ก่อนที่จะใช้ดุลพินิจ ประการใด?
"มติชนออนไลน์"ตรวจสอบการลงทุนในบริษัท เพชรประกาย จำกัด พบข้อมูลดังนี้
บริษัท เพชรประกาย จำกัด เดิมคือ ห้างหุ้นสวน (หจก.) เพชรประกาย จดทะเบียนก่อตั้งวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 หุ้นส่วน 2 คนคือ นายพีระเดช ปริญญาสวน ลงหุ้นจำนวน 450,000 บาท นางสาวนฤมล เรือนใจหลัก 50,000 บาท ที่ตั้งเลขที่ 50/113 หมู่ที่ 5 ซอยนวมินทร์ 63 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบุ่งกุ่ม กรุงเทพฯ (ที่ตั้งเดียวกับบ้านของนายพีระเดช) โดยนายพีระเดช เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
วันที่ 23 ธันวาคม 2549 ห้างหุ้นสวนเพชรประกาย เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,000,000 บาท นายพีระเดช ปริญญาสวน ลงหุ้นเป็น 950,000 บาท นางสาวนฤมล เรือนใจหลักถือหุ้น 50,000 บาท ที่ตั้งเลขที่ 111/186 หมู่ที่ 6 ถนนโพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ (ตามที่อยู่ใหม่ของพีระเดช) นายพีระเดช เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
วันที่ 10 สิงหาคม 2550 ห้างหุ้นสวนเพชรประกาย เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2,000,000 บาท นายพีระเดช ปริญญาสวน ลงหุ้นเป็น 1,950,000 บาท นางสาวนฤมล เรือนใจหลักถือหุ้น 50,000 บาทเดิม ที่ตั้งเลขที่ 111/186 หมู่ที่ 6 ถนนโพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ นายพีระเดช เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ปี 2551 ห้างหุ้นสวนเพชรประกาย ไม่มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น
วันที่ 14 มีนาคม 2552 นายพีระเดชทำหนังสือแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าขอเพิ่มทุนห้างหุ้นส่วนเพชรประกายอีก 18,000,000 บาท เป็น 20,000,000 บาท โดยมีหุ้นส่วนใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 คน คือ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ลงหุ้น 15,000,000 บาท และ นายณรัล วิวรรธนไกร 3,000,000 บาท สำนักงานอยู่ที่เดิม นายพีระเดช เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
กระทั่งวันที่ 27 เมษายน 2552 ห้างหุ้นส่วนเพชรประกาย ได้แปรสภาพเป็นบริษัท เพชรประกาย จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ตั้งเลขที่ 8 อาคารยูพีดี ถนนรามอินทรา แขวงมีนบุรี กรุงเทพฯ นายองอาจถือหุ้น 150,000 หุ้น มูลค่า 15,000,000 บาท (75%) นายณรัล วิวรรธนไกร 30,000 หุ้น มูลค่า 3,000,000 บาท (15%) และนายพีระเดช ปริญญาสวน 20,000 หุ้น มูลค่า 2,000,000 บาท (10%) มีนายพีระเดช ปริญญาสวน เป็นกรรมการ
เมื่อพลิกดูงบกำไรขาดทุนของห้างหุ้นส่วนเพชรประกาย (ก่อนที่นายองอาจจะเข้าไปซื้อหุ้น)จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ
ปี 2549 มีรายได้ 7,045,861 บาท กำไรสุทธิ 209,103 บาท
ปี 2550 มีรายได้ 12,904,080 บาท กำไรสุทธิ 525,157 บาท
ปี 2551 มีรายได้ 24,165,031 บาท (รายได้จากการขายและบริการ 24,134,639 บาท ) กำไรสุทธิ 1,029,180
บาท
ขณะที่บัญชีงบดุลระบุว่า ปี 2550 มีเงินสด 1,439,584 บาท สินค้าคงเหลือ 6,100,000 บาท รวมสินทรัพย์ 8,350,686 บาท หนี้สินเงินกู้ยืมระยะสั้น 3,533,000 บาท จากหนี้สินทั้งหมด 5,624,718 บาท
ปี 2551 มีเงินสด 1,517,833 บาท สินค้าคงเหลือ 19,060,000 บาท รวมสินทรัพย์ 22,667,576 บาท หนี้สินเงินกู้ระยะสั้น 16,700,000 บาท (ไม่ระบุว่ากู้ยืมจากใคร) จากจำนวนหนี้สินทั้งหมด 18,912,427 บาท
จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเพชรประกาย ผลประกอบการกำไรสุทธิไม่มากนัก ขณะที่คู่แข่งทางการตลาดเยอะ การที่นายองอาจถึงตัดสินใจควักเงินส่วนตัวและเงินของภรรยาลงทุน 15 ล้านบาท (ตามคำกล่าวอ้าง) ต้องถือว่าในทางธุรกิจถือว่า"ใจถึง"เอามากๆ
ประการสำคัญนายองอาจได้พลิกบัญชีงบดุลดูหรือไม่ว่า เงินกู้ยืมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้จำนวน 16,700,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดเพชรประกาย "กู้ยืม"มาจากบุคคลใด?
.......