หมายเหตุ - พรรคประชาธิปัตย์ยกร่าง "โรดแมป" ตารางเวลากระบวนการต่างๆ ก่อนยุบสภาภายใน 9 เดือน โดยผ่านความเห็นชอบจากแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว (ดูตาราง) ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ถึงผลการเจรจาที่ล้มเหลว ส่วนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)-แดงทั้งแผ่นดิน ออกแถลงการณ์ยืนยันข้อเสนอให้ยุบสภา และระดมพลครั้งที่ 3 เพื่อกดดันรัฐบาลต่อไป วัน กิจกรรม มาตราตามกฎหมาย 1-2 เม.ย. 53 พบประธานผู้แทนราษฏร/ประธานวุฒิสภา รธน.มาตรา 165 (1) วันออกเสียงประช่ามติ(ไม่น้อยกว่า90วัน) แต่ไม่เกิน 120 วันนับจากวันที่นายกฯ ประกาศ เมื่อ 5 เม.ย.53 หรือ 98 วันหลังวันที่นายกฯประกาศ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ มาตรา 6 รับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 291 ระยะเวลา 45 วัน กรรมาธิการพิจารณารายมาตรา วาระ 2 สภาพิจารณาวาระที่ 2 (3กิจกรรมรวมระยะเวลา 60 วัน) -------------------- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รัฐบาลใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการรับฟังข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมและฟังประชาชนทั่วไปที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป และพยายามเสนอทางออกที่คิดว่ามีเหตุผลรองรับชัดเจน แต่เป็นที่น่าเสียดาที่ข้อเสนอของตนได้รับการปฏิเสธอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. พยายามเปิดทางให้มีการพูดคุยในวันที่ 1 เมษายน แต่กลับมีการส่งสัญญาณมาให้ปิดช่องทาง รัฐบาลยืนยันจะพูดคุยกับผู้ชุมนุมเสมอ หากไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่กดดันหรือคุกคาม รัฐบาลจะบริหารสถานการณ์การชุมนุมให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดและเดินหน้าทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานในประเทศหรืองานต่างประเทศ หวังให้ประชาชนเข้าใจรัฐบาลว่าการพยายามตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และประนีประนอมแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง จึงมีความจำเป็นที่ต้องเดินหน้าในการทำงานและบริหารสถานการณ์การชุมนุมต่อไป ขอให้ทุกคนช่วยแสดงว่าประเทศนี้ต้องการทางออกที่ไม่ใช่เป็นเรื่องความต้องการของคนหนึ่งคนใด หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด - จะยุบสภาภายใน 9 เดือนตามที่เสนอกับแกนนำ นปช.หรือไม่ เมื่อข้อเสนอไม่ได้รับการตอบสนอง ก็ต้องกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่บอกว่าการยุบสภาขึ้นอยู่กับ 3 เงื่อนไขคือเศรษฐกิจ การแก้ไขกติกาที่เป็นที่ยอมรับและการบริหารให้บรรยากาศของบ้านเมืองมีลักษณะที่เอื้อต่อการเลือกตั้งที่สมประโยชน์กับทางออกของประเทศ - นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่าควรปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เพื่อเป็นทางออก ไม่มีข้อคิดเห็นที่แตกต่างเลยในเรื่องการปฏิรูปด้านต่างๆ เราไม่ได้พูดแต่เรื่องรัฐธรรมนูญ แต่อยากเอาทุกเรื่องที่เป็นปัญหามาวางและร่วมกันแก้ไข รัฐบาลพร้อมเดินหน้าปฏิรูป แต่การปฏิรูปจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน แต่ดูเหมือนคนเสื้อแดงไม่ยอมร่วมมือ แต่ตนจะไม่ละลดความพยายาม หากภาคส่วนอื่นๆ มาร่วมกันจะช่วยได้มาก - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยังใช้เวทีคนเสื้อแดงปลุกระดมประชาชน พ.ต.ท.ทักษิณมีวาระของตัวเอง และมันไม่ตรงกับวาระของประเทศและผลประโยชน์ส่วนรวม จึงต้องไปคนละทาง แต่ผู้ชุมนุมซึ่งมีข้อเรียกร้องที่มีเหตุผลและไม่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เราก็รับฟัง แต่อย่าให้ไปเป็นเหยื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณที่มีวาระส่วนตัว -------------------- นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. (ขึ้นเวทีอ่านแถลงการณ์ นปช. ฉบับที่ 5) การที่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธที่จะยุบสภาตามข้อเสนอของแกนนำ นปช. เพราะมีเหตุผลต้องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ต้องการสร้างบรรยากาศที่ดี ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างกฎกติกาในการเลือกตั้ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา ทำให้เห็นว่ามีความไม่จริงใจ รัฐบาลนี้ไม่ต้องการยุติความแตกแยกกว้างขว้างมากขึ้นที่มาจากยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการหาประโยชน์จากงบประมาณมหาศาล และนายอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบความเสียหายจะเกิดขึ้นตามมา คนเสื้อแดงพร้อมจะเดินหน้าต่อสู้รับบาลอำมาตย์จนกว่าจะได้รับชัยชนะในที่สุด เน้นสันติวิธี อหิงสา ปราศจากอาวุธ ขอให้เสื้อแดงร่วมกันใจร่วมพลังกันที่สะพานผ่านฟ้าทั้งประเทศจนกว่าบรรลุผล ขอให้คนเสื้อแดงทั่วประเทศที่มีกว่า 20 ล้านคน มารวมพลังกันที่สะพานผ่านฟ้า และยืนหยัดต่อสู้พร้อมกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ -------------------- นายจตุพร พรหมพันธุ์ รองประธาน นปช. ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ กล่าวหาว่าได้รับโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณสั่งการให้ยุติการเจรจา ผมรับโทรศัพท์ 1 ครั้งจากนายณัฐวุฒิ ที่แจ้งว่าหากรัฐบาลไม่รับข้อเสนอก็ให้ปิดเกมไม่ให้เดินตามเกมของนายอภิสิทธิ์ จากนั้นตนจึงเขียนโน้ตถึงนายวีระ เพื่อปิดการเจรจา ที่ประชุมแกนมีมติให้ระดมผู้ชุมนุมมาชุมนุมใหญ่เป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 3 เมษายน เพื่อยกระดับการชุมนุมไปอีกขั้นหนึ่ง ส่วนแนวทางการเคลื่อนไหวจะเปลี่ยนแปลงไปและเข้มข้นขึ้น แต่จะยึดวิธีสงบ สันติ อหิงสา โดยจะมีการแจ้งให้ทราบก่อนเคลื่อนขบวน ทั้งนี้ ในการประชุมสภาวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน หากรัฐบาลนำทหาร ลวดหนาม และแท่งคอนกรีต มาปิดกั้นรอบรัฐสภาอีก กลุ่มคนเสื้อแดงจะถือเป็นภารกิจในการเคลื่อนขบวนไปรื้อถอนทันที นอกจากนี้การที่นำกำลังทหารไปไว้ที่วัด อยากฝากเตือนว่าสั่งให้ทหารกลับกรมกอง หากยังไม่ดำเนินการ กลุ่ม นปช.จะเดินไปเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารเหมือนที่ผ่านมา โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า -------------------- นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษก นปช. มีเอกสารของรัฐบาลที่สั่งการสื่อโทรทัศน์ช่องต่างๆ ไม่ให้เสนอข่าวของกลุ่ม นปช. ฉบับแรกเป็นหนังสือด่วนที่สุดของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ถึงช่อง 3 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ส่วนฉบับที่ 2 เป็นหนังสือจากกรมกิจการพลเรือนทหารบก ถึงผู้อำนวยการโมเดิร์นไนน์ทีวี เพื่อขอให้ประชาสัมพันธ์อักษรตัววิ่งที่มีเนื้อหาเข้าข้างรัฐบาลและใส่ร้ายกลุ่มเสื้อแดง ฉบับที่ 3 เป็นหนังสือจากศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก ถึงช่อง 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ขอให้พิจารณาการเผยแพร่ภาพข่าวการเทเลือดที่ทำเนียบรัฐบาล ฉบับที่ 4 เป็นของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ทำหนังสือถึงช่อง 3 เพื่อขอให้เผยแพร่ตัวอักษรวิ่ง และฉบับที่ 5 เป็นหนังสือจาก ศอ.รส. ห้ามโทรทัศน์ทุกช่องห้ามใช้คำว่าสงครามระหว่างชนชั้น คำว่าไพร่และอำมาตย์ รวมถึงห้ามรายงานจำนวนผู้ชุมนุม ห้ามออกข่าวทำนองเชิญชวนคนมาร่วมชุมนุม การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแทรกแซงสื่อ พฤติกรรมเช่นนี้มีเฉพาะรัฐทหาร และรัฐบาลเผด็จการเท่านั้น30 มี.ค. 53 ครม.พิจารณาการออกเสียงประชามติ รธน.มาตรา 165 5 เม.ย. 53 นายกฯ ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประชามติ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ มาตรา5 11 ก.ค. 53 19 ก.ค. 53 ประกาศผลประชามติ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ มาตรา 35 20 ก.ค. 53 นำผลประชามติเสนอ ครม. เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ รธน.มาตรา 291 23 ก.ค. 53 สลค.ส่งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไปสภา 28 ก.ค. 53 สภาพิจารณาวาระที่ 1 30 ก.ย. 53 1-15 ต.ค. 53 รอ 15 วัน รธน. มาตรา 291 16 ต.ค. 53 สภาพิจารณาวาระ 3 18 ต.ค. 53 สภาส่ง สลค. 20 ต.ค. 53 สลค.ส่งสำนักราชเลขาธิการ 20 พ.ย. 53 ลงประกาศรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขในราชกิจจานุเบกษา 21 พ.ย. 53 ออก พ.ร.ฎ.ยุบสภา รธน. มาตรา 108 5-20 ม.ค. 54 เลือกตั้งใหม่ ไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน รธน. มาตรา 108
เปิดโรดแมปยุบสภา9เดือน มาร์คเสียดายถูกปฏิเสธ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง เปิดโรดแมปยุบสภา9เดือน มาร์คเสียดายถูกปฏิเสธ