ดัน พรบ.น้ำเมาเข้า ครม. สธ.ไม่ยอมแพ้มั่นใจผ่านฉลุย ...

>>>ไม่ยอมแพ้ ดัน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่ม


รมว.สาธารณสุข หมอมงคล ณ สงขลา ไม่ยอมแพ้ ดัน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เข้า ครม.มั่นใจผ่านฉลุยแน่เพราะเป็นผลงานของรัฐบาลสร้างสรรค์สังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมกับขอแผ่เมตตาให้กับคนที่โจมตีตัวเองในเรื่องนี้ ส่วน สธ. เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกา ทบทวนมติอีกครั้ง หากยังยืนยันคำวินิจฉัยเดิมจะเสนอ อย. ถอดเหล้าสุราออกจากการเป็นอาหารที่ควบคุมฉลาก พร้อมกับให้ เลขาฯ อย.ทำหนังสือถึงนายกฯ ให้ออกคำสั่งด่วนอนุมัติให้ กก. ว่าด้วยฉลาก ออกประกาศให้สุราเป็นสินค้าคุมฉลากได้


>>>ยังไม่ได้รับทราบความเห็น


ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเสนอกฎหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมตามสื่อต่าง ๆ และการห้ามขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมให้คนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี มาเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ว่า นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายหลังจากที่กฤษฎีกาตีความว่า คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่มีผลบังคับใช้ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับทราบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างเป็นทางการ หากได้รับแล้วจะรีบดำเนินการส่งหนังสือกลับไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทบทวนโดยเร็ว สำหรับทางออกในการดำเนินการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อจากนี้กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ออกมาบังคับใช้โดยเร็ว โดยตนตั้งความหวังว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์น่าจะเป็นผลงานเพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขได้ ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า การที่กระทรวงสาธารณสุขมุ่งในเรื่องนี้ เพราะอยากให้ดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะที่ไม่ก่อปัญหาสังคม ทั้งความรุนแรง อาชญากรรม เอดส์


>>>ตนยอมเจ็บตัวเพราะเรื่องเหล่านี้มาตลอด


รมว.สาธารณสุข กล่าวด้วยว่า ภายหลังจากที่ อย. ออกคำสั่งห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง มีการโจมตีกันเยอะ แต่กระทรวงสาธารณสุขต้องยอมให้โจมตี ตนยอมเจ็บตัวเพราะเรื่องเหล่านี้มาตลอดชีวิต ทั้งนี้ต้องยอมรับค่ามูลค่าทางการตลาด ในเรื่องนี้มีสูงถึง 5 แสนล้านบาท เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าคำสั่ง อย.ไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ในวันอังคารที่ 28 พ.ย. นี้กระทรวงสาธารณสุขจะเสนอร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เพื่อคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการจัดโซนนิ่งร้านเหล้า ซึ่งจะทำให้ปัญหาสังคมที่เกิดจากสุราดีขึ้น เพราะจากสถิติพบว่าใน 1 วัน มีผู้เสียชีวิตจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึง 37 ราย 80% เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ 70% ของเด็กในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ก่อเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการดื่มสุรา


เมื่อไม่ชอบก็คือไม่ชอบ ....


"สิ่งต่าง ๆ ที่เราทำมาก็เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน มิใช่เพื่อใคร ผมไม่เคยคิดว่าจะใช้อำนาจทำให้ใครเดือดร้อน หากใครไม่เห็นด้วยโจมตีในเรื่องนี้ผมก็ขอแผ่เมตตาให้เพราะไม่รู้จะทำอย่างไร เมื่อไม่ชอบก็คือไม่ชอบ เรายอมแพ้ แต่ผมไม่ยอมทั้งหมด ต้องผลักดันเรื่องนี้ต่อไป ผมคิดว่าในวันนี้ และวันพรุ่งนี้คงจะมีปัญหาตามมาอีก เพราะเรื่องนี้ค่อนข้างเข้มข้น แต่อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 28 พ.ย. กระทรวงสาธารณสุขยืนยันจะเสนอ พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ เข้า ครม. หากผ่าน ครม.ก็ต้องไปคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนที่จะไป สนช. ก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน แต่เชื่อว่าสังคม ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ เห็นด้วยกับเรามาก และกลุ่มคนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะผนึกกำลังกัน" นพ.มงคล กล่าว


ยืนยันตามความเห็นเดิม อย. ก็คงทำตามความเห็น....


ส่วน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการ อย. กล่าวว่า อย.ต้องขอบคุณธุรกิจเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์บางรายที่ปลดป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงแล้ว แม้คำสั่ง อย.จะไม่มีผลบังคับ ใช้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อย.กำลังรอหนังสือ อย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะทำหนังสือเสนอกลับให้กฤษฎีกาทบทวนโดยเร็วที่สุด แต่หากกฤษฎีกายืนยันตามความเห็นเดิม อย. ก็คงของคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่าการออกคำสั่งของ อย. เป็นไปโดยชอบธรรม เนื่องจากก่อนออกคำสั่งดังกล่าวได้มีการพิจารณาเกือบปีโดยมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าร่วมพิจารณาด้วย


>>> เช่น เรื่องอายุของผู้ซื้อจาก 25 ปี เป็น 20 ปี


ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในวันที่ 28 พ.ย. นี้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้า ครม. มั่นใจว่าคงจะไม่มีการตีกลับจาก ครม.เพราะการตีกลับร่าง พ.ร.บ.ในครั้งแรกมีการท้วงติงในบางประเด็นและได้แก้ไขแล้ว เช่น เรื่องอายุของผู้ซื้อจาก 25 ปี เป็น 20 ปี นอกจากนี้มาตรการควบคุมการโฆษณาในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังเข้มข้นมากกว่าคำสั่ง อย.ที่ออกมา เมื่อถามว่า ขนาดคำสั่ง อย.ยังโดนบล็อกแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมั่นใจได้อย่างไร นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ตรงนี้สังคมก็ต้องช่วยกันจับตาดูกันต่อไป


ยังได้ปลดล็อกสถานที่ห้ามขาย..........


รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้สาระสำคัญอยู่ที่หมวด 4 จากทั้งหมด 7 หมวด 48 มาตรา คือ การควบคุมเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ ประเด็นสำคัญ คือ 1.การควบคุมบรรจุภัณฑ์และฉลาก 2.การควบคุมพื้นที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการจำกัดพื้นที่การดื่ม และ 3.การควบคุมการโฆษณา รวมถึงการส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ยังได้ปลดล็อกสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มลง เพราะเห็นว่าหากมีการใส่รายละเอียดเกินไปจะทำให้กฎหมายมี ความตึงมาก จึงเห็นว่าน่าจะมีการผ่อนคลาย และเพื่อให้ง่ายในการควบคุม


>>>เสนอเพื่อทบทวนมติ...........


นพ.สมาน ฟูตระกูล หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ประเด็นที่จะนำเสนอเพื่อทบทวนมติของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 10 มี 2 ประเด็น คือประเด็นที่ 1 ที่ระบุว่าขัดกับมาตรา 21 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคและวินิจฉัยว่าคำสั่ง อย. เรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอล กอฮอล์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะว่าการที่จะห้ามโฆษณาตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคได้นั้น คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจะต้อง กำหนดให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา 30 ก่อนแต่กำหนดไม่ได้เพราะขัดกับมาตรา 21 ที่ว่าให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ซ้ำหรือขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะ


>>...จึงไม่ขัดและไม่"ซ้ำซ้อนกัน "


นพ.สมาน กล่าวว่า ข้อเท็จจริงในกรณีนี้ กฎหมายเฉพาะคือ พ.ร.บ.อาหาร ไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาได้อย่างครอบคลุมตามที่ต้องการ ควบคุมได้เฉพาะการโฆษณาคุณภาพ สรรพคุณและคุณประโยชน์ของอาหารเท่านั้นไม่สามารถห้ามการโฆษณาได้ ดังนั้นกรณีนี้จึงไม่ขัดและไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่ที่ต้องประกาศควบคุมฉลากตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคอีกครั้งเพื่อเสริมองค์ประกอบในการควบคุมการโฆษณาให้สมบูรณ์ตามมาตรา 24 นอกจากนี้ยังพบความจริงว่าในอดีตที่ผ่านมาสุราเคยได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากมาก่อนแล้วตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546


สังคมไทยคงไม่สามารถยอมรับได้อย่างแน่นอน..........


นพ.สมาน กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 2 กฤษฎีการะบุว่า ขัดกับมาตรา 30 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ประเด็นนี้สังคมไทยคงไม่สามารถยอมรับได้อย่างแน่นอนถ้าสรุปว่า การควบคุมการโฆษณาสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ ที่ผลิตโดยโรงงานกับการนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายไม่สามารถทำได้จะคุมได้เพียงสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้ผลิตจากโรงงานและไม่ได้เป็นสินค้านำเข้าเท่านั้น เพราะตีความอย่างแคบว่า การกำหนดให้สินค้าที่ควบคุมฉลากที่เป็นองค์ประกอบตามมาตรา 24 นั้นต้องเป็นการกำหนดตามมาตรา 30 วรรค 3 เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ตัวบทจริง ๆ ไม่ได้ระบุว่าตามมาตรา 30 วรรคใด ซึ่งถ้าพิจารณาด้วยใจเป็นกลางแล้วจะเห็นว่ามาตรา 30 ไม่มีที่ใดเลยที่กำหนดห้ามการประกาศสินค้าที่ผลิตจากโรงงานกับสินค้าที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก


>>>.....เท่ากับการผลักไสเด็กเยาวชน


"ผลการตีความอย่างแคบเช่นนี้เท่ากับการผลักไสเด็กเยาวชน ลูกหลานของพวกเราให้เผชิญกับการมอมเมาด้วยการโฆษณาสินค้าที่เป็นอันตรายโดยไม่สามารถควบคุมได้เลย เพียงเพราะ มันเป็นสินค้าที่ผลิตจากโรงงานและเป็นสินค้าที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ซึ่งแท้จริงแล้วมีสินค้าหลาย ประเภทที่เจ้าของกฎหมายโดยคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ได้ประกาศควบคุมฉลากไปแล้ว เช่น สุรา ข้าวสารบรรจุถุง รถจักรยานยนต์ แปรงสีฟัน เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎี กาทบทวนข้อสรุปนี้เพราะขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคและหลักสากลในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างชัดแจ้ง" นพ.สมาน กล่าว


จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ธ.ค. นี้...


นพ.สมาน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขยืนยันความชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายของคำสั่ง อย.ซึ่งสังคมทุกฝ่ายขานรับและรับรู้แล้วว่ามาตรการนี้จะมีผล
บังคับใช้ในวันที่ 3 ธ.ค. นี้ การเลื่อนบังคับใช้ออกไปจึงไม่มีผลดีใด ๆ เพราะจะกระทบต่อสิทธิผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขทราบมาอย่างไม่เป็นทาง การว่าองค์กรภาคประชาชนหลายองค์กร เตรียมฟ้องต่อศาลปกครอง ถ้ามีการยกเลิกหรือเลื่อนการบังคับใช้ นอกจากนี้จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์รัฐบาลอย่างมหาศาล จากคำถามที่ว่ากรณีหวยบนดินที่ผิดกฎหมายและถือเป็นการพนันหรืออบายมุข รัฐบาลส่งสัญญาณว่าจะเร่งรีบดำเนินการให้ถูกกฎหมาย แต่กรณีนี้รัฐบาลกลับไม่เร่งรีบในการบังคับใช้กฎหมาย สัญญาณเช่นนี้จะเป็นอันตราย อย่างยิ่งเมื่อไปถึงเด็กและเยาวชนอนาคตของชาติ


ขอขอบคุณ




เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์