แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผย"มติชนออนไลน์"เมื่อวันที่ 30 มีนาคมถึงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การยุบสภาว่า ทางพรรคร่วมรัฐบาลได้มีการหารือร่วมกันถึงตารางเวลาในการเตรียมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การยุบสภาเสร็จเรียบรี้อยแล้ว ถ้าการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)สามารถตลงกันกันได้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เตรียมที่จะเสนอตารางเวลาดังกล่าวให้ฝ่าย นปช.พิจารณา
แต่ปรากฏว่า ทางนปช.ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว ตารางเวลาดังกล่าวจึงยังมิได้มีการเสนอต่อวงเจรจา
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับ ตารางเวลาที่รัฐบาลเตรียมเสนอในการเจรจามีดังกล่าว มีดังนี้
1.วันที่ 30 มีนาคม 2553 นำเสนอประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อลงประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165(1)ซึ่งระบุว่า ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้
รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นดังกล่าวได้
1. ที่มาของส.ส.มาตรา 93-98
2. ปรับปรุงที่มาของส.ว.มาตรา 111-121
3. เพิ่มเติมอำนาจในการกำหนดและทบทวนประเภทของหนังสือสัญญาที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภามาตรา 190
4. ปรับปรุงบทลงโทษยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมือง มาตรา 237
5. ปรับปรุง เรื่องการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของส.ส.มาตรา 265
และ 6. ปรับปรุงเรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของส.ส.และส.ว.ผ่านทางส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ มาตรา 266 ( 1 )
2.วันที่ 1-2 เมษายน 2553 เข้าพบประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อแจ้งเรื่องมติคณะรัฐมนตรีให้ทราบว่า จะมีการทำประชามติ
3.วันที่ 5 เมษายน 2553 ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาห้มีการทำประชามติ
4. วันที่ 11 กรกฎาคม 2553 วันลงประชามติว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นหรือไม่
5. วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 แจ้งผลการลงประชามติให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอรต่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภาตามมาตรา 291
6.วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระหนึ่ง(รับหลักการ)
7.วันที่ 16 ตุลาคม 2553 คาดว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านรัฐสภา
8. วันที่ 20 พฤศจืกายน 2553 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข
9.วันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา
10.เดือนมกราคม 2554 มีการเลือกตั้ง