เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการ กฤษฎีกา
ให้สัมภาษณ์ถึงผลการตีความคุณ สมบัติการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ตามที่ สตง. ส่งเรื่องให้ตีความว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า คุณหญิงจารุวรรณพ้นจากตำแหน่งผู้ว่า สตง. ไปแล้ว เนื่องจากตามประกาศ คณะกรรม การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ระบุว่า ให้ผู้ว่า สตง. ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 30 ก.ย. 2550 จากนั้นให้มีการสรรหาใหม่ภายใน 90 วัน ดังนั้นคุณหญิงจารุวรรณจึงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างมากแค่ 90 วัน
เมื่อถามว่าแสดงว่า คุณหญิงจารุวรรณพ้นจากผู้ว่า สตง.จะต้องออกจากสำนักงาน สตง. แล้วใช่หรือไม่
คุณพรทิพย์ตอบว่า สตง. เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกามีผลผูกพันเฉพาะส่วน ราชการ และรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น คุณหญิงจารุวรรณจะเชื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของคุณหญิงจารุวรรณจะพิจารณาเอง แต่หากคุณหญิงจารุวรรณยังอยู่ในตำแหน่งต่อไป แล้ว มีผู้นำเรื่องยื่นฟ้องศาล ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบ หากศาลเห็นด้วยกับแนวทางของคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้าราช การใน สตง. จะต้องฟังใครระหว่างรักษาการผู้ว่า สตง. กับคุณหญิงจารุวรรณ คุณพรทิพย์กล่าวว่า หากข้าราชการเห็นด้วยกับคณะกรรมการกฤษ ฎีกา ก็ต้องฟังรักษาการ ผู้ว่า สตง. แต่ส่วนใหญ่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นไปแล้ว ทุกหน่วยก็จะรับฟัง ถ้าเป็นตนก็คงไม่ทำแล้ว
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประชุม ส.ส. พรรค โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย
ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในที่ประชุม ส.ส. ถึงปัญหาตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยให้ คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ไปพูดคุยกับเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าสภาสามารถที่จะสรรหาผู้ว่า สตง. ได้โดยที่ไม่ต้องรอกฎหมายใหม่ได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ต้องขอให้ประธานวิปรัฐบาล ดำเนินการ ถ้ารอกฎหมายใหม่ก็เป็นปี เท่ากับว่าเป็นปีที่จะไม่มีผู้ว่า สตง. มาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนไม่ได้เดือดร้อนแต่ดูไม่ ค่อยดีเท่าไหร่ เท่ากับว่าการตรวจสอบในกลไกนี้หายไปเป็นเวลา 1 ปี เรามีทางเลือกอยู่ว่าเราจะยืนยันหรือรอให้ไม่ผ่านวุฒิสภา ซึ่งเห็นว่าทาง วุฒิสภาเองไม่ค่อยเห็นชอบเท่าไหร่ ดังนั้นประเด็นจึงมีอยู่ว่าจะทำอย่างไร.