เลือกตั้งเขต6 ชี้ชะตาคนกรุงเอา-ไม่เอาเสื้อแดง-ทักษิณ

กำลังโม่ กันหนักเลยทีเดียวสำหรับการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขต 6 ผ่านการเลือกตั้งล่วงหน้าไปแล้วอย่างราบรื่น ไร้เหตุร้องเรียน กำลังเข้าสู่ช่วงดุเดือดหาเสียงโค้งสุดท้าย ต่างฝ่ายต่างระดมสรรพกำลัง งัดกลยุทธ อย่างเต็มเหนีี่ยว

 ไม่ยั้ง สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้สร้างความฮือฮา มาตั้งแต่แรกตั้งแต่ที่พรรคเพื่อไทย ส่ง "คนคุก" ลงเลือกตั้ง เลยเถิดไปถึงการวัดกระแสคนเอาไม่เอาเสื้อแดง หรือ เอาไม่เอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ พรรคพวก เป็นการแข่งขันระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ปฏิเสธไม่ได้แม้ว่าจะมีผู้สมัครถึง 6 คน แต่เอาเข้าจริงมีการขับเคี่ยวกันแค่สองคน คือ "นายพนิช วิกิตเศรษฐ์"  จากค่ายเครือสะตอแมน ประชาธิปัตย์ กับ "นายก่อแก้ว พิกุลทอง" ลูกสะตอในสีเสื้อพรรคเพืืื่อไทย

ผศ.ดร.พิชาย รัตนดิิลก ณ ภูเก็ต รองคณะบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) วิเคราะห์ว่า 

ปัจจัยที่ทำให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงนั้นมีหลายกรณี ซึ่งหากนายพนิช ชนะสะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นกลาง ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทางการเมืองของฝ่ายเสื้อแดง รวมทั้งปฏิเสธ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องกระแสที่เกี่ยวพันกับสถานการณ์ ใน กทม.นั้นมีฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งประมาณเกือบ 20% แต่ท่ีี่ผ่านมา คน กทม.อาจได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมขแดงคนเสื้อแดงมาก ตรงนี้สะท้อนว่า คน กทม.ไม่เอาคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย ที่ไปสนับสนุนคนเสื้อแดง

แต่ถ้าหากว่านายก่อแก้ว ชนะ มันก็จะสะท้อนถึงกลไก ในการจัดตั้งเครือข่ายของพรรคเพื่อไทย ในเขตชานเมือง ยังมีความแข็งแกร่ง

 เพราะฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยนั้นมาจากคนในชุมชน ชนบท ซึ่งมีเครือข่ายที่แน่นหนา กระแส พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังอยู่ในกลุ่มคนดังกล่าว อาจจะมีกระแสกลไกในระบบอุปถัมก์ ซื้อขายเสียงยังมีอยู่ อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าการเลือกตั้งครั้งนี้คนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย กลไกอย่างที่ว่านี้สามารถทำงานได้ดี จะกลายเป็นกลุ่มที่กำหนดการเลือกตั้งได้ แต่ถ้าคนมาใช้เสียงมาก กลไกดังกล่าวจะใช้ไม่ได้ผล พลังของชนชั้นกลางจะมากกว่า คนมาใช้เสียงมาก โอกาสของนายพนิช ชนะสูง แต่คนมาใช้เสียงน้อยโอกาสที่นายก่อแก้ว ชนะก็มีมาก  


ไม่ว่าใครจะชนะ แน่นอนความขัดแย้งทางการเมืองมันยังคงอยู่ ถ้าตราบใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังอยู่ ผู้สนับสนุน ยังอยู่ความขัดแย้งที่เป็นขั้วยังไม่ลบเลือนไป

สำหรับแนวทางปฏิรูปทางการเมืองนั้น ไม่ใช่แนวทางปรองดองระยะสั้น ความขัดแย้งครั้งนี้มีรากเง้า ถูกจุดกระแสโดยบุคคล ไม่ใช่ขัดแย้งเชิงหลักคิด เลิงอุดมการณ์แค่ถูกนำมาอ้างเท่านั้น  ซึ่งต้องให้ปัจเจกบุคคลที่กระตุ้นหมดไป ความขัดแย้งรุนแรงก็จบ แต่ถ้ามีคนคอยกระตุ้น ยุแหย่ จะยังไม่จบสิ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปนั้นมาถูกทางแล้ว เพียงแต่ต้องกระทำให้จริงจัง มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ผศ.ดร. พิชาย ระบุ  

ขณะที่ รศ.ตระกูล มีชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่า สะท้อนได้หลายมิติ แต่ว่าไม่ได้สะท้อนถึงการเลือกตั้งทั่วไป ตรงจุดนี้สะท้อนในเชิงสัญญลักษณ์มาก

คือ เหตุการต่อเนื่องจากเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังสะท้อนในเชิงสัญญลักษณ์การแบ่งกลุ่มการเมือง ไม่ใช่เป็นเรื่องของพรรค และ ไม่ใช่ลักษณะตัวบุคคล เป็นกลุ่มการเมือง เช่น กลุ่มพันธมิตร สนับสนุน เทคะแนนเสียงให้นายพนิช ซึ่งไม่ได้เป็นคะแนนของตัวเอง อีกมุมหนึ่งหากนายก่อแก้ว ได้คะแนนเสียง นั่นหมายถึงการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจ ต่อนโยบาย มาตรการบางอย่างของรัฐบาล   

การแข่งขันครั้งนี้ ไม่ใช่แข่งขันกันเรื่องตัวบุคคล มันสะท้อนระดับความคิดทางการเมือง ทำให้คะแนนเสียงไม่ใช่เป็นการวัดระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย

มันเป็นกระแสอื่นเข้ามาด้วย บวกกับมาตรการบางอย่างที่ไม่พอใจรัฐบาล มีผล รวมทั้งนโยบาย เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไปที่ฝ่ายรัฐบาลมักจะพ่ายแพ้ฝ่ายค้าน เป็นเรื่องปกติ มันจะสะท้อนออกมาซึ่งไม่ใช่เสียงของพรรคเพื่อไทยทั้งหมด รศ.ตระกูล กล่าว

นอกจากนี้เสียงสะท้อนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา มันส่งผลที่จะแปลงความชอบ หรือ ความไม่ชอบออกมาเป็นคะแนนเสียง

ในการหย่อนบัตรเลือกตั้งครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตามสถาการณ์หลังจากนี้ คงต้องดูต่อไปว่าถ้าขั้วทางการเมืองสองแนวทางชัดเจน  ความขัดแย้งทางการเมืองไม่เบาบางลงเลย กลับจะเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ส่วนแนวทางการปรองดองที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้น ไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ไม่คิดว่าจะได้ผลใระยะสั้น เนื่องจากแผนที่ออกมานั้นเป็นนามธรรมสูง เป็นการแก้ไขในระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์