เพราะ การที่ กกต.มีมติว่า นายบุญจงกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ หลังจากที่ประกาศผลเลือกตั้งแล้ว กกต.ต้องยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายบุญจงเป็นเวลา 5 ปี(พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯมาตรา 111) จากข้อเท็จจริงดังกล่าว กกต.ต้องมีคำตอบต่อสาธารณะอย่างชัดเจน มิเช่นนั้นแล้ว อาจมีชะตากรรมหรือดำเนินรอยตาม พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธาน กกต.กับพวก
ถ้าพิจารณาจากการใช้และการตีความกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ยิ่งทำให้เห็นพฤติการณ์ ของกกต.ชัดเจนขึ้นว่า ต้องการช่วยเหลือและอุ้มนายบุญจงจริงหรือไม่
นายบุญจงยังมีคดีความอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)อีกหนึ่งคดี แต่ไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณะ เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่น่าสงสัยว่า มีความพยายามในการหมกเม็ดและดองคดีเพื่อช่วยนายบุญจงให้อยู่ในตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีนานที่สุด
เรื่องดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างนายพลพีร์ สุวรรณฉวี ผู้สมัครหมายเลข 3 พรรคเพื่อแผ่นดินกับนายบุญจง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายพลพีร์ ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่นายบุญจงแพ้
อย่างไรก็ตามมีการร้องเรียนการไปมาระหว่าง 2 ฝ่าย จน กกต.ให้มีการลงคะแนนใหม่(ให้ใบเหลืองนายพลพีร์)ในวันที่ 20 มกราคม 2550 ผลปรากฏว่า นายบุญจงชนะเลือกตั้งและมีการประกาศผลเมื่อวันที่ 21 มกราคม จนนายบุญจงได้เป็น ส.ส.มาจนทุกวันนี้
แต่นายบุญจงยังไม่พ้นบ่วงกรรรม ซึ่งเผ็นผลพวงจากการที่นายพลพีร์ร้องเรียนนายบุญจงต่อ กกต.ไว้ในการลงคะแนนครั้งแรกนั้น ไมีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาสืบสวนสอบสวน จน กระทั่งกกต.มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551ในการประชุมครํ้งที่ 48/2551ว่า นายบุญจงมีพฤติการณ์หลอกลวง ใส่ร้ายด้วยความเท็จจริงหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองเพื่อจูงใจฯเป้นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 53(5) ให้ดำเนินคดีอาญาแก่นายบุญจง
ปรากฏว่า นับแต่วันที่ 3 เมษายน 2551 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 10 เดือน กกต.ยังมิได้ดำเนินการใดๆแก่นายบุญจงตามที่ กกต.มีมติแต่อย่างใด แม้ตแคำวินิจฉัยสำหรับการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ยังยกร่างไม่เสร็จ
ข้ออ้างข้างๆคูๆของเจ้าหน้าที่ กกต.คือ มีสำนวนอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน ถ้าพิจารณาจากการใช้และการตีความกฎหมายของ กกต.แล้วยิ่งทำให้เห็นพฤติการณ์ ของกกต.ชัดเจนขึ้นว่า ต้องการช่วยเหลือและอุ้มนายบุญจงจริงหรือไม่
มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมในคดีทำนองเดียวกันว่า กกต.มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ให้ใบแดง)ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่แพ้การเลือกตั้งหลายคดี เช่น
หนึ่ง การประชุม กกต.ครั้งที่ 134/2551 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง) นายวิทวัส พันธ์นิกุล ผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์(ไม่ได้รับเลือกตั้ง) ตามมาตรา 236(5)และ (6)แห่งรัฐธรรมนูญฯและ มาตรา 10(10)และ(12)แพาง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 และมาตรา 111 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯมาตรา 111(เอกสารแถลงข่าวสำนักงาน กกต.เลขที่ 210_2551)
สอง การประชุม กกต.ครั้งที่ 95/51 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ผู้สม้คร ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อแผ่นดินซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้ง
สาม การประชุม กกต.ครั้งที่ 84/2551 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)นายกิตติพงศ์ พรหมชัยนันท์ ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 8 เขต 3 จังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อแผ่นดินซึ่งม่ได้รับเลือกตั้ง
สี่ การประชุม กกต.ครั้งที่ 106/2551 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)ผู้สมัคร ส.ว.สุโขทัยซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้ง
แต่ในกรณีนายบุญจง กกต.ไม่ยอมให้ใบแดงและส่งคำร้องให้แก่ศาลฎีกาเหมือนกับหลายคดีข้างต้น(เป็นการช่วยนายบุญจงไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.) กลับมีมติเพียงว่าให้ดำเนินคดีอาญาแก่นายบุญจงเท่านั้น และยังดองคดีอยู่นานเกือบ 1 ปี
เปิดหลักฐาน มัด กกต.หมกเม็ดแจกใบแดง-ดองคดีอาญาอุ้มบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ?
(เรื่องร้องเรียน/คัดค้านการเลือกตั้ง)
มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 48/2551
วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน 2551
เรื่อง คัดค้านการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 6
เลขวาระ 71/51 สำนวนที่ 14 การเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค.50 ประกาศผลวันที่ 21 ม.ค.51
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ นายวีระศักดิ์ โหราศาสตร์
ผู้ค้ดค้าน
1. นายพลพรี สุวรรณฉวี (ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 3 เขต 6 พรรคเพื่อแผ่นดิน) (ได้รับเลือกตั้ง)
2. นายมีชัย จิตต์พิพัฒน์ (ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 4 เขต 6 พรรคเพื่อแผ่นดิน) (ได้รัรบเลือกตั้ง)
ผู้ถูกค้ดค้าน
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ (ผู้สมัคร ส.ส.หมายเลข 7 เขต 6 พรรคพลังประชาชน) (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)
ข้อกล่าวหา
1. หลอกลวง ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง เพื่อจูงใจฯ
2. จัดทำให้ เสนอให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง
1. ให้ยกคำร้องคัดค้านตามข้อกล่าวหาที่ 2 (ประเด็นที่ 2)
2. ให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ถูกคัดค้าน ตามข้อกล่าวหาที่ 1 (ประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2)
(นายภุชงค์ นุตราวงศ์)
รองเลขาธิการฯ ด้านกิจการการมีส่วนร่วม
ปฏิบัติหน้าที่แทน เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
และเลขานุการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
-----------------------------
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550
มาตรา 111 เมื่อประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดหรือผู้สมัครผู้ใดกระทำการใด ๆ โดยไม่สุจริตเพื่อที่จะให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำ ทั้งนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณา ในกรณีที่ปรากฏจากการไต่สวนของศาลฎีกาว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากรณีเป็นไปตามคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครผู้นั้นมีกำหนดเวลาห้าปี แล้วแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีทราบ
ในกรณีที่ศาลฎีกาได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นหยุดการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้อง และถ้าศาลฎีกามีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสิ้นสุดลง