รัฐบาลเตรียมประกาศโรดแมป หาทางออกวิกฤติการเมือง ร่นระยะเวลายุบสภาเหลือ 6 เดือน
รายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์แจ้งว่า สำหรับ แผนโรดแม๊ปของรัฐบาลเพื่อหาทางของวิกฤติประเทศในขณะนี้ พรรคร่วมรัฐบาลได้หารือกันแล้วเห็นตรงกันในเบื้องต้น
โดย 1.พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาสอบสวนเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าที่ของรัฐ กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 10 เม.ย. ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว และเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มคนเสื้อหลากสีกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรเวณแยกศาลาแดง รวมทั้งเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารกัลกลุ่มคนเสื้อแดง ที่บริเวณอนุสรณ์สถาน ดอนเมือง ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นั้นมีทั้งผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นของพรรคประชาธิปัตย์
2.พรรคภูมิใจไทยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการประสานงานร่วมกันระหว่างสมาชิดสภาแทนราษฎร เพื่อกำหนดวาระในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะให้อาสาสมัครออกรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน โดยยึดหลัก จงรักภักดี สุข สงบ สันติและสามัคี
3.พรรคร่วมรัฐบาลเสนอให้องค์กรที่เป็นกลางและได้รับการยอมรับจากสังคมเข้ามามีส่วนรวมด้วย อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณาจารย์มหาวิทยาลัย องค์กรภาคประชาชน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร
รายงานข่าวแจ้งว่า แผนโรดแมปดังกล่าวนี้ ในเบื้องต้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันเสาร์ที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้วางแนวทางไว้ว่า จะเริ่มดำเนินการเป็นรูปเป็นร่างได้โดยจะขับเคลื่อนในวันที่ 5 พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางจากเดิมที่วางไว้ว่าจะยุบสภาใน 9 เดือน มาเป็นยุบสภาภายใน 6 เดือน หรือภานในวันที่ 1 ต.ค. 53 เนื่องจาก เป็นช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสม ซึ่งก็เตรียมที่จะนำไปเจรจากับแกนนำ นปช.ต่อไป
สำหรับแผนโรดแมปของพรรคประชาธิปัตย์ที่เดิมเคยวางไว้ว่าจะใช้เวลา 9 เดือน ยุบสภานั้น
ถ้าการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช.ทั้ง 3 คนลงตัว เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีก็สามารถนำมติเข้าที่ประชุม ครม.ได้ ถ้าผ่านครม.นายกรัฐมนตรีจะเข้าพบประธานรัฐสภาเพื่อดำเนินการทำประชามติ และกฎหมายได้กำหนดว่าการทำประชามติต้องใช้เวลา 90-120 วัน โดยระยะเวลาที่สั้นที่สุดคือ 90 วันคือวันที่ 4 ก.ค.ทำประชามติวันที่ 11 ก.ค.ประกาศผลประชามติ วันที่ 13 ก.ค.สเนอให้ครม.พิจารณาว่าประเด็นใดที่ผ่านประชามติ
หลังจากเสนอให้ครม.พิจารณาแล้วก็จะเร่งนำร่างประชามติเข้าสู่ที่ประชุมสภาในวาระที่ 1 วันที่ 21 ก.ค.
แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนคือวันที่ 12 ก.ค.- 21 ก.ย. ถือเป็นกระบวนการทำประชาพิจารณ์และรับฟังความคิดเห็น และชั้นคณะกรรมาธิการของสภาและคาดว่าจะเข้าสู่วาระ 3 ในวันที่ 8 ต.ค. และวันที่ 30 ต.ค.จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คาดว่าจะประกาศยุบสภาได้ในวันที่ 6 ธ.ค. ถ้าประกาศยุบสภาแล้วรัฐบาลก็จะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ในการดำเนินการและสามารถเลือกตั้งใหม่ได้ในวันที่ 23 ม.ค.54 ซึ่งเงื่อนไขที่จะทำให้รัฐบาลสามารถประกาศนับหนึ่งได้ ก็ต่อเมื่อกลุ่มนปช.เจรจาลงตัว