส.ขู่ปาเกือก
ที่รัฐสภา เวลา 09.00 น.วันที่ 26 พ.ย. นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นระหว่างการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่คำพระเรียกว่า"มนุสโสสิ?" ซึ่งกรณีนายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส. ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ถอดรองเท้าขึ้นมาวางไว้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการประชุมและพูดจาด้วยคำไม่เหมาะสม เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะคณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภาก็มีปัญหา เนื่อง จากไม่มีผู้นำฝ่ายค้าน จึงทำให้คณะกรรมการจริยธรรมที่จะสอบสวนพฤติกรรรมไม่เหมาะสมของส.ส.นั้นไม่สามารถทำได้ จึงต้องให้ประชา ชนเป็นผู้วินิจฉัยเอง
"เราพยายามอดทนที่สุดแล้ว เขาจะด่าว่าอย่างไร เราก็แก่แล้วไม่รู้อยู่ได้อีกนานเท่าไร เดี๋ยวกงเกวียนกำเกวียนก็เหมือนเดิม เพราะ ตอนที่ผมเป็นประธานรัฐสภาใหม่ๆ สมัยพรรคพลังประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ก็วอล์กเอาต์เหมือนกันแบบนี้ มันเป็นกงเกวียนกำเกวียน แต่การทำงานในสมัยประชุมนี้ถือว่าดีกว่าหลายสมัย เพราะกฎหมายผ่านสภาออกมามาก" นายชัย กล่าว
เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยจะยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญกรณีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าไม่เป็นไปตามกระบวนกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยเข้าร่วมนั้น นายชัย กล่าวว่า ทำได้ แต่ปกติหากอาศัยข้อบังคับข้อ 116 ยกเว้นข้อบังคับข้อ 95 กับข้อ 61 ก็จะใช้ได้ เพียงแต่ให้มี ส.ส. กับส.ว.เข้าร่วมเท่านั้นก็พอ ส่วนที่นายปิยะรัช หมื่นแสน ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ที่ไปร่วมงานการเมืองกับพรรคภูมิใจไทยเสนอชื่อ 7 ส.ส.งูเห่า เป็นคณะกรรมาธิการร่วมฯในส่วนของเพื่อไทยนั้น ขณะนี้ไม่มีปัญหาแล้ว เพราะมีมติให้ยกเลิกไปหมด และตั้งใหม่หมดแล้ว
โต้กลับกก.นับคะแนนซีกพท.
"ผมโดนจนพอแล้ว พรรคเพื่อไทยยื่นผมให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา 2-3 ครั้งก็ยกทุกครั้ง ครั้งนี้ผมผิดตรงไหน ผมก็ทำตามกระบวน การของสภา เรื่องนับคะแนนก็ไม่ได้มีปัญหา เพราะคณะกรรมการมีอยู่ทุกพรรค และพรรคเพื่อไทย ก็มีนายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส. กาฬสินธุ์ เป็นตัวแทน ซึ่งนายคมเดช เซ็นชื่อรับรองคะแนนการตรวจสอบผลการลงมติ ซึ่งไม่รู้ว่านายคมเดช ไปเซ็นชื่อรับรองทำไม ในเมื่อบอกว่ามันไม่ถูกต้อง คุณเป็นถึงผู้แทนราษฎร" นายชัย กล่าว พร้อมโชว์ใบรับรองการตรวจสอบผลการลงมติที่มีลายมือชื่อของนายคมเดช รับรองผลการตรวจสอบเรียบร้อย
นายชัย กล่าวว่า หากนายคมเดช ไม่ยอม รับก็ไม่ต้องลงนามและให้หมายเหตุรับรองว่าการลงมติไม่ชอบอย่างไร แบบที่นักกฎหมายทำ ซึ่งตนพยายามเก็บหลักฐานเอาไว้ หากพรรคเพื่อไทยยื่นศาลรัฐธรรมนูญตนจะนำหลักฐานชิ้นนี้ไปแสดง เพราะคนอย่างนายชัย ทำอะไรรอบคอบอยู่แล้ว
"ผมเคยเรียนแล้วว่าบางคนเขาเลือกผมมาเองก็มาไล่ผมออกเพราะผมไม่ตามใจเขา เขาก็โวยวาย แต่บางคนแสดงกิริยามารยาทดีขึ้นไป ตะโกนในสภา อย่างนี้ขอให้คนไทยทุกคนพิจารณาผู้แทนปวงชนชาวไทยเอาก็แล้วกัน ขนาดโหวตมาแล้วยังมีกิเลสหนา แต่ละคนควรไปนั่งสมาธิบ้าง ประธานสภาพยายามให้ฝ่ายค้านอภิปรายมากที่สุด" นายชัยกล่าว
'อภิวันท์'ขวางยื่นศาลรธน.
ด้านพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทยกล่าวถึงปัญหาการตั้งคณะกรรมาธิการแปรญัติร่างแก้ใขรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยว่า ตนเคยพูดไปแล้วว่าถึงแม้จะไม่มีสัดส่วนกรรมาธิการจากพรรคใดพรรคหนึ่งก็ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะสภาให้สิทธิ์กับพรรคนั้นแล้ว แต่การเสนอชื่อโดยนักการเมืองพรรคอื่นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง แต่เมื่อตั้งไปแล้วควรให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อทั้ง 7 คนในนามพรรคเพื่อไทยถอนชื่อหรือลาออก ก็จะเดินต่อไปได้
พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า ตนได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯว่าวิธีที่จะเดินหน้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และข้อบังคับการประชุมคือขอมติที่ประชุมงดเว้นการใช้ข้อบังคับว่าด้วยการตั้งกรรมาธิการ ซึ่งเจตนาของรัฐธรรม นูญในมาตรานี้ ต้องการให้สิทธิ์พรรคการเมืองเสียงข้างน้อยเข้ามาเป็นกรรมาธิการ แต่ไม่ได้ให้อำนาจขัดขวางกฎหมาย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต หากพรรคใดไม่ต้องการให้กฎหมายฉบับใดผ่านสภาจะใช้วิธีไม่เสนอตั้งกรรมาธิการ เช่น พรรคเพื่อไทยแกล้งให้ประชาธิปัตย์ระแวงกันเองโดยเสนอชื่อคนของพรรคเพื่อไทยแต่อ้างชื่อสัดส่วนของประชาธิปัตย์ สภาก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น ประธานต้องทำหน้าที่ป้องกัน เมื่อตนแจ้งในที่ประชุมและนายกฯเห็นด้วยการประชุมก็เดินต่อได้
เมื่อถามถึงส.ส.เพื่อไทย เตรียมยื่นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการทำหน้าที่ของประธานรัฐสภา พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่าคงไม่ยื่น แต่ถ้าจะยื่นตนจะพูดคุยกับสมาชิกในพรรคว่ารัฐสภาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง ที่ยกเลิกการตั้งกรรมาธิการ 24 คนและตั้งชุดใหม่เป็น 45 คน เมื่อถามว่าติดใจผลการลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า ไม่ได้ติดใจ เพราะคะแนนไม่ได้มีผลทำให้มติกลับได้ แต่ต้องเข้าใจว่าบางครั้งในการนับคะแนนอาจสับสน ได้ยินเสียงไม่ชัดก็อาจผิดพลาดได้บ้าง แต่เชื่อว่าคณะกรรมการนับคะแนนไม่ได้มีเจตนาที่จะเบี่ยงเบนคะแนน
ป้องส.ส.เพื่อไทย-แค่ตอบโต้
เมื่อถามว่าพฤติกรรมของส.ส.บางคนในพรรคที่ขู่ปารองเท้าถือว่าเหมาะสมหรือไม่ พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า คิดว่าดีแล้วที่ตอบโต้พฤติกรรมที่เลวร้ายที่ให้คนอื่นมาเสนอชื่อส.ส. ของพรรคเพื่อไทย และส.ส.คนดังกล่าวถอดออกมาเพื่อขู่แต่ไม่ได้ปา แต่ถ้าปาออกมาก็ว่าไปอย่าง ทั้งนี้พฤติกรรมดังกล่าวถือว่าไม่ถูกต้อง แต่ต้องดูที่สาเหตุ ซึ่งเวลานั้นส.ส.พยายามประท้วงเพื่อให้เกิดความถูกต้อง หากไม่มีเหตุก็ไม่มีผลจึงต้องดูสาเหตุของเรื่องด้วย หากตนทำหน้าที่ประธานในขณะนั้นเหตุการณ์เช่นนี้คงไม่เกิดขึ้น แต่ตนคงไม่ไปวิจารณ์การทำหน้าที่ของประธานรัฐสภา เพราะท่านเป็นผู้บังคับบัญชา ที่พูดเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภา ชื่นชมสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ถอดรองเท้าออกมาขู่ระหว่างการ ประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 พ.ย.ว่า พฤติกรรมของส.ส.พรรคเพื่อไทยถือว่าป่าเถื่อน พ.อ. อภิวันท์ไม่ควรเอาตำแหน่งรองประธานสภา มาพูดให้ท้ายคนเหล่านั้น เพราะจะยิ่งทำให้ย่ามใจ เหลิง และอาจกระทำอีกในอนาคต ทั้งนี้ แม้จะไม่ใช่มติพรรค แต่ส.ส.มีเอกสิทธิ์เสนอรายชื่อกรรมาธิการ เพราะถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในสภา ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 7 ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมา ธิการ สามารถไปร้องต่อกกต. เพื่อให้ยุบพรรคเพื่อไทย ฐานขัดขวางการทำหน้าที่ของ ส.ส. ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ
มาร์คงัดคำเท่-สังคมสมาธิสั้น
เมื่อเวลา 09.15 น. ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาหัวข้อ "พลิกความท้าทายสู่โอกาสประเทศไทย 2554" ว่า เรื่องการเมืองต้องยอมรับว่ามีความขัดแย้งในสังคมสูงมาก สิ่งที่ตนและรัฐบาลทำคือทำอย่างไรให้สังคมกลับมาใช้กระบวนการทางรัฐสภา และกระบวนการยุติธรรมคลี่คลายปัญหา ซึ่งต้องแยกให้ออกว่าต้องใช้กระบวน การไหน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ย. เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนได้ข้อยุติในระดับหนึ่ง เพราะมี 2 ร่างที่ผ่านและจะพิจารณาวาระ 2-3 ในสมัยประชุมหน้า แต่สำหรับตนไม่ใช่ว่าร่างของรัฐบาลผ่านหรือไม่ สิ่งสำคัญคือทำให้ทุกอย่างกลับเข้าสู่กระบวนการปกติ ไม่ทิ้งให้อึมครึม และไม่ทิ้งให้รัฐธรรมนูญที่คปพร. เสนอมา ไม่มีการพิจารณา สิ่งที่มีการศึกษาว่าจะแก้ประเด็นนั้นประเด็นนี้โดยไม่มีปมที่มีความเสียหาย ก็ยืนยันว่ารัฐสภาต้องหาข้อยุติ และอีกหลายเรื่อง ต้องเป็นแบบนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระชุดต่างๆ เพราะต้องการสร้างบรรทัดฐาน ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เสนอมา 5 ประเด็น รัฐบาลปฏิเสธ 3 เอาเพียง 2 ประเด็น ส่วนชุดของนายคณิต ณ นคร เสนอให้ประกันตัวผู้ถูกคุมขังที่เกิดจากการชุมนุม ตนก็ทำจริงจังโดยให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตรวจสอบว่าคนไหนทำได้คนไหนไม่ได้
นายกฯ กล่าวว่า ในปีหน้ามีท้าทายคือจะมีการเลือกตั้ง เพราะตนบอกแล้วว่าไม่อยู่ครบเทอม แต่ตนต้องการเห็นการเลือกตั้งที่สงบ ทุกคนยอมรับกติกาและบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งการเลือกตั้งเป็นอีกก้าวในการคลี่คลายปัญหาตรงนี้ ถ้าการเลือกตั้งสำเร็จได้จะเป็นจุดที่เรายืนยันว่าเรารักษาระบบสภา ไม่ใช่ว่ามีปัญหาแบบนี้เพราะสภาใช้ไม่ได้แล้วถึงเอาระบบอื่นเข้ามา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าให้สังคมเป็น "สังคมสมาธิสั้น"เพราะเห็นว่าแต่ละวันเราจะให้ความสำคัญกับปัญหาที่อยู่ข้างหน้าและเราชอบลืมว่าที่มาของปัญหาคืออย่างไร ซึ่งเวลามีวิกฤตมากก็เรียกร้องว่าต้องปฏิรูปซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี แล้วเราก็ตื่นเต้นกับปัญหาใหม่
พท.ไม่ร่วมแก้รธน.-แค่โชว์จุดยืน
ต่อมาเวลา 12.00 น. ที่โรงแรมอมารี วอ เตอร์เกท นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งตัวแทนเข้าเป็นคณะกรรมาธิ การร่วมพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2-3 ว่า ไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาสะดุด เมื่อวันที่ 25 พ.ย.ตอนที่ประธานรัฐสภาเชิญทุกฝ่ายไปหารือก็ได้พูดคุยกัน ผู้แทนของพรรคเพื่อไทยที่ร่วมหารือ ก็ยืนยันว่าเขาเพียงต้องการแสดงเจตนา รมณ์และรักษามติพรรค ส่วนกระบวนการต่อไปของรัฐสภา ทางพรรคเพื่อไทยก็ระบุไม่ต้องการขัดขวาง จึงมีการหาทางออกกันในเรื่องการยกเว้นข้อบังคับและเดินหน้าต่อ
เมื่อถามว่าจะกลายเป็นพรรคเพื่อไทยไม่ยอมรับกติกาใหม่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะมีปัญหาแล้ว เพราะได้พูดคุยกันระดับหนึ่ง การที่พรรคเพื่อไทยไม่มีตัวแทนในกรรมาธิการเป็นเพียงการแสดงจุดยืนอย่างนั้น เขายืนยันว่าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการประชาชนเพี่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ไม่ผ่านก็จะไม่ร่วมกับร่างแก้ไขอื่นๆ เป็นการแสดงจุดยืนของพรรคเพื่อไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่าถ้าส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความจะเกิดปัญหาสะดุดหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ย.เราดูทั้งหมดและมั่นใจว่าทุกอย่างชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับ เมื่อถามว่าแต่ถ้ายื่นศาลรัฐธรรมนูญจริงต้องหยุดเพื่อรอการตีความให้เสร็จก่อนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าต้องหยุดก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ เข้าใจว่าถ้ายื่นก็ต้องเป็นช่วงที่ผ่านวาระ 3 ไปก่อน
เมื่อถามว่ามีการประณามเหตุการณ์เมื่อวันที่ 25 พ.ย.เป็นเผด็จการรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธว่า "ไม่ เพราะเราไม่ได้ห้ามเขา แต่เขาเป็นฝ่ายตัดสินใจเองที่ไม่ร่วม และคิดว่าไม่น่าจะเป็นเงื่อนไขปลุกม็อบคนเสื้อแดงขึ้นมาอีกครั้ง เราต้องเคารพกระบวนการรัฐสภา เมื่อรัฐสภาลงมติรับหรือไม่รับร่างใดก็ต้องตามนั้น ถ้าเราบอกว่าไม่ยอมรับ ก็จะไม่ได้ข้อยุติในเรื่องแบบนี้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่นายกฯพูดถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นนั้นจำเป็นต้องรอรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขนี้ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โดยหลักอยากให้เป็นอย่างนั้น แต่อยู่ที่ว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนอย่างไร
รับการเมืองผันผวน-พร้อมสู้
เมื่อถามว่าถ้าดูกรอบเวลาการพิจารณาของกรรมาธิการในวาระ 2-3 จะเกิดขึ้นในสมัยประชุมหน้า การยุบสภาต้องเลยเดือนก.พ.2554 ไปใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูการทำงานของคณะกรรมาธิการว่าเป็นอย่างไร ปกติจะมีการแปรญัตติ 15 วัน และดูว่ากรรมาธิการทำงานเร็วแค่ไหน แต่บางเรื่องก็พูดคุยกันแล้ว เมื่อวันที่ 25 พ.ย.ตนก็แปรญัตติเองในมาตรา 190 ที่ไปแบ่งประเภทหนังสือสัญญาและให้ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยช่วยมารับรองการแปรญัตติให้ เพื่อให้เกิดความสบายใจและซึ่งการแปรญัตติของตนหวังเพิ่มน้ำหนักและความชัด เจนว่าเจตนารัฐบาลจริงๆ คืออะไร
เมื่อถามว่าจะลดเงื่อนไขการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 11 ธ.ค.ใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า จะช่วยลดได้หรือไม่ตนไม่ทราบ แต่ยืนยันว่าจุดยืนของรัฐบาลไม่ต้องการสร้างปัญหา และยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่มีผลในเรื่องเขตแดน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเลือกตั้งครั้งหน้านอกเหนือจากเงื่อนไขความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองแล้ว ยังมีเงื่อนไขอื่นอีกหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ดูที่ความเรียบร้อยเพราะจากนี้ไปต้องดูต่อเนื่อง เพราะการทำงานของหน่วยงานต่างๆ การทำกิจกรรมต่างๆ มีปัญหามากน้อยแค่ไหน
เมื่อถามว่าจากนี้จนถึงต้นปีหน้ายังมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างทางการเมือง นายอภิสิทธิ์ ถอนใจ ก่อนกล่าวว่า "ตอบยาก เพราะการเมืองมีความผันผวนแปรปรวนอยู่เรื่อย แต่ไม่เป็นปัญหา ทุกอย่างรัฐบาลเดินหน้าทำงานไป พรรคประชาธิปัตย์มีเรื่องคดีที่คงมีการวินิจฉัยเร็วๆ นี้ หน้าที่ของผมคือแก้ปัญหาต่อไป เมื่อมีปัญหามาก็ต้องแก้ไป"
พร้อมยอมรับคำวินิจฉัยศาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้มีแผนรองรับหรือไม่ต่อการตัดสินของศาล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ถ้าศาลวินิจฉัยว่าไม่ผิด เราก็ทำงานต่อ ถ้าศาลวินิจฉัยว่าผิดเราต้องดูว่าศาลตัดสินลงโทษใครอย่างไร เราต้องยอมรับการตัดสิน คนที่ถูกตัดสิทธิ์ก็ต้องหมดสิทธิ์ คนที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ก็ต้องตัดสินใจอนาคตทางการเมือง แต่มั่นใจว่าสมาชิกพรรคที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ ต้องรวมตัวกันเพื่อทำงานการเมืองต่อไป
เมื่อถามว่ากังวลว่าถ้าตัดสินแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารจะเกิดสุญญากาศและอาจเป็นเหตุผลให้อำนาจนอกระบบกลับเข้ามาอีกครั้ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว และยืนยันมาตลอดว่าทุกฝ่ายต้องเคารพการตัดสินและบางปม เช่น เรื่องรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านไปก็เป็นปมปัญหาง่ายถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ก็พยายามลดในทุกเงื่อนไข กรณีการตัดสินคดียุบพรรคหากฝ่ายบริหารต้องพ้นจากตำแหน่ง ตนถูกตัดสิทธิ์ก็ยังมีกลไกของรัฐสภา เลือกนายกฯคนใหม่ และดำเนินการต่อไป ทุกคนต้องยอมรับกติกา
เมื่อถามว่าความวุ่นวายจะเกิดขึ้นได้ในช่วงดังกล่าวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่แต่ละฝ่าย ตนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยอมรับกระบวนการการตัดสินซึ่งตนได้ย้ำแล้วว่าบ้านเมืองต้องอาศัยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ตามระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมในการหาข้อยุติ ตรงไหนบกพร่องก็มาแก้ไขกัน
'ชวน'ประชุมยิบ-สู้ยุบพรรค
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมในการแถลงปิดคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยวาจาต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ว่า นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมาย ได้เรียกประชุมคณะทำงานด้านกฎหมาย ในช่วงเช้าของทุกวัน เพื่อตรวจสอบคำแถลงปิดคดีว่ามีจุดใดที่ต้องเพิ่มเติมเนื้อหา หรือข้อมูลต่างๆ ให้รอบคอบ ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา นายชวนยังนัดหารือกับทีมกฎหมาย เช่น นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค ซึ่งนายบัญญัติเป็นผู้ช่วยร่างคำแถลงปิดคดีด้วย ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเพื่อซักซ้อม ตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้นายชวน ยังเรียกประชุมทีมกฎหมายในวันเสาร์ที่ 27 พ.ย. และวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย.นี้ ถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของคดียุบพรรคด้วย
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประเมินว่าศาลอาจจะอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 29 พ.ย. หลังพรรคประชาธิปัตย์แถลงปิดคดีว่า คณะทำงานเตรียมพร้อมอยู่แล้ว พรรคได้ทำหนังสือขออนุญาตต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้แกนนำพรรคและคณะทำงาน ร่วมฟังคำแถลงปิดคดีด้วยวาจาประมาณ 20 กว่าคน ซึ่งในจำนวนนี้มีนายอภิสิทธิ์ นายชวน รวมถึงนายบัญญัติ ด้วย ส่วนผลการตัดสินของศาล ไม่ว่าผลออกมาบวกหรือลบ พรรคพร้อมเคารพ จะไม่มีกระบวนการกดดันใดๆ
เมื่อถามว่าหากตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค จะกระทบกับตำแหน่งนายกฯอย่างไร เพราะนายอภิสิทธิ์ เป็นกรรมการบริหารพรรคในชุดดังกล่าวด้วย นายเทพไทกล่าวว่า ถ้าผลออกมาเป็นลบ พรรคต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ถ้าตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ก็ต้องเลือกตั้งซ่อม แต่ถ้าตัดสิทธิ์ผู้ที่มีตำแหน่งในฝ่ายบริหารในรัฐบาลนี้ ต้องสรรหาใหม่ตามรัฐธรรมนูญ หากนายกฯถูกตัดสิทธิ์ จะมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ รักษาการตำแหน่งนายกฯได้ เพราะไม่ได้ร่วมเป็นกรรมการบริหารพรรคชุดดังกล่าว แต่พรรคมั่นใจว่าจะรอดพ้นจากคดีนี้ได้
'เทือก'มั่นใจไม่มีเปลี่ยนขั้ว
เวลา 14.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงศาลรัฐธรรมนูญจะแถลงปิดคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ว่า ขอให้อดใจรออีก 3 วัน เพราะวันจันทร์ที่ 29 พ.ย.ก็รู้ผลแล้ว ตนยังอดทนได้ตั้งหลายเรื่อง ซึ่งวันที่ 29 พ.ย.เป็นการแถลงปิดคดีด้วยวาจา เป็น แนวทางการปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญทุกครั้งที่พิจารณาคดี ตนคาดว่าหลังแถลงปิดคดีศาลคง พิพากษา มีคำสั่งลงไปอาจวันที่ 29 พ.ย.หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่คงไม่ช้า ดังนั้นเราต้องรอฟังผล
นายสุเทพ กล่าวว่า พรรคไม่ได้มีแผนใดไว้รองรับ แต่เมื่อมีคำสั่งพิพากษาออกมา จะให้หัวหน้าพรรคแถลงชี้แจงเรื่องทั้งหมดกับประชา ชนอีกครั้ง ไม่ว่าผลออกมาอย่างไร พรรครับได้ทั้งหมด เรารับฟังคำตัดสินของศาล ถึงตอนนี้ตนคงพูดไม่ได้ว่าไม่รอด เพราะตนในฐานะเลขาธิการพรรค ถ้าบอกว่าไม่รอด ลูกพรรคคงซึมกันหมด เท่าที่ตนติดตามมาคือมีเหตุผล พยาน หลักฐานยืนยันได้อยู่ แต่การจะพูดะไรคงเป็นการก้าวล่วงศาลไป
เมื่อถามว่าคิดว่าจะมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเกิดขึ้นตามที่มีเสียงวิจารณ์หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มี ตนเคยบอกแล้วว่าอย่าถามดักหน้า ไม่มี ไม่เปลี่ยนแน่ เพราะไม่มีเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นไปในทางที่ให้เปลี่ยน
ผู้สื่อข่าวถามถึงนายวิชาญ มีนชัยนันท์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุรัฐบาลแก้รัฐธรรม นูญเพราะถูกทหารบีบ นายสุเทพ กล่าวว่า หากนายวิชาญพูดเช่นนั้นจริงแสดงว่านายวิชาญมีอคติต่อทหารอย่างมาก ตนยืนยันหลายครั้งแล้วว่าทหารไม่ยุ่งการเมือง ทหารฟังคำสั่งรัฐบาล มีหน้าที่ดูแลเรื่องความมั่นคง ดูแลประเทศชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐบาลให้ทหารทำงานในส่วนนั้น ต้องมองเขาในแง่ดี น่าเสียดายที่นายวิชาญมองทหารในแง่ร้าย
'สุขุมพันธุ์'รับกระทบเก้าอี้ผู้ว่าฯ
เมื่อถามว่ากรณีที่มีส.ส.งูเห่าและเกิดปัญหา ขึ้นจะเป็นปัญหาบานปลายหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า เรื่องนี้จบไปแล้ว ตนไม่อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บ ซึ่งส.ส.ทั้ง 6-7 คนนั้นยังเป็นส.ส.พรรคเพื่อไทยตามกฎหมาย ตามนิตินัย และเมื่ออยู่ในรัฐสภาเขาก็มีสิทธิเท่าคนอื่นๆ เมื่อกลุ่มใหญ่ไม่ต้องการเป็นกรรมาธิการ คนกลุ่มนี้จึงใช้สิทธิในฐานะสมาชิกพรรคเพื่อไทยเสนอตัวเป็นกรรมา ธิการ เป็นเรื่องปกติ เมื่อถามว่าพรรคยินดีเลี้ยงงูเห่าหรือไม่ นายสุเทพ หัวเราะก่อนย้อนถามว่า คุณจะเป็นงูเห่าหรือ
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์บ้างยอมรับได้หรือไม่ นาย สุเทพ กล่าวว่า ถ้ามีคนที่ต้องการออกจากพรรคแล้วไปอยู่พรรคเพื่อไทยหรือพรรคอื่น ตนคงคุยให้ออกไปก่อน หรือดำเนินการให้พ้นไป เมื่อถามว่าแสดงว่าเป็นการเพิ่มโควตาให้ซีกรัฐบาล นายสุเทพ กล่าวว่า ทำไมกล่าวเช่นนั้น ยังไม่ทราบว่าเขาออกแล้วจะไปไหน เพราะมันไม่แน่ นักการเมืองอยู่พรรคนี้อึดอัดไม่มีความสุขอยากไปอยู่พรรคอื่น แต่พอเอาเข้าจริงอาจไปอีกทางหนึ่งก็ได้
เมื่อถามถึงส.ส.ราชบุรีสวนมติพรรคมีบทลงโทษอย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า พรรคต้อง หารือกันตามกติกา กฎของพรรค ตนในฐานะเลขาธิการพรรคต้องพิจารณาในภาพรวม เพื่อรักษาพรรคเอาไว้
ที่ศาลาว่าการ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า คงรอฟังการแถลงปิดคดีของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคจะถูกยุบหรือไม่ อยู่ที่ศาล ตนไม่ได้เตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ หากถูกยุบก็ต้องเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ใหม่ เพราะตนต้องถูกแบน 5 ปี แต่งาน ของกทม.ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ โดยนายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม. จะรักษาการแทนผู้ว่าฯกทม.โดยตำแหน่ง ส่วนใครจะมาลงสมัครผู้ว่าฯกทม. ก็เป็นเรื่องของพรรคจะพิจารณา ส่วนจะวางใครเป็นทายาทหรือไม่ ตอนนี้ลูกชายยังอายุ 30 ปีอยู่เลย
'จรูญ อินทจาร'ถอนตัวคดียุบ
เวลา 16.20 น. ศาลรัฐธรรมนูญได้นำเอกสารเผยแพร่ มาแจกให้กับผู้สื่อข่าวโดยเนื้อความระบุว่า เนื่องจากนายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือขอถอนตัวออกจากการพิจารณาคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ขอให้ศาลรัฐธรรม นูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลว่าได้ฟ้องคดีในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญาไว้ต่อศาลอาญาแล้ว ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันเดียวกันนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ จึงอนุญาตให้นายจรูญ ถอนตัว ส่วนนายสุพจน์ ไม่อนุญาตให้ถอนตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคณะตุลาการให้นายจรูญ ถอนตัว ทำให้เหลือตุลาการเพียง 6 คนในการพิจารณาวินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วยนายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา นายจรัญ ภักดีธนากุล นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายสุพล ไข่มุกด์ และนายนุรักษ์ มาประณีต
คาดศาลลงมติชี้ขาด-29พ.ย.
รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญเผยว่าการถอนของนายจรูญและการขอถอนตัวของนาย สุพจน์นั้น ได้มีการติดต่อนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ให้เหตุผลการขอถอนตัวจากการเป็นองค์คณะคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ว่า ไปเป็นคู่ความและมีการพาดพิงไปถึงคนของพรรคเพื่อไทย ทำให้มีผลทางคดีได้ เมื่อมีคำตัดสินไปแล้วจะทำให้ถูกโจมตีได้อีก อีกทั้งการประชุมคณะตุลาการวันเดียวกันนี้ได้ประชุมครบทั้ง 9 คน เห็นว่าให้นายจรูญถอนตัวจากการเป็นองค์คณะได้ เพราะมีเหตุแห่งคดี ด้วยเสียง 4 ต่อ 3 แต่นายสุพจน์นั้น ตุลาการ 7 เสียงเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าไม่ควรถอนตัว ให้ทำหน้าที่ต่อไป เพราะการเขียนคำบรรยายฟ้องไม่ได้พาดพิงถึงใคร มีเพียงนายจรูญคนเดียวเท่านั้นที่เขียนคำบรรยายฟ้องว่า มีการมาข่มขู่ ถูกล็อบบี้วิ่งเต้นเรื่องของคดี
รายงานข่าวแจ้งว่า การลาออกของนายจรูญ ทำให้เสียงขององค์คณะอยู่ที่ 6 เสียง หากเสียงออกมาเท่ากัน 3 ต่อ 3 เสียง จะทำให้เกิดปัญหาเพราะการพิจารณาของคณะตุลาการไม่ได้เขียนว่า คนที่เป็นประธานจะสามารถลงคะแนนได้อีกครั้ง เพื่อเป็นการชี้ขาดเหมือนหน่วยงานอื่นๆ อย่างไรก็ตาม รายชื่อของตุลาการที่ขอถอนตัวไป ประกอบด้วย นายเฉลิมพล เอกอุรุ เนื่องจากมีนามสกุลเหมือนนายประพร เอกอุรุ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เนื่องจากมอบหมายให้ทนายความไปยื่นฟ้องนายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ฐานหมิ่นประมาทต่อศาลอาญา กรณีกล่าวหาว่าเชิญตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์เข้าพบที่ห้องทำงานนั้น และล่าสุดคือนายจรูญที่ยื่นฟ้องเป็นคดีอาญา กรณีหมิ่นประมาทและการกระทำผิดต่อพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดีดังกล่าวนั้น เห็นว่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วและมีความเป็นไปได้ว่า ในวันที่แถลงปิดคดีด้วยวาจานั้นอาจจะมีการลงมติของตุลาการในวันเดียวกัน
ตร.ประสานทหารอารักขาเข้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมรักษาความปลอดภัยสำนักงานศาลรัฐ ธรรมนูญ ในวันที่ 29 พ.ย. ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดให้คู่กรณีอ่านคำแถลงปิดคดี โดยช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ มีหน่วยทีมล่วงหน้าของนายกฯ มาตรวจดูพื้นที่ในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้น มีหน่วยคอมมานโดจากกองทัพอากาศมาตรวจเตรียมความพร้อมในการสำรวจพื้นที่ มีการเก็บภาพถ่ายในแต่ละชั้นของอาคาร เพื่อไปเตรียมการวางแผนในการปฏิบัติการ
ต่อมาเวลา 14.00 น. สำนักงานศาลรัฐ ธรรมนูญ ประชุมเตรียมความพร้อมรักษาความปลอดภัย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งพ.ต.อ.ศิวโรจน์ สุขัคคานนท์ ผกก.สน. ทุ่งสองห้อง เปิดเผยว่า จะร่วมประชุมกับศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเตรียมการรักษาความปลอดภัยและจัดวางกำลัง เบื้องต้นใช้กำลังตำรวจเป็นหลักจาก สน.ทุ่งสองห้อง กองบัญชาการตำรวจ นครบาล 2 และตำรวจปราบจลาจล แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุจำนวนได้ อีกทั้งยังไม่ได้รับรายงานว่าจะมีผู้มาชุมนุมคัดค้านหรือ สนับสนุน แต่อย่างใด
พ.ต.อ.ศิวโรจน์ กล่าวว่าในวันแถลงปิดคดีด้วยวาจานั้น ผบก.น.2 ผอ.เขตหลักสี่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนัดประชุมเตรียมความพร้อมที่สำนักงานเขตหลักสี่ในวันที่ 27 พ.ย. โดยจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล 1 กองร้อย มาดูแลความปลอดภัยภายในและพื้นที่โดยรอบของศาลรัฐธรรมนูญ หากมีเหตุไม่คาดคิดจะสามารถเรียกตำรวจปราบจลาจลที่เป็นกำลังเสริมอีก 2 กองร้อยที่รออยู่ในที่ตั้งมาควบคุมสถานการณ์ได้ ยังประสานขอกำลังจากเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและกองบัญชาการกองทัพไทย จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่มาช่วยดูแลความเรียบร้อย เน้นตรวจสอบในทุกพื้นที่ ไม่ว่าลานจอดรถของอาคารและจุดที่ใช้เป็นเส้นทางผ่านเข้าออก รวมทั้งจะเพิ่มจุดตรวจค้นบริเวณถนนที่ผ่านบริเวณศาลรัฐธรรมนูญให้มากขึ้น ขณะนี้ยังไม่มีข่าวผู้ก่อความวุ่นวายและความไม่สงบ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่จะมาขัดขวางการพิจารณาของศาลในวันดังกล่าว
งูเห่าพท.อ้างสิทธิ์นั่งกมธ.
ที่รัฐสภา นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ส.ส. สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ที่ประกาศไม่ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และเป็น 1 ใน 7 ส.ส. พรรคเพื่อไทย ที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า ยืนยันว่าพวกตนเป็นกลุ่มส.ส. ที่ประกาศตัวชัดเจนว่าจะย้ายพรรค แต่พรรคไม่มีอำนาจเข้ามายุ่ง เพราะกฎหมายข้อบังคับการประชุมกับรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเสนอรายชื่อผู้ที่จะเป็นกรรมาธิการ ตามสิทธิของสมาชิกรัฐสภาจะเสนอใครก็ได้ แต่ถ้าเสนอเกินจำนวนในการตั้งกรรมาธิการ สภามีระเบียบคัดเลือกเพื่อให้เป็นไปตามสัดส่วน ดังนั้น ถือเป็น การเสนอในนามสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่ในนามพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ความโกลาหลที่เกิดขึ้นในการเสนอชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นกรรมาธิการ และพรรคเพื่อไทยยังกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่ผิดข้อบังคับ อ้างว่าได้ส่งหนังสือแสดงเจตนา รมณ์ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องการให้พวกตนเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการต่อประธานรัฐสภา ต้องบอกว่าพรรคเพื่อไทยกำลังเข้าใจผิดและจะเป็นฝ่ายทำผิดรัฐธรรมนูญเองมากกว่า
"หากดูข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในหมวดการตั้งคณะกรรมาธิการ ข้อที่ 61 และ 62 ระบุว่า การตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้น สมาชิกรัฐสภาแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ไม่เกินจำนวนกรรมาธิการ ชี้ชัดว่าไม่ใช่พรรคเป็นผู้
ถอนตัวอีก-คนที่ 3 ศาลรธน. ปชป.ระทึกคดียุบ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ถอนตัวอีก-คนที่ 3 ศาลรธน. ปชป.ระทึกคดียุบ