ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโครงการและให้ทิศทาง รวมทั้งแนวนโยบายการดำเนินโครงการเร่งรัดปฏิบัติการด่วน (เพื่อคนไทย) ทั้งนี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางไปถึงได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมกลุ่มบริหารราชการกลุ่มแรก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ ที่มีนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นประธานกลุ่ม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลาในการทำงานเพื่อแก้ปัญหานำเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ เช่น กลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เป็นต้น เพื่อนำกลุ่มคนเหล่านี้เข้าสู่ระบบการประกันสังคมโดยำหนดกรอบระยะเวลา 5 สัปดาห์
นายอภิสิทธิ์ ให้คำแนะนำว่า อยากเร่งรัดให้การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวใช้เวลาเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ และขอให้ทางคณะกรรมการทำความเห็นให้มีความชัดเจนซึ่งหากจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายก็ให้เร่งดำเนินการเพื่อพิจารณา ทั้งนี้หวังว่าจะได้เห็นผลการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม เพราะรัฐบาลไม่ต้องการให้ไปคิดว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวรัฐบาลต้องใช้เงินเข้าไปสนับสนุน เพราะในความเป็นจริงกลุ่มเศรษฐกิจนอกระบบเหล่านี้เขามีศักยภาพในการมีรายได้ เพียงแต่ระบบไม่ยอมเปิดโอกาสให้คนเหลานี้เข้ามาอยู่ในระบบ ขณะเดียวกันหากสามารถทำสำเร็จคนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ในการมีหลักประกันที่ดีต่อชีวิตแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และจะนำไปสู่ความปรองดองในประเทศ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของภาครัฐจำเป็นต้องสร้างหลักประกันให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าถูกรังแกจากภาครัฐ เพราะที่ผ่านมาเวลาเกิดปัญหาขึ้นก็จะมีการพูดถึงกลุ่มคนที่มีอิทธิพลเมื่อตรวจสอบและสืบสาวราวเรื่องก็จะพบว่ามีข้าราชการของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเกือบทุกเรื่อง จึงต้องช่วยกันแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น การการค้าขายในพื้นที่ กทม.ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วก็สามารถที่จะยืดหยุ่นในการดำเนินการได้ แต่ก็มักมีการร้องเรียนตลอดว่ามีกลุ่มอิทธิพลเข้ามารีดไถ ดังนั้นจึงไม่อยากที่จะให้คิดว่าเราต้องเอาเงินไปช่วยคนเหล่านี้ เพียงแต่ทำอย่างไรจะให้คนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในระบบได้ก็พอ
"เพราะการเข้ามาอยู่ในระบบนั้นเขาจะได้รับทั้งโอกาสและความเป็นธรรม อย่างการกู้ก็จะเสียดอกเบี้ยที่ต้ำกว่าการกู้นอกระบบ ซึ่งเรื่องแบบนี้จะมีความรู้สึกที่มากกว่าความพอใจ ที่ผ่านมาคนเหล่านี้เข้ามาในระบบไม่ได้เพราะไม่มีหลักค้ำประกัน อย่างไรก็ตามผมจะนำเรื่องเข้าหารือกับที่ประชุม ครม.ว่าในส่วนที่มีการส่วตัวสแทนข้าราชการเข้าร่วมดำเนินการจะต้องเป็นบุคคลที่มีศักยภาพสามารถตัดสินใจได้และเมื่อตัดสินใจไปแล้วรัฐมนตรีไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ ผมจะถือเอาการตัดสินของกรรมการฯเป้นหลัก ทั้งนี้ก็จะเสนอต่อ ครม.ด้วยว่าข้าราชการคนใดที่เข้ามาช่วยทำงานก็จะได้รับการพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ แต่ในทางตรงข้ามหากมีชื่อแต่ไม่ยอมมาทำงานก็จะพิจารณาในอีกด้านหนึ่งแทน" นายกรัฐมนตรีกล่าว