ว่าการจะลาออกหรือไม่ขึ้นกับ 3 ประเด็น
1.การตัดสินใจของตัวเองและทนายความ 2.พรรคประชาธิปัตย์ และ 3.นายกฯอภิสิทธิ์
อย่างไรก็ตามในเงื่อนไข 3 ข้อดังกล่าว
ข้อแรกตัดทิ้งไปได้เลย
ถึงสื่อจะยืนยัน นายกษิตเคยพูดไว้เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
"หากผมเป็น 1 ใน 21 แกนนำพันธมิตรฯที่จะถูกออกหมายจับ ก็พร้อมลาออกจากรัฐมนตรี เพราะต้องให้ความเคารพกระบวนการยุติธรรม"
ก็ตาม
แต่นายกษิต ยังคงเสียงแข็งว่าจะไม่ลาออกเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้ายตามที่ถูกกล่าวหา
ข้อที่ 2 ก็น่าจะตัดทิ้งไปได้เช่นกัน เพราะระดับแกนนำพรรคลงมาถึงระดับลิ่วล้อ ต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่านายกษิตไม่จำเป็นต้องลาออกตอนนี้
เนื่องจากในทางกฎหมาย นายกษิตยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลจะตัดสิน
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเหลือแค่ข้อ 3 นั่นก็คือนายกฯอภิสิทธิ์จะตัดสินใจอย่างไรในกรณีดังกล่าว
จะปลดออกหรือให้อยู่ต่อ จากคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯที่ว่า จะตัดสินเองโดยไม่ต้องรอคำสั่งฟ้องหรือกระบวนการทางกฎหมาย
ยังค่อนข้างคลุมเครือ
แต่ที่ชัดเจนไร้ความคลุมเครือโดยสิ้นเชิงคือกฎเหล็ก 9 ข้อ ที่นายกฯ ให้ไว้กับครม.เมื่อตอนเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ๆ โดยเฉพาะวรรคทอง
"รัฐมนตรีทุกคนไม่มีสิทธิ์เหนือประชาชนคนอื่นในแง่ของการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ความรับผิดชอบทางการเมืองนั้นจะต้องสูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย"
ไม่รู้บังเอิญหรือจงใจ กรณีกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอครม.วันที่ 9 ก.ค.นี้ ขออนุมัติงบ 679 ล้านบาทเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐและเอกชน ใช้ช่วยเหลือผู้โดยสารตกค้างช่วงม็อบปิดสนามบิน 2 แห่ง
พร้อมรายงานความเสียหายจากการสูญเสียรายได้ ของหน่วยงานรัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมการบินจากการปิดสนามบิน จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท ให้ครม.ทราบเพื่อพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
ไม่รู้บังเอิญหรือจงใจ ที่การออกหมายเรียกแกนนำพันธมิตรฯ และนายกษิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เกิดขึ้นหลังจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เดินทางไปพบนายฮุน เซน นายกฯกัมพูชา ถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาห่างกันแค่ 2 สัปดาห์
ถ้าบังเอิญก็แล้วไป
แต่ถ้าจงใจ
เร็วๆ นี้เราคงได้เห็นรมว.การต่างประเทศคนใหม่แน่