เมื่อวันที่ 24 ต.ค. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย
แถลงเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งทบทวนการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เนื่องจากมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 ที่นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากพรรคภูมิใจไทยเสนอต่อครม.มีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่สัญญาของรัฐที่เป็นเอกชนให้ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเป็นเงิน 5,896 ล้านบาท โดยผลการประกวดราคาในสัญญาก่อสร้าง 1 -3 มีกลุ่มบริษัท ช. การช่าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) และกลุ่มบริษัท PAR (แอสคอน, เพาเวอร์ไลน์, รวมนครก่อสร้าง) โดยสัญญาที่ 1 โครงสร้างทางยกระดับตะวันออกจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กม.ได้เห็นชอบประกวดราคาแล้ว โดยJICA ที่เป็นแหล่งเงินกู้จากญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นชอบก่อนเสนอต่อ ครม.ตามข้อตกลงไปแล้ว แต่สัญญาที่ 2 โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตกระยะทาง 11 กม.และ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถอJICA ยังไม่ให้ความเห็นชอบ แต่นายโสภณ ก็ใจกล้านำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ให้อนุมัติ
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า
นอกจากนี้ผลจากมติ ครม.พบว่ามุ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนที่เป็นคู่สัญญาคือ กลุ่มบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ที่เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 1, 2 และ 3 โดยมีการนำวงเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีตั้งเผื่อเอาไว้เนื่องจากยังไม่ทราบแหล่งเงินกู้และวงเงินสำรองจ่ายที่กันไว้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ในกรณีที่มีงานเพิ่มในระหว่างสัญญา ไปรวมกับค่าจ้างในสัญญาที่ 1 และ 2 ทั้งที่ตามระเบียบเงินกู้ระหว่างประเทศจะไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
“นอกจากนี้ยังปรับลดวงเงินของสัญญาที่ 6 ซึ่งเป็นงานวางระบบรางแล้วนำวงเงินที่ปรับลดไปเพิ่มให้กับสัญญาที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน โดยเฉพาะคือบริษัท ซิโน-ไทยฯ ที่กรรมการบริหารบริษัทและผู้ถือหุ้นเป็นเครือญาติของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย จึงขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งทบทวนโครงการดังกล่าว ส่วนพรรคเพื่อไทยจะติดตามการทำงานของกระทรวงคมนาคมอย่างเข้มข้น”นายสุรพงษ์กล่าว