นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าววันนี้ (5 ก.พ.) ก่อนเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ถึงกรณีที่นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ติงการจัดสรรงบประมาณกลางปี 2552 และแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า
ตนมั่นใจว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมถึงมือประชาชนได้อย่างแน่นอน อีกทั้งการจัดสรรงบประมาณ ในสถานการณ์ที่ไม่ปกตินั้น ต้องคำนึงถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตนจะหาโอกาสไปชี้แจงกับนายบรรหาร ด้วยตนเอง
“ต้องขอบคุณ เพราะผมเชื่อว่าท่านแสดงออกด้วยความตั้งใจที่ดี แต่ว่าบางทีมุมมองก็แตกต่างกัน แต่ขอยืนยันว่าการจัดงบประมาณ ไม่ได้เกี่ยวกับพรรค จริงๆ กระทรวงที่บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้งบประมาณเยอะ ก็ไม่ใช่เรื่องโครงการของกระทรวง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกฯเล็งพบบรรหารเคลียร์ใจงบประมาณกลางปี
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังประเทศกัมพูชานั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
มาบ่อยอยู่แล้ว อีกทั้งจะกลับเ ข้ามาในไทยก็ไม่มีผู้ใดห้าม รัฐบาลก็อยากให้กลับเข้ามา ทั้งนี้ตนได้รับรายงานแล้วว่า ญี่ปุ่นห้าม พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าประเทศ เพราะมีข้อมูลอยู่ในบัญชีผู้ต้องโทษ
ทั้งนี้ นายบรรหาร ได้กล่าวถึง สถานการณ์การเมืองไทยว่า
มีข้อจำกัดโดยการบริหารต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยและต้องใจกว้าง ซึ่งขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับคณะรัฐมนตรี ส่วนงบประมาณกลางปี กว่า1 แสนล้านบาทนั้น อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ควรฟื้นฟูการท่องเที่ยวในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ที่ได้แค่ 500 ล้านบาท และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แค่ 2 พันล้านบาท ขณะที่ บางกระทรวง งบประมาณไม่ควรที่จะให้มากแต่กลับให้
นอกจากนี้ นายบรรหาร ยังกล่าวถึงการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า
เป็นเรื่องปกติที่ต้องการจะต่อสู้เมื่อมีปัญหา ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการรัฐบาลบ้าง อย่างไรก็ตาม ผลโพลที่ต้องการให้ปลดนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ออกจาก รองนายกรัฐมนตรี และให้ปลด นายกษิต ภิรมย์ ออกจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นั้น เห็นว่าต้องดูว่าเป็นผลโพลของสำนักใด เนื่องจากบางสำนักอาจจะมีอะไรแอบแฝง
โดยเครื่องบินของสายการบินไทย เที่ยวบินที่ทีจี 676 เพื่อเจรจากับผู้นำรัฐบาลและนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าท่องเที่ยว และน่าลงทุน หลังสถานการณ์การเมืองของไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 นายกรัฐมนตรีจึงใช้โอกาสนี้เพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระดับโลก เพื่อให้ญี่ปุ่นหันกลับมาลงทุนในไทย และอาเซียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยนายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเดินทางถึงท่าอากาศยานนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น เวลา 16.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง และจะพบกับทีมประเทศไทยในกรุงโตเกียว เพื่อรับทราบนโยบายของรัฐบาลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้ปฏิบัติในญี่ปุ่นโดยตรง ก่อนจะร่วมกันรับประทานอาหาร