ประวัติศาสตร์ กบฎ

รูปไม่เกี่ยวกับเนื้อหาค่ะ
















ประวัติศาสตร์ "กบฎ" (สารส้ม)

ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา การเมืองไทยได้เกิด "การกบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร" หลายครั้ง

1) กล่าวโดยรวบรัด เพื่อความเข้าใจง่ายๆ... การปฏิวัติหรือรัฐประหาร คือ การใช้กำลังอำนาจเข้าแย่งชิงอำนาจรัฐ เปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจรัฐในขณะนั้น

แต่ถ้าผู้ก่อการรัฐประหารครั้งใดล้มเหลว ก็จะกลายเป็น "กบฏ"

2) การเคลื่อนไหวของขบวนการเสื้อแดงของทักษิณในเวลานี้ เกินเลยไปไกล ยิ่งกว่าจะเป็นการชุมนุมเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตยทั่วไป

แกนนำเสื้อแดงสมุนทักษิณ ได้ประกาศถึงการ "สร้างรัฐไทยใหม่" อย่างชัดเจน ตั้งแต่วันเริ่มก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่นว่า "...ที่เรามาที่นี่ คือมาคิดการใหญ่ ไม่ใช่แค่มาเปิดรายการทีวีออกอากาศ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน เราคิดสร้างรัฐไทยขึ้นมาใหม่ รัฐไทยที่จะสร้างต้องสร้างด้วยมือคนเสื้อแดง ..."

แกนนำบางคน ถึงขนาดประกาศตัวว่า ขบวนการเสื้อแดงถึงพร้อมด้วย "แก้ว 3 ประการ" ซึ่งเป็น "ทฤษฎีปฏิวัติของคอมมิวนิสต์" ประกอบด้วย มวลชน พรรคการเมือง และกองกำลัง โดยยืนยันมั่นเหมาะว่า ขบวนการเสื้อแดงถึงพร้อมด้วยสิ่งเหล่านี้

และที่ผ่านมา ก็ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ว่า ได้มีกองกำลังติดอาวุธ ออกปฏิบัติการใช้อาวุธสงครามร้ายแรงสนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการเสื้อแดงไปอย่างคู่ขนาน

มีการโจมตี คุกคาม เข่นฆ่า ทำลายล้าง เป้าหมายที่เป็นฝ่ายตรงข้าม หรือไม่ยอมศิโรราปแก่กำลังอำนาจของขบวนการเสื้อแดงทักษิณ

3) แกนนำเสื้อแดงสมุนบางคนของทักษิณ เหมือนรู้ตัว!

ประกาศ ออกปาก ออกตัวไว้ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติการแล้วว่า งานนี้ ถ้าไม่สำเร็จ "ไม่ติดคุก ก็ตายเท่านั้น"

4) ในเมื่อแกนนำกล้าใช้ทฤษฎีปฏิวัติ (ถ้าไม่สำเร็จก็ต้องเป็นกบฎ)

และกล้าปฏิบัติการเยี่ยงกำลังทำสงครามปฏิวัติ ก็อย่าขี้ขลาด ตาขาว

ต้องพร้อมรับผลกรรมจากการกระทำของพวกตนเองด้วย!

อย่าเก่งแต่ปาก เก่งแต่เอาประชาชนเป็นโลห์ เป็นกำบัง เป็นเบี้ย

พอจวนตัว ก็ทิ้งประชาชน หนีหางจุกตูด

อย่าโกยแน่บ เอาตัวรอด เหมือนหัวหน้ากบฎที่สั่งลูกเมียหลบหนีไปตั้งหลักอยู่เมืองนอกก่อนหน้านี้แล้ว

5) ลองศึกษาประวัติศาสตร์ "กบฏ" อย่างย่นย่อ

ประมวลภาพคร่าวๆ ของ "กบฎ" ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะเห็นเหมือนกัน คือ การก่อกบฎทุกครั้ง ก็มักจะอ้างเหตุผลความชอบธรรมสารพัดอย่าง เพื่อหวังดึงประชาชนมาเป็นแนวร่วมให้ได้

และขึ้นต้นก็ฮึกเหิม เหมือนจะชนะ แต่สุดท้าย กลับกลายเป็น "กบฎ"!

เคยถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ก็ไม่ใช่น้อย

กบฎในอดีต เช่น

กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม 2476 คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้ง พ.ท.หลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ โดยมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน แต่รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ ในที่สุด หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต

กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481 นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอนรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง ในที่สุด รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ

กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนคร เพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือกับทหารอากาศ ในที่สุด จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และรัฐบาลดำเนินการปราบปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

กบฎ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญของราชการ คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี, กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์} กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ แต่ฝ่ายทหารของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ ในที่สุด พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2520

กบฎ 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา พันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ฯลฯ พยายามใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ขณะนั้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ แต่ความพยายามล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมา รัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏดังกล่าว

ประมวลข้อมูลจากบันทึกประวัติศาสตร์ ช่วยทำให้เห็นบทเรียน

เห็นว่า แกนนำเสื้อแดงสมุนทักษิณบางคน ก็เคยเป็น "กบฎแผ่นดิน" ในบางสมัยแท้ๆ เพียงแต่ได้รับอภัย กลับไม่สำนึกบุญคุณแผ่นดิน

วันนี้ นำมาบอก เพื่อเตือนสติ

ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ จะขยายความ "กบฎ" บางสมัย บางเหตุการณ์ที่น่าสนใจ

รวมถึง "กบฎร่วมสมัย" ครั้งนี้ด้วย

วันที่ 27/4/2010
ที่มาจากแนวหน้า

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์