ส่วนเมื่อเข้าสู่กระบวนยกร่างและการทำประชามติ ควรให้มีการจัดทำในรูปแบบ ร่างเดียวทั้ง 6 ประเด็น หรือแยกเป็น 6 ร่าง 6 ประเด็น นั้น
นายสุวัจน์ กล่าวว่า สำหรับตนเองสนับสนุนให้มีการแยกออกเป็น 6 ร่าง 6 ประเด็น มากกว่า เพราะส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าข้อเสนอทั้ง แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็น นั้น มีทั้งส่วนของเนื้อหาสาระ เช่นเรื่องการแก้ไขมาตรา 190 ที่ว่าด้วยการดำเนินข้อตกลงใด ๆ กับต่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน หรือ ในแบบแบบลางเนื้อชอบลางยาเช่นเรื่องการแก้ไขเขตเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นจึงควรเปิดโอกาศให้ประชาชนได้มีโอกาศเลือกตัดสินใจในหลาย ๆ ประเด็น อย่างไรก็ดีตนเองขอยืนยัน ว่า พร้อมที่จะให้ความเคารพในเสียงของประชาชนโดยหากผลการประชามติ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความพยายามเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะยุติลงทันที เพราะเสียงของประชาชนคือคำตอบสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ส่วนมองว่าเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการนำสังคมไทยสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ เพราะมีหลายฝ่ายออกมาประกาศคัดค้านเช่นกลุ่มการที่กลุ่มพันธมิตร และกลุ่ม 40 สว. หรือไม่นั้น นายสุวัจน์ กล่าวว่า ทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น แต่ควรมีเหตุผลและไม่ควรดึงดัน เอาแต่ความคิดเห็นส่วนตัว เพราะมิเช่นนั้นบ้านเมืองก็จะยังอยู่กับวังวนของความขัดแย้งต่อไป
ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าการทำประชามติ เป็นหนึ่งในความพยายามต่ออายุของรัฐบาลให้ยาวนานออกไป นั้น นายสุวัจน์ กล่าวว่า
การตัดสินใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่บนพื้นฐาน ที่ต้องการจะให้รัฐบาลอยู่หรือไม่อยู่ แต่เป็นการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่คิดว่าปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในสังคม และ ปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ ส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ด้านความเห็นที่มีต่อพรรคเพื่อไทย ที่ประกาศถอนตัวจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น นายสุวัจน์ แสดงความเชื่อมั่นว่า หากผลประชามติออกมาประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ตนเชื่อว่า พรรคเพื่อไทยก็คงจะกลับเข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งแน่นอน เพราะธรรมชาติของนักการเมืองต้องฟังเสียงของประชาชน อีกทั้งการที่พรรคเพื่อไทย ได้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีบุคคลิกประนีประนอมและสามารถเชื่อมโยงทำความเข้าใจกับกลุ่มการเมืองได้ทุกกลุ่ม ก็คงไม่ทำให้เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญถึงทางตันอย่างแน่นอน ขณะที่ข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ที่เรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ทั้งฉบับ นั้น นายสุวัจน์ กล่าวว่า ในเมื่อจะมีการใช้งบประมาณถึงสองพันล้านบาทในการทำประชามติเรื่อง 6 ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ แล้ว ตนเองก็เห็นว่า ก็น่าจะพ่วงเรื่องข้อเสนอดังกล่าวของพรรคเพื่อไทย เข้าไปในการทำประชามติด้วย เพราะไม่ว่าจะทำประชามติสักกี่ข้อ ก็ต้องเสียงบประมาณสองพันล้านบาท อยู่ดี
ส่วนมีความคาดหวังมากน้อยเพียงใดว่า เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูเสร็จสิ้นลงแล้ว จะทำให้บ้านเมืองกลับมาสงบสุขได้
นายสุวัจน์กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญคงไม่ใช่คำตอบที่เบ็ดเสร็จว่าเมื่อแก้ไขแล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นได้ทันทีทันใด แต่อย่างน้อยก็คงเหมือนเป็นการแหวกม่านให้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ว่า อย่างน้อยที่สุดก็ได้มีความพยายามเริ่มต้นหนทางที่จะนำไปสู่การลดความขัดแย้งแล้ว เพราะกระบวนการต่าง ๆ จะทำให้ทุกฝ่ายเริ่มหันหน้ามาพูดคุยกันมากขึ้น ซึ่งสำหรับตนเองเชื่อว่า จะเป็นการสร้างบรรยากาศความรู้สึกที่ดีต่อกันระหว่างสองฝ่ายที่เคยทะเลาะเบาะแว้งกัน ให้กลับมาดีขึ้นได้