มาร์ค" จี้"แดง" ตัดสินใจ ขู่ "ไม่รับ" ก็พร้อมอยู่ยาว ลั่นหมดเรื่อง"ต่อรอง" อีก ยัน ไม่ นิรโทษ"คดีอาญา" แนะแกนนำ มอบตัว รอความเมตตา "ศาล" ยังไม่เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินหลังม็อบยุติ ยังไม่คืนสถานีเสื้อแดง ปชป.ได้ยินนายกฯเล็งตั้งกก.คืนสิทธิ 111+109 เผยอดีตรมต."ทรท."ช่วยโรดแมป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานข่าวแจ้งว่า การออกมาประกาศโรดแมปของนายกฯ เมื่อค่ำวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นข้อตกลงร่วมกันของ 3 ฝ่ายคือ รัฐบาล กองทัพ และแกนนำกลุ่มเสื้อแดง โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน เนื่องจากเห็นว่า หากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อต่อไปจะทำให้เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศเสียหายหนักยิ่งขึ้นประกอบกับผู้นำทุกเหล่าทัพ เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องไม่มีการปฏิวัติ ไม่มีการสลายการชุมนุม และไม่อยากเห็นความแยกแยกในสังคม ข่าวแจ้งว่า จากนั้นจึงประสานให้อดีตรัฐมนตรีจากพรรคไทยรักไทย (ทรท.) คนหนึ่ง พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ถึงโรดแมปปรองดอง ก่อนนำข้อตกลงของทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มเสื้อแดง มาเปิดการเจรจาเพื่อหาข้อยุติ ที่สุดก็ได้ข้อยุติว่า รัฐบาลจะยุบสภาในวันที่ 15 กันยายน หลังการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณปี 2554 และการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงเสร็จสิ้น รวมทั้งจะมีการนิรโทษกรรมให้กับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี แต่ยังคงไว้ซึ่งคดีอาญาที่จะไม่มีการนิรโทษกรรม ก่อนที่จะตกลงร่วมกันและให้อดีตรัฐมนตรีจากพรรคไทยรักไทยอีกคนร่างโรดแมปดังกล่าวให้นายกฯออกมาประกาศทางทีวีพูล เมื่อเวลา 14.50 น. วันที่ 4 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ถึงโรดแมป 5 ข้อในการแก้ไขวิกฤติการเมืองว่า "แต่ถ้าในส่วนนี้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมและบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนทำหน้าที่ได้ตามปกติและไม่ทำให้เกิดความแตกแยก รัฐบาลก็จะจัดการเลือกตั้งได้ในวันที่ 14 พฤศจิกายน แต่ถ้าไม่มาร่วมเราก็เดินหน้าตาม 5 ข้อ แต่ทุกอย่างอาจจะขลุกขลัก และไม่มีความชัดเจนว่าบรรยากาศหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมที่จะเลือกตั้งนั้นเป็นเมื่อไร ซึ่งก็เป็นเรื่องของทาง นปช.ที่จะตัดสินใจ" นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หวังกับเรื่องนี้ไม่แตกต่างจากคนไทยทั่วไปคือนี่คือโอกาสที่จะผ่าออกมาจากวิกฤติที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง แต่ไม่ง่าย เพราะอาจจะรู้สึกว่ามีโอกาสแล้วและผ่อนคลายลงบ้าง แต่ไม่รู้ว่าทีของแนวร่วมประชาธิปตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เป็นอย่างไร แต่สิ่งที่ตนตั้งเอาไว้ ว่าใน 6 เดือน หากทุกอย่างสงบเรียบร้อยก็ได้กำชับไปแล้วว่าเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานความแตกแยกทั้งหมด เมื่อถามว่าจะเป็นการยุติเหตุแค่ชั่วคราวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันจะชั่วคราวหรือไม่ก็อยู่ที่ทุกคน แต่ตนก็มีหน้าที่ไม่ให้เป็นอย่างนั้นและต้องรับผิดชอบการตัดสินใจของตัวเอง เมื่อถามว่าเป็นการยอมจำนนต่อการข่มขู่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่พูดเสมอตั้งแต่ปี 2552 ว่าการยุบสภานั้นมีเวลาที่เหมาะสม โดยมี 3 เงื่อนไขคือ 1.เรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งวันนี้กรอบเวลาที่ตนพูดคือหากกรอบงบประมาณเดินได้ตามปกติก็มั่นใจตามสมควรว่าแม้จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงเดือนเมษายนหรือพฤษภาคมเท่านั้น ประกอบกับ 3 เดือนแรกเศรษฐกิจดีเกินคาดเงื่อนไขการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังเป็นไปตามที่ตนเคยพูด 2.เรื่องกติกานั้นก็มีความเห็นที่ยังแตกต่างหลากหลาย และยังหาจุดที่ลงตัวไม่ได้ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็อยู่ที่แผนตามข้อ 5 คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการวางกรอบกติกาที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนเพื่อหาข้อยุติใน 6 เดือนข้างหน้า และ3.คือความสงบ ซึ่งเชื่อว่าหากมี 6 เดือนที่ไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหว ต่อต้านและขัดขวาง การทำงานของฝ่ายต่างๆก็จะเป็น 6 เดือนที่แตกต่างกับตลอดเวลาปีกว่าๆที่ผ่านมาก็เป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเลือกตั้งได้ แม้แต่ในการเจรจาผู้ชุมนุมตนก็พูดเอาไว้เป็นเงื่อนไขระยะเวลาปลายปี "ตอนนี้อยู่ที่ผู้ที่จะสนองข้อเสนอ และเป็นการตัดสินใจของเขา ส่วนผมถือว่าตรงนี้จึงเป็นการตัดสินใจของผม ในแง่ของสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อบ้านเมือง หากผมจะยอมจำนนก็ต้องเป็นเรื่องของการยุบสาภาทันที หรือ 15 วันหรือ 30 วัน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่มีใครรู้แน่นอน แต่ต้องบริหารสถานการณ์จากวันนี้ถึงเดือนพฤศจิกายนแล้วก็เลือกตั้ง ไม่มีรัฐบาลชุดไหนอยู่ ไม่มีอายุที่สิ้นสุดอยู่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว เมื่อถามว่าทำไมไม่อยู่ครบวาระ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าได้เรียนไปแล้วว่ากระบวนการการปรองดองคงไม่มีใครได้ทุกอย่างตามใจชอบ และก่อนที่จะมีเรื่อง ก่อนที่จะมีการชุมนุม ก็ได้ส่งสัญญาณว่าการยุบสภานั้นอาจจะเป็นจุดที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ แต่ต้องอยู่ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งก็เข้าใจและเห็นใจคนที่อยากเห็นการมีรัฐบาลอยู่ครบวาระ และก็ให้การยืนยันว่า การตัดสินใจนั้นยังอยู่ในหลักการที่พูดมาตลอด เพราะยังอยู่บนหลักนิติรัฐ ไม่มีการนิรโทษกรรมทางอาญา ใครมีความผิดทางกฎหมายอย่างไรก็ต้องจัดการ เมื่อถามว่าระยะเวลา 6 เดือนสามารถทำให้สำเร็จได้หรือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แต่ละเรื่องจะไม่เหมือนกัน หากไล่เรื่องเฉพาะอย่างการสอบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นั้นตนคิดว่าระยะเวลา 6 เดือนถือว่าเพียงพอ ส่วนกติกาทางการเมืองนั้นหากเรื่องไหนเร่งด่วนก็ดำเนินการก่อน ส่วนเรื่องไหนไม่เร่งด่วนก็ไปรอหลังการเลือกตั้ง ส่วนกระบวนการเรื่องของสื่อมวลชนและสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง นายกฯกล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องโครงสร้างนั้นแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถทำสำเร็จได้ภายใน 6 เดือน แต่เราจะสร้างกลไกที่จะทำเรื่องนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และเฉพาะเรื่องนี้ในวันที่ 12-13 พฤษภาคมจะมีการประชุมของคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยได้ประสานกับภาคประชาสังคมเพื่อมาทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและปฏิรูปสังคม ซึ่งอาจจะนำไปสู่การจัดสมัชชาในวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งจะนำไปสู่การเดินหน้าในเรื่องย่อยๆ อื่นๆไม่ว่าจะเป็นที่ทำกิน โอกาสและความยากจน เมื่อถามว่ามั่นใจหรือว่า การตัดสินใจรับเงื่อนไขหรือไม่ของแกนนำคนเสื้อแดงจะทำให้ทุกกลุ่มยุติความเคลื่อนไหว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่อยากเกินไปที่จะรู้ว่า อะไรเป็นขบวนการหรือระบบ หรืออะไรอาจจะมีปัญหาควบคุมไม่ได้ แต่ในกระบวนการปรองดองทุกข้อนั้นไม่พอที่แต่ละฝ่ายจะบอกว่าตัวเองไม่เกี่ยว แต่ทุกคนต้องช่วยกันทำว่าจะแก้ไขกันอย่างไร อาทิ มีสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีพฤติกรรมชัดเจน มีชื่อผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายก็ต้องมาช่วยกัน รวมทั้ง นปช.ด้วยว่าตกลงเกี่ยวข้องกับ นปช.หรือไม่ หรือเว็บไซด์ นปช.ยูเอสเอ เกี่ยวหรือไม่ ถ้าเกี่ยวก็แสดงว่าคุณไม่เข้าสู่กระบวนการปรองดอง หากไม่เกี่ยวก็ต้องให้ความร่วมมือกับเราในการจัดการ และการยุติการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มต่างๆนั้นเป็นระบบของคนเสื้อแดงที่ตนไม่สามารถไปก้าวล่วงได้ เหมือนกับการบริหารการชุมนุม แต่สังคมก็ดูออกว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อถามว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้นายกรัฐมนตรียอมลดเงื่อนไขการยุบสภาจาก 9 เดือนลงมาเหลือ 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเมินจากสถานการณ์และสิ่งที่ต้องดำเนินการ เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับโรดแมปหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะการแถลงนั้นเป็นไปในนามของรัฐบาล เมื่อถามว่าคนเสื้อแดงเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลมาแถลงยืนยันโรดแมปด้วย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะอำนาจการยุบสภาไม่ได้เป็นของ ครม. แต่เป็นของนายกรัฐมนตรีที่จะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อถามว่าระยะเวลา 6 เดือนที่ประกาศออกมาถือว่าเป็นคำตอบสุดท้ายแล้วหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า"ไม่มีอะไรแล้ว ที่จะเป็นเรื่องของต่อรอง เพราะเป็นการนำเสนอที่ครบถ้วนในตัวของมันเอง ถ้าตอบรับก็ตอบรับ ถ้าไม่ตอบรับก็ไม่ตอบรับ ผมนึกไม่ออกว่า สังคมจะปล่อยให้เป็นเรื่องการเจรจาต่อรองอะไรกันอีก เพราะสิ่งที่ผมได้พูดไปนั้นเป็นสิ่งที่ได้สดับฟังจากทุกฝ่าย แม้กระทั่งคนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ชุมนุมเองก็ยังยอมรับเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในภาพรวม" เมื่อถามว่าหากคนเสื้อแดงไม่ตอบรับจะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย เมื่อถามว่าจำเป็นจะต้องทำสัตยบรรณกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ต้องลงสัตยาบรรณหรอก เพราะการแถลงกับสาธารณะมันผูกมัดทุกอย่างอยู่แล้วในตัว และก็ได้อธิบายเงื่อนไขต่างๆ ชัดเจน ก็ยังเหลือแต่รายละเอียดแต่ละข้อที่ต้องมีบุคคลมารับผิดชอบที่ต้องเร่งจัดตั้งขึ้นมา เมื่อถามถึงการดำเนินการหากผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากผู้ชุมนุมรับเงื่อนไขก็ต้องมีวิธีการบริหารการยุติการชุมนุม ซึ่งต้องดูเรื่องความปลอดภัยของประชาชนที่เดินทางกลับแต่เจ้าหน้าที่ก็ต้องตรวจสอบเรื่องของอาวุธเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมั่นใจทุกฝ่าย สำหรับแกนนำผู้ชุมนุมนั้นก็ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะสามารถได้รับความเป็นธรรมได้ เมื่อถามว่าหากเจ้าหน้าที่เจอตัวซึ่งหน้าสามารถจับตัวได้ทันทีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็คงต้องบริหารไม่ให้เกิดความวุ่นวาย แต่การรับผิดทางกฎหมายเป็นอย่างไรก็ยังเป็นเช่นนั้นและสิทธิทางกฎหมายมีอย่างไรก็ยังมีอย่างนั้น "ขณะนี้แกนนำทุกคนมีหมายจับอยู่ และกระบวนการต่างๆก็ยังเดินต่อ และหมายจับต่างๆที่ออกไปเป็นคดีอาญาทั้งสิ้น ซึ่งจะมีการดำเนินคดีตามปกติ สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเป็นอย่างไรก็ยังเป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนที่เป็นดุลยพินิจของศาลที่ต้องเคารพการตัดสินของศาล ซึ่งความหนักเบาของโทษนั้นก็เป็นดุลยพินิจของศาล อาทิ เมื่อมีการควบคุมตัวแล้วจะได้รับการประกันหรือไม่อย่างไรนั้นก็จะเป็นปัจจัยที่ศาลจะต้องใช้ในการตัดสิน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณี้รัฐบาลจะยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้เมื่อไรว่า หากยุติการชุมนุม พ.ร.ก.การบริหารราชการในถสานการณ์ฉุกเฉิน ต้องมีอยู่อีกระยะหนึ่ง เพราะการบริหารการยุติการชุมนุมจะต้องมีการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยทั้งบุคคลและสถานที่ รวมไปถึงเรื่องของสื่อที่จะต้องมีกลไกไม่มีปัญหาการปลุกระดมต้องทำงานได้ ซึ่งถ้ายกเลิกไปแล้วมีการปลุกระดมและปลุกปั่นกันอีกก็จะมีปัญหา โดยหลังเหตุการณ์วุ่นวายเดือนเมษายน 2552 ยังต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน รายงานข่าวจากรัฐมนตรี ของพรรคปชป.เปิดเผยว่า
โรดแมป 5 ข้อของนายกฯที่ระบุจะเลือกตั้งใหม่วันที่ 14 พฤศจิกายนนั้น ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 108 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า "การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดย พ.ร.ฎ. ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา" หมายความว่า หากจะเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พฤศจิกายน นายกฯก็จะต้องยุบสภา อย่างเร็วในวันที่ 13 กันยายนหรืออย่างช้าวันที่ 28 กันยายน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2554 น่าจะผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เพราะตามปกติจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม เช่นเดียวกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการต่างๆ รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายทหารก็น่าจะเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า
เรื่องจัดการเลือกตั้งไม่มีปัญหา ขอให้ความมั่นใจว่า กกต.จะจัดการเลือกตั้งด้วยความเป็นกลาง แต่เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถไปหาเสียงได้ในทุกพื้นที่
ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า
หากรัฐบาลและผู้ชุมนุมจะประนีประนอมกันแล้วก็ควรจะมีการตกลงกันในเรื่องของการหาเสียง เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าการหาเสียงจะมีการดำเนินการขัดขวางกันได้หรือไม่ เพียงแต่เขียนไว้ว่าให้การหาเสียงเป็นไปอย่างโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
เบื้องต้นเรายังไม่ทราบว่าทางแกนนำผู้ชุมนุมมีท่าที่ชัดเจนอย่างไร แต่ได้พูดไปแล้วว่า กระบวนการปรองดองที่ได้นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ตั้งใจจะทำตั้งแต่บัดนี้ โดยตนได้แจ้งกับคณะรัฐมนตรีในระหว่างการประชุม ครม.ว่า แม้การทำกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ต้องเชิญทุกภาคส่วนเข้ามา แต่รัฐบาลต้องถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องทำโดยเร่งด่วน เพราะถือว่า การเร่งแก้ปัญหาความแตกแยกเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ว่าสำหรับการวินาศกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเราก็ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยที่สุดก็คือคดีอาญาทั้งหมดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และทุกอย่างจะต้องเดินหน้า โดยเฉพาะคดีหลักๆ 2 เรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับไปดูแล้ว ก็จะเดินหน้าต่ออย่างเต็มที่ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะในกระบวนการปรองดองนั้นไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องการนิรโทษกรรมใครในทางอาญา จะมียกเว้นก็ในส่วนของประชาชนธรรมดาที่เข้าไปในที่ชุมนุมในช่วงการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน แต่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหลัก มีหมายจับก็ต้องดำเนินการตามปกติต่อไป
ส่วนเหตุการณ์ในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเอื้อต่อการเลือกตั้งหรือไม่นั้นเราก็ต้องดูว่ากระบวนการการก่อการร้ายและวินาศกรรมยังมีอยู่หรือไม่ ก็เชื่อว่าคดีที่ได้เริ่มต้นไปแล้วโดยมีการจับกุม ค้น พบอาวุธได้ทราบว่าเครือข่ายการก่อการร้ายเกี่ยวข้องกับใครบ้าง ก็น่าจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น
เมื่อถามว่า ผู้ชุมนุมได้ติดต่อเข้ามาบ้างหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พอดีประชุม ครม.อยู่ในช่วงเช้า จึงมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์ แต่กรณีที่จะมีการยุติการชุมนุมเราก็จะมีการบริหารขั้นตอน โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายการเมืองคือนายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และฝ่ายประจำคือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในฐานะของหัวหน้าผู้รับผิดชอบให้ทั้ง 2 คนเป็นผู้ประสานงานในการจัดการการยุติการชุมนุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย
เมื่อถามว่าคนเสื้อแดงเสนอให้เปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล และคืนอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชนทั้งหมด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อกลไกทุกอย่างเรียบร้อยก็จะสามารถดำเนินการได้ตามโรดแมป ข้อ 3
เท่าที่ทราบโรดแมปของนายกฯจะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ 111 คนและ 109 คนด้วย โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดเพื่อศึกษาถึงขั้นตอน และทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังเสียงประชาชน ซึ่งขณะนี้นายกฯกำลังทาบทามบุคคลที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่รัฐบาลจะไม่เอาผิดและจัดหารถให้เดินทางกลับบ้านด้วย แต่สำหรับแกนนำและผู้ชุมนุมบางส่วนที่เอาหมายจับ รัฐบาลจะต้องดำเนินคดีต่อไปตามกฎหมาย เนื่องจากทั้งคดีก่อการร้ายและคดีมุ่งร้ายต่อสถาบันทางดีเอสไอได้รับดำเนินการเป็นคดีพิเศษแล้ว
ปชป.เผยมาร์คเล็งคืนสิทธิ 111-109มีอดีตรมต.ทรท.ช่วยร่าง คาดยุบสภาหลังงบประมาณ-โยกย้ายเสร็จพอดี
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ปชป.เผยมาร์คเล็งคืนสิทธิ 111-109มีอดีตรมต.ทรท.ช่วยร่าง คาดยุบสภาหลังงบประมาณ-โยกย้ายเสร็จพอดี