"นพดล"สาบานตายภายใน 3-7 วัน ปัดไปสหรัฐค้านมติ อัดซ้ำแผนปรองดองสวนทางปฏิบัติ จี้ต้องเลือกตั้งปลายปี"52
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
กล่าวถึงกรณีพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่าการเดินทางไปที่กรุงวอชิงตันเป็นการไปเพื่อคัดค้านข้อมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาว่า ขอยืนยันว่าไม่มีเจตนาในการดำเนินการอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา ซึ่งการที่ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ออกมาแถลงข่าวต่อเนื่องทุกวัน โดยนำเรื่องที่ไม่จริงหลายประการมาพูด เช่น การที่ตนเดินทางไปที่กรุงวอชิงตัน เพื่อคัดค้านข้อมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา
"ผมจึงขอสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่ที่นี่ หากทำเช่นนั้นจริงขอให้มีอันเป็นไปใน 3 วัน 7 วัน แต่การสนับสนุนเป้าหมายแผนปรองดองของรัฐบาลเพื่อให้เจรจากันอย่างสันติวิธี ขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่รัฐบาลกลับไม่นำเรื่องนี้มาพูด และที่สำคัญคือการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหยุดใช้ความรุนแรง จึงต้องดำเนินการตามแผนเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง"
ส่วนกรณีที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมากล่าวหาว่า ตนไปดูถูก ส.ส.ของสหรัฐอเมริกานั้น ตนคงไม่สามารถไปดูถูกเขาได้
ในเมื่อตนไปขอมติจากเขา อยากจะเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ นำคำพูดของนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ที่กล่าวไว้ว่า "ผมไม่อาจทำให้คนไทยรวยเท่ากันได้ แต่ผมต้องการทำให้คนไทยทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน" ดังนั้น อยากให้รัฐบาลชุดนี้นำคำพูดนี้ไปปฏิบัติ เพราะในวันนี้รัฐบาลอภิสิทธิ์บอกว่าจะฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างเท่าเทียม แต่พอแสดงความคิดเห็นไปก็กลับโดนต่อต้าน
นายนพดล กล่าวว่า ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการตามแผนปรองดองในกรอบเวลา 3 ปี
แต่การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นภายในปลายปีหน้า จึงเป็นแผนที่ไม่ค่อยจะสอดคล้องกับข้อมติเหล่านี้ เพราะการสนับสนุนให้มีการนำแผนปรองดองไปปฏิบัติก่อนการเลือกตั้ง รวมไปถึงสื่อต่างๆ ก็ยังถูกปิดอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ขอตั้งคำถามถึงกรณีที่มีข่าวว่านายอภิสิทธิ์ไปจ้างล็อบบี้ยิสต์ด้วย นายอภิสิทธิ์ต้องชี้แจงว่าไม่มีการจ้างจริงหรือไม่
"กรณีการลงมติของสภาครองเกรสจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการเจรจรา อย่างที่ผมเคยพูดไป จึงอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลอย่าอ่านเฉพาะข้อที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ส่วนที่นายกฯอภิสิทธิ์ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) ได้ตั้งคณะกรรมการตามแผนปรองดองในกรอบเวลา 3 ปี แต่การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นภายในปลายปีหน้า มันจึงเป็นแผนที่ไม่ค่อยจะสอดคล้องกับข้อมติเหล่านี้ เพราะการสนับสนุนให้มีการนำแผนปรองดองไปปฏิบัติก่อนการเลือกตั้ง รวมไปถึงสื่อต่างๆ ก็ยังถูกปิดอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้รัฐบาลต้องพูดความจริงให้ครบถ้วน ให้ประชาชนเข้าใจในความหมายของสภาฯสหรัฐอเมริกา"นายนพดล กล่าว