ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มกราคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงความไม่พอใจ --------------------------------------- ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ฉบับที่ 1 /2552 เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 14 มกราคม 2552 วิกฤตการณ์ทางการเงินโลกส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมชะลอตัวรุนแรงและกระทบต่อการส่งออกของประเทศในภูมิภาคอย่างชัดเจน รวมถึงการส่งออกของไทยที่เริ่มหดตัว นอกจากนี้ อุปสงค์ภาคเอกชนยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวทั้งการบริโภคและการลงทุน ส่วนหนึ่งจากความเชื่อมั่นที่เปราะบาง อย่างไรก็ดี ภาวะการเมืองในประเทศที่มีเสถียรภาพมากขึ้นน่าจะเอื้อให้ภาครัฐสามารถดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องอันเป็นผลจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงมากในภาวะที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอลง คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระหว่างที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ และแรงกระตุ้นจากภาคการคลังอาจใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย 14 มกราคม 2552
เมื่อถูกถามผู้สื่อข่าวถามถึงงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จัดสรรให้กระทรวง ที่พรรคร่วมรัฐบาลกำกับดูแลน้อยกว่ากระทรวงที่พรรคประชาธิปัตย์กำกับดูแล นายสุเทพ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้พรรคร่วมเพื่อใช้พัฒนาพรรคการเมือง แต่เป็นการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้นำไปแก้ปัญหาของบ้านเมือง ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำก็เพื่อต้องการให้ประเทศชาติอยู่รอด ไม่ใช้ให้พรรคร่วมหรือรัฐบาลอยู่รอด อย่างไรก็ตาม หากพรรคร่วมข้องใจก็ให้มาสอบถามจากตนได้
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นชนวนให้เกิดแรงกระเพื่อม ที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ไม่รู้สึกหวั่นไหวภายหลังกลุ่มเพื่อนเนวินประกาศรวมกับพรรคภูมิใจไทย ที่อาจนำไปสู่การต่อรองตำแหน่งรวมถึงการปรับคณะรัฐมนตรีตามมา
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัมนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า
เชื่อว่าหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมา ทั้งในส่วนของการจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพ รายละ 2,000 บาท รวมถึงเบี้ยผู้สูงอายุ และค่าจ้างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน( อสม.) และเงินลงทุนต่างๆ สามารถเบิกจ่ายได้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน น่าจะทำให้ตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ไม่ติดลบ และกลับมาอยู่ในแดนบวกได้ เนื่องจากงบฯกลางปี 2552 จะทำให้ให้เกิดการกระตุ้นจีดีพีโดยตรง จำนวน 1.2% และจะเกิดการหมุนเวียนในระบบอีก 1.2-2% ดังนั้น สศช.ประเมินว่าจีดีพีในปี 2552 น่าจะอยู่ที่ 2-2.5%
นายสันติ วิลาสศักดานนนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในเบื้องต้น มีความพอใจกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ที่เน้นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและผู้ว่างงาน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินมาตรการโดยเร็วพร้อมกันทั่วประเทศ และเมื่อดำเนินไปแล้ว 3-6 เดือน ต้องประเมินว่า เพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอก็สามารถจะพิจารณาเพิ่มงบประมาณได้อีก
----------------------------------------------