กมธ.ปกครอง วุฒิสภา ชี้ ไม่ควรเผาทำลายลำไย แต่ควรนำมาทำเป็นปุ๋ยมากกว่า เชื่อ หวังทำลายหลักฐานบางอย่าง แนะรัฐบาลพิจารณาใหม่ ...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (27 มิ.ย.) ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน สว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมาธิการการส่งเสริมท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้ สู่ชุมชน คณะกรรมาธิการปกครอง วุฒิสภา ได้เดินทางไปตรวจสอบลำไยตามโกดังของ จ.ลำพูน และ เชียงใหม่ ที่ทางรัฐบาลรับจำนำไว้เป็นลำไยอบแห้งเมื่อปี 2546-2547 ที่เหลืออยู่ตามโกดังต่างๆ จำนวน 46,000 ตัน โดยลำไยทั้งหมดเริ่มมีเชื้อรา ทางรัฐบาลจึงได้อนุมัติวงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อเผาทำลายทั้งหมด ทางคณะกรรมธิการฯ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องหาจะมีวิธีที่ดีกว่าดี จึงได้เดินทางเข้ามาตรวจสอบทั้งที่ จ.ลำพูน และเชียงใหม่ โดยเข้าพบปะเครือข่ายผู้ปลูกลำไย ทั้งลำพูนและเชียงใหม่ เพื่อรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงของลำไย เพื่อหาต้นตอของวงจรอุบาทว์เส้นทางลำไยที่เป็นสาเหตุให้รัฐเสียผลประโยนชน์มหาศาลในแต่ละปีในการนำเงินออกมารับจำนำ และประกันราคาลำไยทั้งสดและอบแห้ง พร้อมทั้งแนะวิธีที่จะทำลายลำใยอย่างถูกต้อง
ดร.นิลวรรณ กล่าวว่า ตนอยากจะเสนอแนะที่ ครม. อนุมัติเงินจำนวน 90 ล้านบาท เพื่อทำลายลำไยโดยการเผาลำไย 46,000 ตัน เป็นเรื่องที่ถูก แต่ไม่ถูกต้องที่สุด เนื่องจาก ลำไยถือว่าเป็นขยะชีวภาพต้องนำไปทำปุ๋ยชีวภาพเท่านั้น สิ่งนี้อยู่ในกฎหมายของกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อมีการนำไปเผาหรือทำเชื้อเพลิงอัดแท่งนั้น ค่าความร้อนต่ำมากไม่มีใครซื้อ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำลายที่เป็นไปตามหลักวิชาการคือต้องทำปุ๋ยชีวภาพ ตนเสนอแนะว่าหากนำไปทำปุ๋ยชีวภาพ จะป้องกันการไปไม่ถึงปุ๋ยได้อย่างไร คือการลอบนำไปขายท้องตลาด และนำเข้าไปผสมลำไยล็อตใหม่ทำให้คุณภาพเสีย ทำให้เสียชื่อเสียงมาแล้ว ส่วนเรื่องการที่จะนำไปทำปุ๋ยต้องทำหลังจากเดือน ก.ย. อาจมีการสอดแทรกกับของใหม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงการที่เกิดวงจรอุบาทว์ของลำไยจะแก้ไขอย่างไร ดร.นิลวรรณ กล่าวว่า ตนมาจากภาคเอกชนและอนุกรรมาธิการที่มาช่วยงานนี้ มองเห็นว่าน่าจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกที่ไม่เข้าไปสู่วงจรของการจำนองจำนำ ที่เปิดโอกาสให้มีการคอรับชั่น ซึ่งที่ผ่านมาในปีหลังๆก็ไม่มีปัญหาจะมีปัญหาเมื่อปี 46-47 ซึ่งมีการรับจำนำไว้และมีการเก็ยไม่ถูกต้องเมื่อมีคนมาซื้อเขาก็ไม่ซื้อเพราะคุณภาพลำไยไม่ได้ตามที่ตกลง ดังนั้นหากภาครัฐไม่รู้กลไกลของตลาด ตนอยากให้เกษตรกรยืนอยู่บนขาของตัวเองคิดนวกรรมเองจัดการกันเองเป็นกลุ่ม ซึ่งกลุ่มลำไยน่าจะมีการจับกลุ่มกันได้ เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ตนมาดูในวันนี้ตนมาในฐานะให้องค์ความรู้ เมื่อทางรัฐบาลอนุมิติเงินมาให้เผาลำไยทิ้งอ้างว่ามีเชื้อราเยอะ แต่ตนคิดว่าการเผาน่าจะทำลายหลักฐานอะไรบางอย่างเท่านั้น เพราะในขณะนี้ลำไยอาจจะมีไม่ถึง 46,000 ตันจริง จึงอาจจะมีการบิดเบือนว่ามันมีเชื้อรา แต่ในทางวิทยาศาสตร์แล้วการมีเชื้อรานำมาทำปุ๋ยหมัก จะได้ผลดีไม่เกิดอันตรายกับพืชและสัตว์ เพราะฉะนั้นเหตุผลที่จะนำมาเผาหรือทำแท่งเชื้อเพลิงเป็นเหตุผลที่เบี่ยงเบนทำลายหลักฐานมากกว่า แต่ทางกรรมาธิการของตนที่มาในครั้งนี้เพราะจะแนะว่าไม่ควรเผาลำไย ควรจะนำไปทำปุ๋ยดีกว่า
ส.ว.เชื่อเผาลำไยหวังทำลายหลักฐาน
เครดิต : ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!