ไม่ใช้ผู้นำยอดแย่ แต่เป็นผู้นำที่เลว ทักษิณ ชินวัตร ที่ Foreign Policy อยากให้โลกรู้จัก
Who thing i'm Badถูกต้องแล้ว ที่นายนพดล ปัทมะะ ที่ปรึกษา นช. ทักษิณ ชินวัตร จะแก้ต่าง แทนเจ้านายของตนว่า บทความเรื่อง Bad Exes ที่เขียนโดย นายโจชัว อี คีทติ้ง ซึ่งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ foreignpolicy.com ไม่ได้ระบุว่า นช. ทักษิณ เป็น 1 ใน 5 ผู้นำยอดแย่
คำว่า Bad Exes ต้องแปลว่า ผู้บริหารชั่ว ผู้บริหารเลว จึงจะฟังเข้าท่า ดูเข้าทีกว่า
นายคีทติ้ง ซึ่งเป็นผู้ข่วยบรรณาธิการของ foreignpolicy เขียนโปรยไว้ในตอนต้นเรื่องว่า "อดีตประธานาธิบดี และอดีตนายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ อุทิศตนสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้โลก หรือไม่ก็ปลีกตัวหายไปเงียบๆ ต่อไปนี้คือ อดีตผู้นำ 5 ราย ที่ไม่ได้เป็นทั้งสองแบบนี้ "
นช. ทักษิณ เป็น 1 ใน 5 รายที่ว่านี้ ที่ไม่ได้อยู่เฉยๆ และไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้โลกใบนี้เลย
นายคีทติ้ง ไม่ได้บอกว่า นช. ทักษิณ ใช้พาสปอร์ตปลอม แต่ใช้พาสปอร์ต ที่ได้รับมาอย่างผิดกฎหมาย จากประเทศต่างๆจำนวนหนึ่ง ( illegally received passports ) ซึ่งอาจจะหมายถึง หนังสือเดินทาง ที่ซื้อ หรือขอ หรือได้มาด้วยการแลกเปลี่ยนที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมก็ได้
จนถึงเย็นวานนี้ เว็บไซต์ foreignpolicy.com มีผู้เข้าไปอ่านเรื่อง Bad Exes มากเป็นอันดับหนึ่ง และมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง มีทั้งเห็นด้วย และด่าผู้เขียนบทความ รวมทั้ง แก้ต่างให้ นช. ทักษิณ
นช. ทักษิณ เคยแต่จ้างวานให้บริษัทพีอาร์ และสื่อต่างประเทศ เขียนข่าวบิดเบือนให้ร้ายประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่อง มาเจอเรื่องจริง ที่คนไทยรู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว ที่สื่อฝรั่งนำไปเผยแพร่เข้าให้บ้าง ย่อมจะต้องร้อนตัวเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องจริงของเขา มาปรากฏในเว็บไซต์ของนิตยสารที่เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักการทูต ผู้บริหารประเทศ และผู้สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคง อย่าง Foreign Policy
นิตยสารเล่มนี้ มีอายุถึงวันนี้ 40 ปีแล้ว เพราะก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1970 โดย แซมมวล ฮันติงตัน และ วาร์เรน เดเมียน แมนเซล
ฮันติงตัน เป็นนักวิชาการรัฐศาสตร์ชื่อก้องโลกคนหนึ่ง ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู้ผู้ที่ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์หว่างประเทศคือ หนังสือชื่อ "การปะทะกันของอารยธรรม และการจัดระเบียบโลกใหม่" ( The Clash of Civilization and the Remaking of World Order) ซึ่งเสนอมุมมองใหม่ เกี่ยวกับสถานการณ์โลก หลังยุคสงครามเย็น
เดิม เว็บไซต์ foreignpolicy.com ทำหน้าที่เป็นตัวเสริมนิตยสารเท่านั้น แต่หลังจากวอขิงตันโพสต์เป็นเจ้าของ ได้พัฒนา foreignpolicy.com ให้เป็นสื่อออนไลน์ เพื่อเป็น "นิตยสารรายวันของผู้ที่สนใจเรื่องของโลก" โดยการระดมนักข่าว นักเขียนในเครือวอชิงตัน โพสต์ และนักเขียนภายนอก มาเขียนบล็อก มีกองบรรณาธิการที่ทำข่าวป้อนให้เป็นทุกวัน เพื่อให้เว็บมีความเคลือนไหว สด ใหม่ ทุกวัน โดยที่ เนื้อหาจากนิตยสาร เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ เว็บไซต์เท่านั้น ที่เปิดให้ผุ้ที่ลงทะเบียนอ่านฟรี
เว็บไซต์ foreignpolicy.com เปิดตัวโฉมใหม่มาตั้งแต่ เดือนมกราคมปีที่แล้ว บางที บทความเรื่อง ผู้บริหารเลวๆ ชิ้นนี้ อาจจะทำให้ มีผู้เข้าไปชมเว็บไซต์นี้มากที่สุดวันหนึ่งก็ได้