คมชัดลึก :รัฐบาลยอมถอย ถอนพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้าน รอ“ศาลรธน.”ชี้ขาด ด้าน“ชินวรณ์”ลั่น ต้องพิจารณาอีก 3 ฉบับให้เสร็จภายในวันนี้ ย้ำหากถึงเช้าต้องถึงเช้า ชี้“ ฝ่ายค้าน”ป่วนสภาเอาปัญหาปากท้องเป็นเกมการเมือง มั่นใจประชุมวันนี้ไม่มีปัญหาองค์ประชุม
(18พ.ค.) ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ประธานการประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในการพิจารณา
ถอนพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงิน 4 แสนล้านบาท ถอนพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ยาสูบ ถอนพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.อัตราภาษีสรรพสามิต และพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ.... โดยนายชินวรณ์ ได้ย้ำกับที่ประชุมว่า ขอให้ร่วมกันเข้าประชุมในการพิจารณากฎหมายทุกฉบับโดยพร้อมเพรียง เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องให้จบภายในวันนี้ หรือต้องใช้ตามคำของนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ที่ว่า ถ้าต้องให้ถึงเช้าก็ต้องทำ และขอให้ไม่ต้องกังวลเรื่องที่ฝ่ายค้านขู่จะวอล์คเอาท์ เพราะเรื่องถอนพ.ร.ก.กู้เงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท หากประธานรัฐสภาไม่สามารถชี้แจงได้ เพราะเราตกลงไว้แล้วว่าจะเลื่อนออกไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา จึงเชื่อว่าประธานสภาจะอธิบายให้ฝ่ายค้านเข้าใจได้
ภายหลังเสร็จการประชุมนายชินวรณ์ แถลงว่า วิปรัฐบาลตกลงว่าจะชะลอการพิจารณาถอนพ.ร.ก.กู้เงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท
โดยจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงหลังจากที่ปิดประชุมสมัยสามัญแล้ว ซึ่งหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลจะเปิดสภาวิสามัญเพื่อพิจารณาเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามแนวทางที่ออกถอนพ.ร.ก.ไว้ทุกประการ ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่าการออกถอนพ.ร.ก.เงินกู้ครั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง เพราะประชาชนทั่วไปก็เห็นแล้วว่าวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้หนักหนา จนรัฐบาลต้องวางแผนระยะยาว และก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยออกถอนพ.ร.ก.ในลักษณะนี้มาหลายครั้ง โดยในการออกถอนพ.ร.ก.แก้ไขอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อแก้ไขอัตราภาษีโทรคมนาคม เมื่อปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าสามารถทำได้
“แม้ว่าการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอนพ.ร.ก.จะถือเป็นสิทธิ์ของฝ่ายค้าน แต่เราขอเรียกร้องว่า อย่านำเรื่องปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชนมาใช้เป็นเกมการเมือง และยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมที่ป่วนงานสภา เพื่อไม่ให้การทำงานของสภาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเห็นว่าการเคลื่อนไหวนอกสภา และการใช้ความรุนแรงไม่ได้รับความยอมรับจากประชาชน อย่างไรก็ตามขอเรียกร้องให้คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาประชาชนด้วย”นายชินวรณ์ กล่าว
นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาเรื่ององค์ประชุม ทางวิปได้กำชับพรรคร่วมให้มาประชุมโดยพร้อมเพรียง
เบื้องต้นมีส.ส.ที่ยื่นหนังสือลาประชุม 4 คน คือของพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน ได้แก่นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม และนายวิทยา แก้วภารดัย รมว.สาธารณสุข และส.ส.พรรคร่วมอีก 2 คนเท่านั้น จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาเรื่ององค์ประชุมอย่างแน่นอน