ไขตำตอบ ทำไม ?อธิบดีศาลอาญาบันทึกแย้งคำพิพาก ษายกฟ้อง5บิ๊กสรรพากรคดีพจมานเลี่ยงภาษี

การทำบันทึกความเห็นแย้งคำพิพากษานั้น เป็นระบบการตรวจสอบกันเองของศาลในการพิพากษาคดีซึ่งจะทำให้คู่ความและสาธารณชนเห็นว่า ระหว่าง คำพิพากษาและบันทึกแย้ง การใช้เหตุผลและตรรกะในทางกฎหมายอย่างไหนดีกว่ากัน

 
สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในแวดวงกฎหมายอาจมีคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ดีๆอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาถึงทำบันทึกแย้งคำพิพากษาองค์คณะของศาลอาญาที่พิพากษายกฟ้องคดีที่อัยการเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร, นายวิชัย จึงรักเกียรติ อดีตผู้อำนวยการ.สำนักงานกฎหมาย กรมสรรพากรและอดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, น.ส.สุจินดา แสงชมพู อดีตนิติกร 9, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตนิติกร 8 และอดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย และ น.ส.กุลฤดี แสงสายัณห์ อดีตนิติกร 7 ว. เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ

ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เรียกเก็บ หรือตรวจสอบภาษีอากร ร่วมกันละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลอาญา 154 และ 157 กรณีงดเว้นการคำนวณภาษีกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการโอนหุ้นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือชินคอร์ป 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท ให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน เมื่อปี พ.ศ. 2540

คำตอบอย่างกำปั้นทุบดินคือ เป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.  2551 ) มาตรา 111(1)ที่ให้มีอำนาจในการตรวจสำนวนในคดีใดแล้ว มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้

อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจของ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ที่ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และให้มีอำนาจหน้าที่อื่นๆอีก 7 ข้อ โดยมาตรา 11(1)บัญญัติว่า "นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้"

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล มีหน้าที่(หรือมอบอำนาจให้รองฯ)มีหน้าที่ในการตรวจสำนวนและทำความเห็นแย้งได้อยู่แล้ว แต่มิได้ค่อยมีการทำบ่อยนัก ยกเว้นในคดีที่ผู้บริหารศาลเห็นว่า เป็นคดีที่มีความสำคัญ
 
การทำบันทึกความเห็นแย้งคำพิพากษานั้น เป็นระบบการตรวจสอบกันเองของศาลในการพิพากษาคดีซึ่งจะทำให้คู่ความและสาธารณชนเห็นว่า ระหว่าง คำพิพากษาและบันทึกแย้ง การใช้เหตุผลและตรรกะในทางกฎหมายอย่างไหนดีกว่ากัน

ขณะเดียวกัน ถ้าเป็นศาลชั้นต้น คู่ความอาจใช้เป็นข้อต่อสู้ในการอุทธรณ์หรือฎีกาซึ่งศาลสูงอาจใช้บันทึกแย้งดังกล่าวประกอบการวินิจฉัยคดีได้


จนกระทั่งมีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ที่กำหนดให้ผู้บริหารศาลทำบันทึกความเห็นแย้งได้เฉพาะคดีสำคัญ เช่น คดีความมั่นคง นัยว่า เพื่อป้องกันการแทรกแซงและประกันความเป็นอิสระขององค์คณะผู้พิพากษา

ต่อมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลาานนท์  มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับศาลหลายฉบับ รวมถึงพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่กำหนดอำนาจให้ผู้บริหารศาลที่ตรวจสำนวนโดยไม่ต้องพิจารณาคดีสามารถทำความเห็นแย้งได้ ถ้าเห็นว่า เป้นคดีสำคัญ อย่างเช่นกรณี คดีอดีตข้าราชการระดับสูงของกรมสรรพากร 5 คนช่วยเหลือคุณหญิงพจมานฯในการหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าวข้างต้น

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีการายหนึ่งกล่าวว่า

การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีบันทึกแย้งท้ายคำพิพากษาเช่นนี้ ถือว่า มีน้ำหนักมาก ดังนั้นพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ต้องอุทธรณ์คดีดังกล่าวอย่างแน่นอน

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์