"หญิงอ้อ" ยื่นคำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ ทนายมั่นใจรอดแน่ย้ำทรัพย์สินอดีตสามีได้มาก่อนเป้นนายกฯ ระบุการโอนทรัพย์ให้ "โอ๊ค" มีการชำระค่าหุ้นกันจริงเหตุที่ขายให้ถูกเพราะเป็นญาติกันขายต่ำกว่าราคาไม่ผิด ซัด "แก้วสรร" ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น โยนเศรษฐีดูไบเป็นเจ้าของวินมาร์ค เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมพร พงษ์สุวรรณ ทนายความคุณพจมาน ณ ป้อมเพชร ประเด็นที่อัยการสูงสุดผู้ร้อง กล่าวหาว่า คุณหญิงพจมานผู้คัดค้านที่ 1 และ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ยังคงถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป ผ่านบุตร ญาติ พี่น้อง นั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ได้นำนายพานทองแท้ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ให้การยืนยันชัดเจนว่าหุ้นชินคอร์ปของผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาโดยสุจริตมาตั้งแต่ปี 2526 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยการซื้อจากการเพิ่มทุน กระทั่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 มีหุ้นอยู่ 69,300,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาทและได้ขายให้กับนายพานทองแท้ และนายบรรณพจน์ โดยได้ทำการโอนขายอย่างถูกกฎหมาย มีเจตนาในการซื้อขายหุ้นกันจริง และมีการชำระค่าหุ้นกันจริง จึงได้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้รับโอนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)แล้ว ส่วนคำเบิกความของนายแก้วสรร อติโพธิ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั้นเป็นพยานที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ข้อเท็จจริงจึงรับฟ้องได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนขายหุ้นชินคอร์ปให้นายพานทองแท้และนายบรรณพจน์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543 จึงไม่มีพฤติการณ์คงไว้ซึ่งหุ้นชินคอร์ปตามที่ อสส. และ คตส. กล่าวหา และเป็นการวินิจฉัยที่ขัดต่อพยานที่ได้จากการไต่สวนของศาลฎีกาฯ ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพยานของศาลฎีการับฟังได้ว่า นายพานทองแท้ ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่เป็นหนี้ผู้คัดค้าน จำนวน 5,056,348,840 ล้านบาทตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 4 ฉบับ คือ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินค่าซื้อหุ้นชินคอร์ป 424,750,000 บาท หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินค่าซื้อหุ้นชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) 37,249,340 บาท หนี้ค่าซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 4,500,000,000 บาท หนี้ค่าซื้อหุ้นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 94,459,000 ล้านบาท ส่วนคำให้การของนายแก้วสรร พยานฝ่ายผู้ร้องให้การเกี่ยวกับการชำระหนี้ข้างต้นโดยไม่มีพยานหลักฐาน การที่ผู้ร้องกล่าวหาประเด็นนี้ จึงไม่เป็นความจริงและขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนอย่างชัดเจน ผู้คัดค้านขอชี้แจงว่า การขายหุ้นระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับนายพานทองแท้ เป็นการซื้อขายกันในฐานะทายาท ซึ่งเป็นบุตรคนโตที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้สืบทอดธุรกิจที่ได้สร้างมาด้วยนำพักน้ำแรงของครอบครัว เพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาเข้าทำงานการเมืองอย่างเต็มที่ จึงได้ขายหุ้นให้นายพานทองแท้ในราคาทุน และสอนให้ลูกรู้คุณค่าของทรัพย์สินว่าการทำธุรกิจไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ โดยการซื้อขายระหว่างแม่กับลูก ไม่ได้พิจารณาว่าหุ้นจะมีราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาตลาด สรุปแม้นายพานทองแท้จะได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นก็เป็นเรื่องของความเป็นแม่กับลูก ที่เอื้ออาทรมากกว่าบุคคลทั่วไป รวมทั้งกรณีที่ขายหุ้นให้กับนายบรรณพจน์ ที่ได้ร่วมก่อตั้งบ.ชินคอร์ปฯ และช่วยเหลือเกื้อกูลมาตั้งแต่เด็ก ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างพยานผู้คัดค้านที่ 1 ข้อกล่าวหาผู้ร้องจึงเป็นเพียงการคาดเดาลอยๆ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้นำพยาน เข้าเบิกความยืนยันอย่างชัดเจนว่า การประชุมผู้ถือหุ้นของ บ.ชินคอร์ปฯ นายพานทองแท้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น.ส.พินทองทา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ปรับรู้และมอบแนทะให้ผู้รับมอบเข้าร่วมประชุมแทนทุกครั้ง และเป็นแนวทางปฎิบัติมาตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ถือหุ้นชินคอร์ปฯมาตั้งแต่ปี 2526 – 2543 เพราะบ.ชินคอร์ปฯ มีผู้บริหารมืออาชีพและผู้ชำนาญการพิเศษบริหารอยู่แล้ว ส่วนการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับเทมาเส็ก นั้นผู้คัดค้านที่ 1 ได้นำพยานเบิกความไว้อย่างชัดเจนถึงมูลเหตุในการขายหุ้น โดยมอบหมายให้นายบรรณพจน์ เป็นตัวแทนในการขายหุ้น ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นชินคอร์ปฯทุกคนได้รับรู้และตกลงในเงื่อนไขการขายหุ้นร่วมกัน ข้กล่าวหาของผู้ร้องจึงขัดต่อข้อเท็จจริงและพยานในการไต่สวนของศาลฎีกาอย่างสิ้นเชิง ยืนยันว่า เงินที่ น.ส.พินทองทา นำไปซื้อหุ้น เป็นเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ให้ น.ส.พินทองทา เนื่องในวันเกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 จำนวน 370,000,000 ล้านบาท ซึ่ง น.ส.พินทองทา เบิกความต่อศาลยืนยันว่าประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้ไปลงทุนใน บ.ชินคอร์ป นายพานทองแท้ จึงตกลงแบ่งขายหุ้นชินคอร์ปจำนวน 367,000,000 หุ้น คิดเป็นเงิน 367,000,000 บาทเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 และได้จดแจ้งการโอนหุ้นต่อบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และได้แจ้งการได้มาซึ่งหุ้น และการจำหน่ายไป ต่อสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กรณีจึงรับฟังได้อย่างชัดเจนว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของ น.ส.พินทองทา และนายพานทองแท้ นำไปชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินกับผู้คัดค้านที่ 1 มิใช้เป็นการคืนเงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีมูลหนี้ตามข้อกล่าวหาแต่อย่างใด และหากจะถือหุ้นแทนบิดามารดาจริง นายพานทองแท้ถือเพียงคนเดียวก็ได้ไม่ต้องยุ่งยาก มีพยานเอกสารของนายมาห์มู๊ด โมฮัมหมัด อัล อันซารี ซึ่งเป็นคำชี้แจ้งโดยรับรองจากศาลดูไบ ยืนยันว่า นายมาห์มู๊ด เป็นเจ้าของ บ.วินมาร์คที่แท้จริงเพียงผู้เดียว และได้ซื้อหุ้นกลุ่มบริษัทของครอบครัวชินวัตรที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ในปี 2543 และได้รับการโอนหุ้นมาจากะนาคาร UBS AG สาขาสิงคโปร์ในปี 2544 บ.วินมาร์คจึงไม่ได้เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกร้องและผู้คัดค้านที่ 1 และ น.ส.พินทองทา ไม่เคยส่งเงินปันผลคืนให้กับผู้คัดค้านที่ 1 โดย น.ส.พินทองทา เบิกความว่า นำไปฝากในบัญชีและนำไปใช้สอย
อดีตภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งศาลฎีกาฯนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 13.30 น. โดยนายสมพรกล่าวว่า ได้ยืนแถลงปิดคดีทั้งหมด 16 ประเด็น เป็นการหักล้างข้อกล่าวหาของผู้ร้องและประเด็นนำสืบต่างๆ โดยมั่นใจในพยานหลักฐานที่ได้นำสืบในชั้นไต่สวนของศาลฎีกามีน้ำหนักเพียงพอให้ศาลวินิจฉัย ทั้งประเด็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องขอให้ยึดทรัพย์คุณหญิงพจมาน จำนวนกว่า 1 พันล้านบาทเศษ ซึ่งประกอบด้วย เงินสด เงินฝาก และพันธบัตรนั้นเป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปถูกต้องตามกฎหมาย
ตามคำแถลงปิดคดีของคุณหญิงพจมาน สรุปว่า
ประเด็นข้อกล่าวหาที่ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับชำระเงินจากนายพานทองแท้ เกินกว่ามูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้น และนายพานทองแท้ได้คืนเงินปันผลที่นายพานทองแท้ได้รับจากชินคอร์ปนั้น
ประเด็นที่ผู้ร้องกล่าวหาว่าผู้คัดค้านที่ 1 ขายหุ้นให้กับนายพานทองแท้และนายบรรณพจน์ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงราคาหุ้นละ 15 เท่า นั้น
ประเด็นที่กล่าวหาว่าผู้มีชื่อทั้งปวงยกเว้นนายบรรณพจน์ ไม่เคยรู้เห็นร่วมประชุมเจรจาขายหุ้นให้กลุ่มกองทุนเทมาเส็กนั้น ในชั้นไต่สวนของศาลฎีกาฯ
ประเด็นกล่าวหาที่ว่าหุ้นในชื่อ น.ส.พินทองทา ซื้อจากนายพานทองแท้ กลับนำเช็คของผู้คัดค้านที่ 1 ไปชำระให้นายพานทองแท้ และโอนเงินดังกล่าวกลับเข้าบัญชีของผู้คัดค้านที่ 1 นั้น
ในประเด็นข้อกล่าวหาที่ว่าเงินปันผลที่ น.ส.พินทองทา ได้รับจาก บ.ชินคอร์ปฯ แล้วส่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 485,829,800 โดยทำเป็นจ่ายค่าซื้อหุ้น บ.อสังหาริมทรัพย์ 5 บริษัท จาก บ.วินมาร์ค จำกัด โดยใช้ชื่อ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ถือหุ้นแทนผู้คัดค้านที่ 1 นั้น
หญิงอ้อยื่นคำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ โยนเศรษฐีดูไบเป็นเจ้าของวินมาร์ค
ประเด็นที่ว่า ผู้มีชื่อทั้งปวงไม่ได้รับเช็คค่าเงินปันผลหุ้นชินคอร์ปด้วยตัวเองแต่กลับนำเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 1 มาโดยตลอด นั้น
บุตรชาย บุตรสาว น้องสะใภ้ และพี่ชายบุญธรรม ซึ่งเป้นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้น ได้เบิกความประกับเอกสารยืนยันว่าเป็นผู้รับเงินปันผลทุกครั้ง ไม่เคยส่งคืนแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ข้อกล่าวหาของผู้ร้องจึงคลาดเคลื่อน เนื่องจากเป็นการคาดเดาลอยๆ
ประเด็นที่ว่าพฤติการณ์ถือหุ้นชินคอร์ป โดยใช้ชื่อนายบรรณพจน์ จำนวน 38,090,050 หุ้น ถือแทน ได้จากการใช้สิทธิเพิ่มทุนเมื่อปี 2542 โดยใช้เงินผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าหุ้นโดยนายบรรณพจน์ ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แต่ไม่เคยมีการชำระเงิน นั้น
นายบรรณพจน์ ให้การว่า นายบรรณพจน์ได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนเอง แต่ไม่มีเงินเพียงพอ จึงได้ขอยืมเงินจากผู้คัดค้านที่ 1 และได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 จำนวน 102,135,225 บาท ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่นายบรรณพจน์ ออกเพื่อชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จากหนี้รวม 450,385,225 บาท
ประเด็นที่กล่าวหาว่าหุ้นในชื่อนายบรรณพจน์ ได้รับเงินปันผล 1,746,831258 บาท และส่งคืนผู้คัดค้านที่ 1 จนครบ 450,385,225 บาท เก็บเงินปันผลที่เหลือ 1,296,446,033 บาท ไว้ในบัญชีนายบรรณพจน์ตลอดมานั้น
ขอชี้แจงว่า หุ้นชินคอร์ป เป็นของนายบรรณพจน์ ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือให้ถือแทน ส่วนเงิน 450,385,225 บาท นั้น นายบรรณพจน์ชำระตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้ค่าซื้อหุ้น ซึ่งเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริง
ประเด็นที่กล่าวหาว่า ในวันที่ 23 มกราคม 2549 ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้รวมหุ้นทั้งหมดขายให้เทมาเส็กในนามของนายบรรณพจน์ได้เงิน 17,709,802,575 แล้วเงินปันผลที่เหลือทั้งหมดกับเงินค่าหุ้นมาฝากไว้ในบัญชีนายบรรณพจน์ ก่อนทยอยโอนไปยังผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 นั้น
ปราศจากความเป็นจริงไม่ขายรับฟังได้ เพราะการขายหุ้นชินฯ นายบรรณพจน์ เป้นผู้รวบรวมตกลงซื้อขาย ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเงินที่ได้จากการขายหุ้นได้นำฝากเข้าบัญชีผู้มีกรรมสิทธิ์ในหุ้นทุกคน เมื่อนายบรรณพจน์ได้เงินแล้วจึงบริหารจัดการ โดยเฉลี่ยความเสี่ยงในการฝากเงิน และเบ่งลงทุนในกิจการส่วนตัว ไม่มีเงินส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 1
ประเด็นกล่าวหาของนายแก้วสรร ที่ว่า คตส.ไม่คิดเรื่องยึดทรัพย์ แต่เมื่อตรวจสอบเรื่องหุ้นชินคอร์ป ได้พยานหลักฐานจากนางกาญจนาภา เป็นเอกสารใบรับฝากหุ้นชินคอร์ปของแอมเพิลริช เอาไปให้ธนาคายูเอสบี ดูแลออกใหบรับฝากหุ้น ปรากฎผู้มีอำนาจลงนามคือ ที-ชินวัตร นั้น
คำให้การของนายแก้วสรร แสดงให้เห็นทัศนคติความเป็นปฎิปักษ์ ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 ครอบครัวและญาติ สะท้อนให้เห้นถึงมาตรฐานการดำเนินคดีร่ำรวยผิดปกติของ คตส.ที่ไม่ใช้หลักยุติธรรม แต่ใช้การคาดเดา เพราะเอกสารดังกล่าวนางกาญจนาภา เจตนาส่งให้ คตส.เพื่อชี้ให้เห็นว่า บ.แอมเพิลริช ที่ผู้ถูกกล่าวหาตั้งขึ้นและมีอำนาจลงนามต่อธนาคารยูบีเอส ในปี 2542 ซึ่งปรากฎจากการไต่สวนของศาลฎีกาแล้วว่า ผู้ถูกล่าวหาได้โอนขายหุ้นแอมเพิลริชให้กับบุตรชาย 1 หุ้น ราคา 1 เหรียญ ซึ่งเป็นหุ้นทั้งหมดในวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่มีสิทธิในบ.แอมเพิลริช เป็นการใช้ทฤษฎีวัวของนายแก้วสรรที่ก่อตั้งขึ้นมาเอง
ในประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คัด้านที่ 1 ท้ายคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติหรือร่ำรวยผิดปกตินั้น ผู้คัดค้านที่ 1
ขอเรียนว่า เป็นทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหาได้ยื่นไว้ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อปี 2544-2550 ในฐานะคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ และเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ได้เป็นทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่
ประเด็นกล่าวหาว่าแม้ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ถือว่าการกระทำของคู่สมรสเป็นการกระทำของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้เห็นโดยตลอดจึงเป็นทรัพย์เกี่ยวข้อง ขอให้ยึดเงินจากการขายหุ้นจำนวน 70,864,879,416 บาท และเงินปันผลจำนวน 7,011,716,983 บาท นั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 กราบเรียนว่า หุ้นชินคอร์ปฯนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาและถือครองมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2543 จึงได้โอนขายให้แก่นายพานทองแท้และนายบรรณพจน์ จำนวน 69,300,000 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 10 บาท ไม่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 1 ได้ให้การไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่เคยเห็นด้วยกับการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองของผู้ถูกกล่าวหา นอกจากนี้พยานในชั้นไต่สวนของศาลฎีการับฟังเป็นที่ยุติว่า หุ้นชินคอร์ป มีราคาขึ้นลงสอดคล้องกับดัชนี ตลท. ตามสภาวเศรษฐกิจตามปกติ ที่ผู้ร้องอ้างว่าหุ้นชินคอร์ปมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการปฎิบัติหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา จึงขัดต่อพยานหลักฐาน
การที่ผู้ร้องขอให้ยึดเงินจากการขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเส็ก จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับหุ้นดังกล่าวไม่ใช้หุ้นของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 กรณีจึงไม่สามารถยึดเงินดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นได้กฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ยกคำร้องและมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทนายความของ นายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ในฐานะผู้คัดค้านที่ 2 และ 3 จะเข้ายื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลฎีกาเช่นกัน ส่วนนายบรรณพจน์ ได้ยื่นคำแถลงปิดคดีไปแล้วเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน นายวิโรจน์ ศรีดุษฎี คณะทำงานอัยการคดียึดทรัพย์ ยื่นคำแถลงปิดคดี จำนวน 121 หน้า รายละเอียดส่วนใหญ่เป็นการสรุปประเด็นการเบิกความของพยานปากสำคัญในชั้นไต่ สวน ส่วนรายละเอียดอื่นไม่สามารถเปิดเผย