พท.จี้มาร์คแก้น้ำท่วมโดยเร็ว ฟื้นศูนย์เตือนภัยพิบัติ


ที่พรรคเพื่อไทย (พท.)  เมื่อวันที่ 23 ต.ค.  นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคพท. และอดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แถลงว่า สาเหตุที่น้ำท่วมกระะทันหัน และไม่มีการเตือนภัย จนทำให้ประชาชนขนย้ายสิ่งขางไม่ทันนั้น เนื่องจากระบบการเตือนภัยของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจำกัด เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ก็เตือนเฉพาะสภาพอากาศ ฟ้าร้อง ฝนตกกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้ระบุว่าฝนตรงไหน ส่วนกรมชลประทาน ก็บอกได้เฉพาะปริมาณน้ำพื้นที่เขตชลประทาน ซึ่ง จ.นครราชสีมาก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย ก็ไม่มีข้อมูลทางวิชาการ ทำให้คนไม่เชื่อถือ โดยรวมแล้วไม่มีคนประเมินสถานการณ์ เตือนภัยอย่างจริงจัง จึงเกิดความเสียหาย

 “ดังนั้นขอให้ นายกรัฐมนตรีพิจารณา 2 ตัวเลือก 1.เอาศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกลับไปประจำสำนักนายกฯ หรือไม่ 2.ย้ายจากศูนย์กระทรวงไอซีทีไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อเกิดปัญหาเรื่องน้ำ กระทรวงทรัพยากรฯ มีกระทรวงทรัยพากรน้ำและบาดาล ให้ข้อมูลน้ำหลากได้ เมื่อเกิดดินถล่ม ก็มีกรมทรัพยากรธรณี ส่วนหากเกิดสึนามิ น้ำขึ้นสูงชายฝั่งทะเล ก็มีกรมทรัพยากรทะเลอยู่ ส่วนการน้ำท่วมฉับพลันตกในเขตป่าสงวน กรมป่าไม้ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานอยู่ในกระทรวงทรัพย์ฯ และ ข้อมูลทั้งหมดอยู่กระทรวงทรัพย์ฯ อยู่แล้ว หากเกิดปัญหาภัยพิบัติรายงานให้ประชาชนทราบอย่างทันท่วงที เนื่องจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีข้อตกลงกับทีวีพูล สามารถตัดสัญญาณได้ทันที รัฐบาลควรฟื้นฟูศูนย์เตือนภัยพิบัติทันที” นายปลอดประสพ กล่าว

ด้านนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ ในฐานะประธานศูนย์รับมือวิกฤตน้ำท่วมประเทศ ของพรรคพท. แถลงว่า สถานการณ์น้ำท่วมนั้นรัฐบาลสามารถคาดการณ์ได้ เพราะไม่ใช่เหตุแผ่นดินไหว  หรือ สึนามิ ที่สำคัญรัฐบาลไม่มีการจัดการทรัพยากรน้ำ ทำให้การกักเก็บน้ำในเขื่อนเต็ม จนทำให้เกิดน้ำท่วม จึงขอเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการดังนี้
 1.ขอให้นายกฯ เร่งตั้งศูนย์สั่งการเพื่อบูรณาการบริหารจัดการทัศทางการไหลของน้ำอย่างเป็นระบบทันที
2.ขอให้เร่งดำเนินการให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์เพื่อการคาดการณ์และเตือนภัยแก่ประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ำไม่ควรรอให้เกิดสถานการณ์ความเสียหายแล้วจึงมีการแจ้งเตือน
3.ขอให้จัดเครื่องมือในการกระจายอุปกรณ์สิ่งของเครื่องอำนวยความปลอดภัย เครื่องอุปโภค บริโภคให้ทั่วถึงหรือขอให้จัดให้มีการเตรียมการนำไปไว้ในพื้นที่อาจประสบเหตุน้ำท่วม ที่สามารถคาดการณ์ไดเอวไว้ก่อนล่วงหน้า
และ 4.ขอให้สั่งการแก่ส่วนราชการอย่างชัดเจนในด้านการเตือนภัยหรือการระวังป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์