อู่ตะเภา ทัพสถานแห่งลูกประดู่ สู่สนามบิน จำเป็น ของนายกฯ นาม สมชาย

พลิกปูมประวัติสนามบินกองทัพเรือ ครั้งสงครามเวียดนาม ทำความรู้จัก "อู่ตะเภา" สนามบินที่นายกฯ จะใช้ร่อนลงเมื่อ "สุวรรณภูมิ" และ "ดอนเมือง" ถูกฝ่ายต่อต้านบุกยึด

จากกรณีที่มีกระแสข่าวหนาหูว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี จะโดยสารเครื่องบินกลับจากการประชุมเอเปกที่ประเทศเปรู ลงจอดที่สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ช่วงค่ำวันที่ 26 พ.ย. ภายหลังที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่ไปปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิ จนทำให้สายการบินต่างๆ ต้องยกเลิกเที่ยวบินและเครื่องบินไม่สามารถร่อนลงจอดที่สุวรรณภูมิได้

หลายคนอาจไม่รู้จักความเป็นมาของสนามบินแห่งนี้มากนัก ทั้งที่เป็นสนามบินของทหารกองทัพเรือ

ซึ่งมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองไทยมายาวนาน สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (ท่าอากาศยานอู่ตะเภา) ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร 190 กิโลเมตร ที่ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ และกองการท่าอากาศยาน อู่ตะเภา


สนามบินแห่งนี้สร้างโดยโครงการร่วมระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2505 บนพื้นที่ 20,000 โดยมีจุดประสงค์รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ ที่สามารถวิ่งขึ้นไปบินโจมตีฝ่ายเวียดนามเหนือได้ แรกเริ่มกองทัพเรือได้สำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้างสนามบินทหารเรือ บริเวณจังหวัดชลบุรี ถึงจังหวัดระยองในปี พ.ศ. 2504 ระหว่างนั้นกระทรวงกลาโหมอนุมัติให้ตั้งฝูงบินทหารเรือเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการและใช้สนามบินกองทัพอากาศที่ดอนเมืองเป็นการชั่ว
 
ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณสร้างสนามบินของกองทัพเรือ ที่หมู่บ้านอู่ตะเภา จังหวัดระยอง

โดยสร้างทางวิ่งลาดยางยาวประมาณ 1,200 เมตร การก่อสร้างสนามบินของกองทัพเรือที่อู่ตะเภาเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากวิกฤตการเวียดนามทวีความรุนแรง รัฐบาลสหรัฐฯ จึงเห็นความจำเป็นต้องสร้างฐานบินขนาดใหญ่ในประเทศไทยเพิ่ม จึงมีการเจรจาระหว่างรัฐบาล ผลสุดท้ายคณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้รัฐบาลสหรัฐฯ สร้างสนามบินถาวรที่ทันสมัย ที่สนามบินของกองทัพเรือ หมู่บ้านอู่ตะเภา เมื่อพ.ศ. 2508


จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ในขณะนั้น) มีคำสั่งมอบสนามบินให้กองทัพเรือและให้เป็นผู้ดูแลรักษาโดยใช้ชื่อสนามบินว่า "สนามบินอู่ตะเภา" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 สหรัฐอเมริกาได้ถอนทหารออกจากสนามบินอู่ตะเภาและประเทศไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบินอู่ตะเภา เป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศและใช้เป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง

ปัจจุบันกองทัพเรือเป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภาและพัฒนาให้เป็นสนามบินพาณิชย์ร่วมกับกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม โดยปฎิบัติภารกิจสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีผู้แทนส่วนราชการเป็นกรรมการบริหาร และให้กองทัพเรือเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ

ส่วนสนามบินพานิชย์อื่นๆ ในประเทศไทย ยังมีอีก 52 แห่ง แบ่งเป็น ภาคกลาง 5 แห่ง ตั้งอยู่ที่ จ.ลพบุรี 2 แห่ง นครปฐม (อ.กำแพงแสน), สระแก้ว (อ.วัฒนานคร) และปราจีนบุรี (เขาอีโต้) อีกจังหวัดละ 1 แห่ง

ภาคเหนือ 16 แห่ง แบ่งเป็น จ.เชียงราย 2 แห่ง, เชียงใหม่ 2 แห่ง, แม่ฮ่องสอน 1 แห่ง, น่าน 1 แห่ง, เพรชบูรณ์ 2 แห่ง, นครสวรรค์ 1 แห่ง, ลำปาง 1 แห่ง, แพร่ 1 แห่ง, พิษณุโลก 1 แห่ง, สุโขทัย 1 แห่ง และตากอีก 3 แห่ง

ภาคใต้  12 แห่ง แบ่งเป็น จ.กระบี่ 1 แห่ง, ชุมพร 1 แห่ง, นราธิวาส 1 แห่ง, ตรัง 1 แห่ง, ปัตตานี 1 แห่ง, ภูเก็ต 1 แห่ง, ระนอง 1 แห่ง, สงขลา 2 แห่ง, สตูล 1 แห่ง, นครศรีธรรมราช 1 แห่ง และสุราษฏร์ธานี 2 แห่ง

ภาคอีสาน 14 แห่ง แบ่งเป็น จ.สกลนคร 1 แห่ง, สุรินทร์ 1 แห่ง, ขอนแก่น 2 แห่ง, นครราชสีมา 2 แห่ง, นครพนม 1 แห่ง, บุรีรัมย์ 1 แห่ง, ร้อยเอ็ด 2 แห่ง, เลย 2 แห่ง, อุดรราชธานี 1 แห่งและอุบลราชธานี 1 แห่ง

ภาคตะวันออก 1 แห่ง คือสนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง และสุดท้ายภาคตะวันตก อีก 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ อาจมีสนามบินบางแห่งที่ปิดให้บริการไปแล้วด้วย

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีสนามบินพานิชย์อยู่หลายแห่ง ที่ยังเปิดใช้บริการอยู่ทั่วประเทศ ทั้งที่ยังไม่นับรวมกับสนามบินของทหารอีกมากมาย เชื่อว่าหากมีความจำเป็นแล้ว นายสมชายสามารถเลี่ยงหลีกเพื่อร่อนลงจอดได้ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากสำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะตามไปต้อนรับอย่างถึงที่
 

 
*******************************

เรียบเรียงโดย น.ส.วรินธร สิงหาโภค นักศึกษา ปี4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์