วันนี้ (2 ก.พ.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธาน ส.ส.ภาค กทม. กล่าวว่า
ปัจจัยในการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
1.ให้รัฐบาลทำงานในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่ปฎิเสธว่าต้องมีการเดินหน้า
2.ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบเมื่อพบเหตุหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็ต้องนำเสนอสู่สาธารณชน พร้อมเตือนไม่ยังรัฐบาลว่าบุคคลเหล่านี้มีความไม่ชอบธรรม ซึ่งอยู่ที่รัฐบาลว่าจมีการพิจารณาอย่างไร
3.สาธารณชนที่ได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มีความรู้สึกอย่างไร จึงนำไปสู่การถอดถอนซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้าน ที่จะต้องพิจารณาในการยื่นญัตติดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยการกล่าวว่าจะมีการยื่นถอดถอนรัฐมนตรีเมื่อวานนั้นอาจมีการพูดรวบรัดไป ซึ่งในช่วงนี้คงดูทางฝ่ายและพรรคจะว่าอย่างไร
นายวิชาญ กล่าวว่า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลหากปกป้องบุคคลที่กระทำผิดโดยไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ก็อาจเข้าข่ายมูลความผิดว่าการรู้อยู่แล้วเรื่องต่างๆ เหล่านี้มีความผิดชัดเจน ยังมีการปกปิดไม่การเปลี่ยนแปลง โดยพรรคเพื่อไทยมีแนวทางของตัวเองว่าการทำงานก็ต้องมีทั้งการตรวจสอบ การเปิดประเด็น การนำเสนอ และท้ายที่สุดก็จะแบ่งไปว่าใครไปทำหน้าที่อะไร
สำหรับการรวบรวมความผิดของรัฐมนตรีที่อาจถูกยื่นถอดถอนนั้น นายวิชาญ กล่าวเพิ่มเติมว่า
ดูจากผลที่เกิดขึ้น อย่างกรณีของนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ อยู่ในเรื่องของความรู้สึก ความถูกต้อง ที่รัฐบาลเน้นย้ำเรื่องความสมานฉันท์ แต่การปล่อยให้บุคคลที่ตั้งแต่แรกเริ่มไม่มีความสง่างาม อยู่ในความแตกสามัคคี ความคิด เข้ามาทำงานทำหน้าที่ จึงเป็นเรื่องที่คิดว่าไม่น่ามาร่วมรัฐบาล อีกทั้งความผิดในอดีตนั้นเป็นความผิดทางอาญา ยิ่งไม่เหมาะสมไม่สมควรนำมาร่วมรัฐบาล โดยช้าเร็วกฎหมายก็คงตัดสินในแนวทางหากไม่มีอะไรบิดเบือน
นายวิชาญ กล่าวอีกว่า
กรณีนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ความผิดยังไม่ชัดเจน ต้องมีการตีความจาก กกต. ซึ่งก็ต้องรวบรวมข้อมูลก่อน ด้าน นายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความชัดเจน โดยหลังการชี้แจงกระทู้สดในสภา ที่ไม่ตรงกับคำถาม ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้สาธารณชนก็คงทราบว่ามีจำนวนของที่ไปแจกนั้นมีจำนวนมาก แต่กลับบอกว่ามาจากการบริจาคก็คงไม่ใช่ ทั้งนี้หากมีการยื่นถอดถอนก็คงหวังผลเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ คอมีข้อมูลหลักฐานความชัดเจน ที่นำเสนอแล้ว เป็นที่ยอมรับของสภาและสาธารณชนะ นอกจากนี้อยากให้พรรคประชาธิปัตย์มีการตรวจสอบบุคคลภายในพรรคที่มาร่วมรัฐานอกเหนือจากรัฐมนตรีทั้ง 3 คน อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่น่าจะทำได้ดีกว่าทางฝ่ายค้าน
ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กลับจากเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยัง ไม่ได้พบกัน และคุยกันเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับ ครม.แต่ละครั้งต้องมีประเด็นเหตุผลแต่ปัญหาใหญ่ คือ จะปรับเพื่ออะไร เพราะ เสียงเรียกร้อง ให้ปรับ ครม. หรือ ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของ ป.ป.ช. รวมทั้ง ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ สามารถทำได้ ซึ่งคำถามก็คือ กรณีไหน ใคร อย่างไร เนื่องจากมาตรฐานของรัฐบาล ยึดตามกรอบที่นายกรัฐมนตรี แถลงต่อประชุม ครม.ครั้งแรก 9 ข้อ เพราะการจะปรับคนออก ต้องมีเหตุ ว่า เพราะอะไร ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว หากมีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องจริง