สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ข้อสรุปสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 บริเวณรัฐสภา กองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณโดยรอบ
1.กรณีการเสียชีวิตของ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี นายตำรวจนอกราชการ อดีต สวป.เมือง บุรีรัมย์ และเป็นน้องเขย นายการุณ ไสยงาม สว.สจ.บุรีรัมย์
1.1 พฤติการณ์ โดยย่อเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เวลากลางวัน พ.ต.ท.เมธีฯ ได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตร ที่บริเวณแยกขัตติยาณี หน้าที่ทำการพรรคชาติไทย ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กทม. พ.ต.ท.เมธีฯ ได้เข้าไปในรถยนต์จิ๊ปเซโรกี้ หมายเลขทะเบียน พต.9755 กทม. ขณะที่ พ.ต.ท.เมธีฯ อยู่ในรถคันดังกล่าว ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น 1 ครั้ง ทำให้ พ.ต.ท.เมธีฯ เสียชีวิตทันที รถยนต์ฯ ได้รับความเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ในเวลาต่อมา มีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและรถดับเพลิงในการดับเพลิงจนสงบ ในห้วงเวลาดังกล่าวไม่มีการสลายฝูงชนแต่อย่างใด
1.2 การรักษาสถานที่เกิดเหตุและการตรวจสถานที่เกิดเหตุหลังเกิดเหตุแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดุสิตได้เข้าไปรักษาที่เกิดเหตุแล้วแจ้งให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิดและ กองพิสูจน์หลักฐาน ร่วมตรวจที่เกิดเหตุ
1.3 พยานหลักฐานพบในที่เกิดเหตุ
1.3.1 เศษชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ
1.3.2 เศษคราบเขม่าวัตถุระเบิด
1.3.3 เศษภาชนะพลาติกสีขาว
1.3.4 เชื้อปะทุไฟฟ้าทับพลเรือน 1 ดอก
1.3.5 เศษชิ้นส่วนโลหะ
1.3.6 เศษกระดาษการ์ดและซิบการ์ด
1.4 ชนิดของสาระเบิดที่ตรวจพบภายในรถยนต์ฯ และวัตถุพยานต่างๆ
- สารระเบิดแรงสูงชนิด ที.เอ็น.ที. สารระเบิดแรงสูงชนิด R.D.X.
- สารระเบิดแรงสูงชนิด ที.เอ็น.ที. จะจุดตัวจนเกิดการระเบิดขึ้นได้ต้องใช้เชื้อปะทุไฟฟ้า หรือเชื้อปะทุ ชนวน เท่านั้น
- สารระเบิด R.D.X. เป็นระเบิดแรงสูงที่ใช้บรรจุในหลอดเชื้อประทุและฝักแคระเบิดทั่วไป
จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น จึงน่าเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.เมธีฯ เสียชีวิตจากระเบิดแสวงเครื่องซึ่งทำงานโดยอาศัยกระแสไฟฟ้าจากโทรทัศน์มือถือเป็นตัวจุดระเบิด และเกิดระเบิดภายในรถยนต์ดังกล่าว มิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่อย่างใด
2.กรณีการเสียชีวิตของ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์
2.1 พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยย่อ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ช่วงเวลาบ่าย กลุ่มผู้ชุมนุม จำนวนมาก ได้มุ่งหน้าไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล แต่ก่อนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลเจ้าหน้าที่ได้วางเครื่องกีดขวางไว้ และได้มีนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการเข้าไปเจรจากับกลุ่มพันธมิตรและระหว่างการเจรจานายตำรวจดังกล่าวถูกกลุ่มพันธมิตรทำร้ายได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจำเป็นต้องป้องกันตัวและผลักดันกลุ่มพันธมิตรให้ถอยร่นออกไป โดยใช้แก๊สน้ำตาเป็นเครื่องผลักดันและสลายการชุมนุม เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หลังจากกลุ่มพันธมิตรถอยร่นไปแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบภายหลัง มีกลุ่มผู้ชุมนุมบาดเจ็บและเสียชีวิต และผู้เสียชีวิตทราบชื่อต่อมาคือ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิหรือน้องโบว์ฯ
2.2 การรักษาสถานที่เกิดเหตุและผลการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
- หลังจาก น.ส.อังคณาฯ เสียชีวิตมีบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ และเคลื่อยย้ายศพโดยพลการทำให้วัตถุพยานถูกทำลาย
- เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถเข้าไปรักษาที่เกิดเหตุและตรวจสถานที่เกิดเหตุได้ เนื่องจากมีการปิดล้อมของกลุ่มผู้ชุมนุม
- มีหน่วยงานบางหน่วยงานที่ไม่มีหน้าที่โดยตรง ได้เข้าทำการตรวจพื้นที่เกิดเหตุ โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาหลังเกิดเหตุ ไม่มีการรักษาสถานที่เกิดเหตุ ขาดทักษะและประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือที่นำมาตรวจสอบผิดวัตถุประสงค์ของการใช้งาน อาจเป็นเหตุให้ผลการตรวจพิสูจน์คลาดเคลื่อนได้อาจส่งผลเสียต่อรูปคดีได้
2.3 พยานหลักฐานต่างๆ ที่พบ
- จากภาพถ่ายศพ มีบาดแผนขนาดใหญ่บริเวณชายโครงด้านซ้ายและใต้ท้องแขนซ้ายท่อนบน ลึกถึงกระดูก และมีรอยสะเก็ดเป็นจุดเล็กๆ ที่หลังเท้า ข้างเท้า และบริเวณใกล้ตาตุ่มเท้าซ้ายบาดแผลดังกล่าวน่าจะเกิดจากสารระเบิดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 200 กรัม ในขณะที่แก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีนมีสารระเบิดหรืออาร์ดีเอ๊กซ์ (R.D.X.) น้ำหนักเพียง 7 กรัม เท่านั้น
- กรณีที่กองพิสูจน์หลักฐานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจเสื้อผ้าที่ น.ส.อังคณาฯ หรือน้องโบว์ ใส่ในขณะเกิดเหตุ โดยตรวจพบสารเคมีที่เป็นวัตถุระเบิดชนิด C4 ติดอยู่ที่เสื้อยืดสีเหลืองและเสื้อชั้นในสภาพฉีกขาดและตรวจพบสารเคมี ชนิด R.D.X. ติดอยู่ที่กางเกงยีนส์ขายาว
2.4 ชนิดของสารระเบิดที่ตรวจพบ
- สารระเบิดแรงสูง ชนิด C4
- สารระเบิดแรงสูงชนิด อาร์.อี.เอ๊กซ์ (R.D.X.)
- สารระเบิดแรงสูง ชนิด C4 จะจุดตัวจนเกิดการระเบิดขึ้นได้ต้องใช้เชื้อปะทุไฟฟ้า หรือเชื้อปะทุชนวนเท่านั้น
- สารระเบิด R.D.X. เป็นระเบิดแรงสูงที่มีความไวใช้บรรจุในหลอดเชื้อปะทุฝักแคระเบิดทั่วไป
- แก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีน ภายในบรรจุ สารอาร์ ดี เอ๊กซ์ (R.D.X.) น้ำหนักประมาณ 7 กรัม ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายการระเบิด (Booster) เพื่อให้แก๊สน้ำตาฟุ้งกระจายออกไปเท่านั้น ไม่มีวัตถุประสงค์ในการทำให้บาดเจ็บหรือสังหารบุคคลแต่อย่างใด
- จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น จึงน่าเชื่อได้ว่า น.ส.อังคณาฯ หรือน้องโบว์ เสียชีวิตจากสาระเบิดขนาดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 200 กรัม ในระยะชิดติดตัว และระเบิดดังกล่าวมีสะเก็ตเล็กๆ โดยสังเกตจากบาดแผลที่บริเวณตาตุ่มซ้ายและเท้าซ้าย เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีสารระเบิด R.D.X. เพียง 7 กรัม ในแก๊สน้ำตาไม่มีสารระเบิดชนิด C4 และไม่มีสะเก็ด แต่จะเสียชีวิตจากสารระเบิดชนิดใดและของผู้ใดนั้นไม่สามารถยืนยันได้ เพราะพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุถูกทำลาย มีการเคลื่อยย้ายผู้ตายออกจากที่เกิดเหตุโดยพลการ และมีการตรวจสถานที่เกิดเหตุแล้ว และไม่ได้มาตรฐานตามหลักสากล
3.กรณีบาดเจ็บของ นายบัญชา บุญแก้ว อายุ 30 ปี ผู้เข้าร่วมชุมนุม
3.1 พฤติการณ์โดยย่อ เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2552 ช่วงเช้า นายบัญชา บุญแก้ว ผู้บาดเจ็บและผู้ชุมนุมจำนวนมาก เช่นไม้เหล็ก ไม้กอล์ฟ ไม้เบสบอล ฯลฯ ได้ร่วมกันทำการปิดล้อมรัฐสภา เพื่อขัดขวางการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี โดยมีการใช้ลวดนามปิดกั้น และการราดน้ำมันบนพื้นถนน เพื่อขัดขวางการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการผลักดันฝูงชนเพื่อเปิดทาง ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลเข้าประชุมที่สภาผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะเป็นการกระทำผิดโดยซึ่งหน้า โดยได้มีการกระทำเป็นขั้นตอน มีการเจรจาและร้องขอแต่ไม่เป็นผล กลับมีการด่าว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานและใช้กระสุนซึ่งเป็นลูกแก้วและหัวน๊อตโลหะระดมยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องป้องกันตัวและผลักดันฝูงชนดังกล่าว โดยใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างเพื่อผลักดันโดยหลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอาวุธปราบปราม แต่กลุ่มพันธมิตรก็ตอบโต้ต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจตลอดเวลา จนเกิดการชุลมุนบางส่วนต่อสุ้ บางส่วนถอยหนีบางส่วนอยู่กับที่เพราะได้รับผลจากแก๊สน้ำตา ในขณะนั้นมีการวิ่งชนกัน หกล้มเหยียบทับกัน และมีเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้งจนแยกไม่ออกว่าเป็นเสียงของแก๊สน้ำตาหรือระเบิดชนิดใดหลังจากทำการผลักดันกลุ่มพันธมิตรออกจากบริเวณสามแยกอู่ทองในตัดสามแยกพิชัย ข้างประชุมประตูประสาทเทวริทธิ์ เขตดุสิตกรุงเทพได้แล้ว พบว่า
- มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา และระเบิดไม่ทราบชนิด หลายคน ที่บาดเจ็บมากคือ นายบัญชา ซึ่งได้บาดเจ็บขาขาดอยู่ใก้ป้อมสามแยกอู่ทองในตัดสามแยกพิชัย ข้างประตูประสาทเทวริทธิ์ฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้การช่วยเหลือและนำส่ง รพ.ในเวลาต่อมา
3.2 การรักษาสถานที่เกิดเหตุและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุแล้วอยู่ระหว่างการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล มีการผลักดันและโต้ตอบจากผู้ชุมนุม กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้กำลังเข้าทำร้ายเจ้าพนักงานและทำการผลักดันเจ้าหน้าที่ จนต้องถอยร่นออกจาก บริเวณประตูประสาทเวริทธิ์ฯ จึงไม่สามารถเข้าไปตรวจสถานที่เกิดเหตุได้
- ต่อมาวันที่ 8 ต.ค. 2551 เวลาประมาณ 09.30 น. จึงได้มีคำสั่งจาก พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมกุล ผบก.ตปพ. ให้ไปทำการตรวจสถานที่เกิดเหตุตามจุดต่างๆ โดยรอบรัฐสภาและกองบัญชาการตำรวจนครบาลกลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระะเบิดฯ ออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุตามคำสั่ง ผบก.ตปพ. และได้ไปตรวจที่เกิดเหตุกรณีระเบิดบริเวณใกล้ป้อมสามแยกอู่ทองในตัดสามแยกพิชัย ข้างประตูประสาทเทวริทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพ ซึ่งเป็นจุดที่นายบัญชาฯ ได้รับบาดเจ็บด้วย
3.3 พยานหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ
3.2.1 เศษคราบเขม่าวัตถุระเบิด สีดำติดอยู่บริเวณเสาและพื้นนที่เกิดเหตุชัดเจน
3.2.2 พบหลุมระเบิดกว้างประมาณ 10 ซ.ม. ลึก 3 ซ.ม.
3.2.3 มีคราบโลหิตอยู่บริเวณพื้นที่เกิดเหตุเป็นวงกว้าง
3.4. ชนิดของสาระเบิดที่ตรวจพบ
จากการตรวจสอบทางเคมีและสังเกตจากสีและกลิ่นของเขม่าวัตถุระเบิด ในที่เกิดเหตุเชื่อว่าเป็นสารระเบิดชนิดแรงต่ำ ประเภทดินดำหรือดินเทาน้ำหมึกไม่เกิน 500 กรัม
- ดินดำหรือดินเทาเป็นวัตถุระเบิดแรงต่ำมีคุณสมบัติไวต่อความร้อน การกระทบกระแทกเสียดสี
จากพยานหลักฐานข้างต้นจึงเชื่อได้ว่าการบาดเจ็บของนายบัญชาฯ ซึ่งขาขาดไปหนึ่งข้างนั้นเกิดจากการระเบิดของระเบิดแสวงเครื่องที่ทำขึ้นเองโดยใช้ดินดำหรือดินเทาน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม บรรจุอยู่ในภาชนะที่ห่อหุ้ม แล้วเกิดการกระทบกระแทกเสียดสีอย่างรุนแรงเกิดระเบิดขึ้น จนนายบัญชาฯ ได้รับบาดเจ็บสาหัสดังกล่าว กรณีนี้ระเบิดดังกล่าวจะต้องอยู่ชิดติดกับอวัยวะส่วนที่ฉีกขาดของนายบัญชาฯ และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งแก๊สน้ำตามีสารระเบิด R.D.X. เพียง 7 กรัมเท่านั้น
4.กรณีการบาดเจ็บของ นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ (ตี๋) มีบาดแผลบริเวณลำคอ หน้าอก และแขนขวาจากเหตุการณ์โดยถือวัตถุอยู่ในมือข้างซ้ายตลอดเวลา
4.1. พฤติกรรมที่เกิดขึ้น โดยย่อ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ช่วงเวลาปายกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากพร้อมอาวุธ ได้มุ่งหน้าไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลแต่ก่อนถึง กองบัญชาการตำรวจนครบาลเจ้าหน้าที่ได้วางเครื่องกีดขวางไว้และได้มีนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการเข้าไปเจรจากับกลุ่มพันธมิตรและระหว่างการเจรจานายตำรวจดังกล่าวถูกกลุ่มพันธมิตรทำร้ายได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจำเป็นต้องป้องกันตัว และผลักดันกลุ่มพันธมิตรให้ถอยร่นออกไปโดยใช้แก๊สน้ำเป็นเครื่องผลักดันและสลายการชุมนุมเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้กำลังหลังจากกลุ่มพันธมิตรถอยร่นไปแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบภายหลังว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมบาดเจ็บและเสียชีวิต และในผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสคือ นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ (ตี๋)
4.2. การรักษาสถานที่เกิดเหตุและผลการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
- เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสอบสวน สน.ดุสิตและเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน ร่วมกันตรวจสถานที่เกิดเหตุ
4.3 พยานหลักฐานต่างๆ ที่พบ
- จากภาพถ่าย นายชิงชัยฯ (ตี๋) มีบาดแผลที่บริเวณลำคอ หน้าอกและแขนขวาขาด โดยถือวัตถุอยู่ในมือข้างซ้ายตลอดเวลา
-พยานหลักฐาน และวัตถุพยานอื่นในส่วนของกลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิดไม่มี
4.4 ชนิดของสารระเบิดที่ตรวจพบ
- ไม่มี เนื่องจากไม่ได้รับแจ้งให้ไปทำการตรวจ จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น จึงน่าเชื่อได้ว่า การบาดเจ็บของนายชิงชัย หรือตี๋ฯ น่าจะเกิดจากการกำวัตถุระเบิดอยู่ในมือจนเกิดระเบิดขึ้น จนได้รับบาดเจ็บดังที่กล่าวแล้วข้างต้น แต่ระเบิดดังกล่าวที่กำไว้ จะเป็นระเบิดชนิดใด แบบไหน ไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากขาดพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ และพยานบุคคลมาประกอบการพิจารณา
- ส่วนวัตถุที่อยู่ในมือข้างซ้ายตลอดเวลานั้น ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นวัตถุระเบิดหรือสิ่งใดเนื่องจากมีหลักฐานที่ปรากฏในรูปภาพเท่านั้น
เปิดผลสรุป นิติวิทยาศาสตร์ ตร.สาเหตุการตาย น้องโบว์-สารวัตรจ๊าบ เหตุการณ์7 ตุลาเลือด
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง เปิดผลสรุป นิติวิทยาศาสตร์ ตร.สาเหตุการตาย น้องโบว์-สารวัตรจ๊าบ เหตุการณ์7 ตุลาเลือด