แกะรอยสัมพันธ์ลึกทักษิณ-กลุ่มสามารถฯทุนใหญ่ไทยรักไทยแน่นปึ ๊กในฐานะผู้บริจาคสนับสนุนพรรครายใหญ่และ
ในฐานะเอกชนผู้รับงานรับเหมาะติดตั้งระบบซอฟแวร์ ระบบสื่อสาร ไขปริศนา "สายลับศิวรักษ์" เหยื่อ หรือ ปาหี่ลวงโลก ?
ประเด็นร้อนทางการเมืองระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 คือกรณีนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรหน่วยจราจรทางอากาศบริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิสเซส (CATS) บริษัทลูกของบริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถูกทางการกัมพูชาจับกุมในข้อหาจารกรรมข้อมูลตารางเที่ยวบินการเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งเดินทางไปบรรยายในฐานะที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของนายฮุน เซน ผู้นำกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552
กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องบานปลาย เมื่อฝ่ายไทยพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปล่อยตัวนายศิวรักษ์ โดยอ้างว่าข้อมูลตารางการบินเป็นข้อมูลเปิดเผยและนายศิวรักษ์ไม่มีส่วนเกี่ย วข้อง พร้อมส่งเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศประสานช่วยเหลือทุกวิถีทาง
ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยส่วนหนึ่งซึ่งเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณที่กรุงพนมเปญออกมาชื่นชมการกระทำของรัฐบาลกัมพูชาว่าถูกต้องแล ้ว เนื่องจากพฤติกรรมของนายศิวรักษ์เข้าข่ายจารกรรมความลับและกระทบความปลอดภัย ของ พ.ต.ท.ทักษิณโดยตรง
มินำซ้ำเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ออกมาโหมไฟว่า ทางการกัมพูชามีเทปลัปการสนทนาระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับ เลขานุการเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา โดยเนื้อหาเป็นลักษณะสั่งการให้จัดหาและส่งตารางบินและกำหนดการต่างๆของ พ.ต.ท.ทักษิณ และ เทปบันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์ ระหว่างเลขานุการเอกอัครราชทูตไทยและนายศิวรักษ์ เรื่องสั่งให้หาตารางบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ
และจินตนาการต่อว่าการกระทำดังกล่าวสอดคล้องกับการเคลื่อนเครื่องบินขับไล่เ อฟ 16 ไปไว้ที่สนามบินอู่ตะเภาที่สามารถบินเข้าสู่เมืองเสียมเรียบของกัมพูชาได้ภา ยใน 20 นาทีซึ่งเป็นระยะหวังผล
ก่อนตบท้ายด้วยความเป็นห่วงเจ้านายว่า "อย่างนี้จะฆาตกรรมกันชัดๆ"
ในช่วงเวลาเดียวกันมีรายงานข่าวว่ารัฐบาลกัมพูชาได้แต่งตั้งผู้แทนของสำนักน ายกรัฐมนตรีเข้าไปควบคุมกิจการบริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นการชั่วคราว และไม่อนุญาตให้พนักงานชาวไทยเข้าปฏิบัติหน้าที่ในบริษัท แคมโบเดียฯ
ขณะที่นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนว่า กำลังประสานให้กระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบข้อเท็จจริงและช่วยเจรจากับรัฐบา ลกัมพูชาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ เชื่อว่าจะได้รับข่าวดีเร็วๆนี้
ทว่านายกษิต ภิรมย์ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชาปฏิเสธว่าไม่มีเทปลับใดๆ
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทำนองว่า เรื่องนี้เป็นการจัดฉากของรัฐบาลกัมพูชากับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วให้ พ.ต.ท.ทักษิณแสดงบทยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือครอบครัวของนายศิวรักษ์ เพื่อกู้ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ดูดีขึ้นหลังจากตกต่ำอย่างหนักกรณีรับเป็นที่ปรึกษาให้นายฮุน เซน ผู้นำกัมพูชาซึ่งมีภาพลักษณ์ไม่ดีในสายตาคนไทย และกรณีให้สัมภาษณ์ TIMESONLINE จาบจ้วงสถาบัน
พร้อมกับมีกระแสข่าวสะพัดทำนองว่าครอบครัวนายศิวรักษ์รู้จักและชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่านายศิวรักษ์จะตกเป็น"เหยื่อ"ทางการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่?
มีข้อมูลชิ้นหนึ่งน่าสนใจ
นั่นคือ คอนเนกชั่นระหว่างตระกูลวิไลลักษณ์เจ้าของกลุ่มสามารถฯกับ พ.ต.ท.ทักษิณ
เมื่อครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯ ในช่วงกลางปี 2548 ตระกูลวิไลลักษณ์จัดงานเลี้ยงครบรอบก่อตั้งบริษัทบริษัทสามารถฯอย่างยิ่งใหญ ่
ครั้งนั้นอดีตนายกฯได้ยกคณะผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ป (ขณะยังไม่ได้ขายให้กลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์) ไปร่วมแสดงความยินดีกับตระกูลวิไลลักษณ์ถึงสำนักงานใหญ่ของกลุ่มสามารถฯ
ไม่เพียงเท่านั้นถ้าเปิดบัญชีรายชื่อผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองของคณะกรร มการการเลือกตั้ง (กกต.) จะพบบริษัทในกลุ่มสามารถฯแทงหวยพรรคไทยรักไทยต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 - ปี 2548
เฉพาะปี 2544 มีการบริจาคอย่างน้อย 3 ครั้ง
ครั้งแรกวันที่ 3 มกราคม 2544 (เลือกตั้งทั่วไปวันที่ 6 มกราคม 2544 ) ในนามบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) จำนวน 500,000 บาท ครั้งที่สองวันที่ 8 มกราคม 2544 ในนามบริษัท วิไลลักษณ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 500,000 บาท และครั้งที่ 3 บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) จำนวน 500,000 บาท รวม 3 ครั้ง 1,500,000 บาท
ในห้วงเวลาเดียวกับที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (นามสกุลขณะนั้น) ควักเงินก้อนแรกให้พรรคไทยรักไทย จำนวน 60 ล้านบาท
ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 บริษัท วิไลลักษณ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด ของตระกูลวิไลลักษณ์ บริจาคให้พรรคไทยรักไทยอย่งน้อย 1 ครั้ง
แต่มากถึง 10 ล้านบาท (ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม 254
คราวเดียวกับบริษัท เลควูดเรียลเอสเตท จำกัดของเสี่ยเป้า-ประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าพ่อเนสกาแฟ บริจาคให้ถึง 70 ล้านบาท
มากกว่าคุณหญิงพจมานซึ่งบริจาค 50 ล้านบาท
ข้อมูลที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ต่อเนื่องไปจนถึงยุคนายสมัคร สุนทรเวช และ ยุคนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ บริษัทในเครือสามารถฯคว้างานรับเหมาะติดตั้งระบบซอฟแวร์ ระบบสื่อสาร เช่าพื้นที่ในหน่วยงานของรัฐกว่า 400 สัญญา มูลค่านับหมื่นล้านบาท
โปรเจ็กต์ลอตใหญ่ อาทิ ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ในกระทรวงยุติธรรม วันที่ 29 สิงหาคม 2548 จำนวน 177.7 ล้านบาท , วันที่ 30 กันยายน 2547 จำนวน 145.2 ล้านบาท , วันที่ 30 กันยายน 2547 (สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร) จำนวน 103.9 ล้านบาท , วันที่ 28 กันยายน 2549 จำนวน 118.3 ล้านบาท ,วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 จำนวน 158.9 ล้านบาท , วางระบบเครือข่ายการสื่อสารหลักของกระทรวงกลาโหมกระทรวงกลาโหม วันที่ 24 มีนาคม 2551 จำนวน 739.9 ล้านบาท
,เครื่องมือสื่อสารพร้อมการติดตั้งโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบสื่อสารของ กระทรวงมหาดไทย วันที่ 16 สิงหาคม 2547 จำนวน 699.2 ล้านบาท เป็นต้น
ถึงกระนั้น ไม่ว่านายศิวรักษ์จะตกเป็น"เหยื่อ"ทางการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ ?
แต่จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับคนกันเองล้วนๆ
และอย่าได้แปลกใจที่ผู้บริหารกลุ่มสามารถฯ แม้กระทั่งครอบครัวนายศิวรักษ์ไม่เคยกล่าวพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ (ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยระบุว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องนี้) แม้แต่น้อย? !!
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจากประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แกะรอยสัมพันธ์ลึกทักษิณ-กลุ่มสามารถฯ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!