ตนอยากให้สังคมไทยเวลานี้มองข้ามตัวบุคคลไปได้แล้วไม่ใช่มาอยู่ที่จะเอาหรือไม่เอา พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะตนไม่อยากให้คนไทยต้องมาฆ่าหรือมาทะเลาะกันเพราะเรื่องของคนเพียงคนเดียว จึงอยากให้ผู้นำของทั้ง 2 ฝ่าย คือ พันธมิตรฯ และ นปช. ต้องมองข้ามเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ไปได้แล้ว อย่าให้คนไทยต้องมาเกลียดชังกันเอง
นายปริญญา กล่าวต่อว่า
จากการฟัง พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอืนเข้ามานั้น คิดว่าคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นห่วงและกังวลใจมากที่สุดคือ คดียึดทรัพย์ 7.3หมื่นล้านบาท เนื่องจากคดีอาญาไม่สามารถดำเนินการได้ ถ้าไม่มีการเปิดศาลนัดแรกเพราะในการพิจารณาคดีอาญาต้องให้จำเลยมาขึ้นศาล รับทราบข้อกล่าวหาก่อน
ส่วนคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เหลืออยู่จึงเดินหน้าไม่ได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มารับทราบข้อกล่าวหา แต่ในทางตรงกันข้ามคดียึดทรัพย์ ไม่ใช่คดีอาญา เพราะศาลคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถพิจาณราคดีลับหลังได้ เว้นแต่ พ.ต.ท.ทักษิณจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินที่ได้มานั้นได้มาโดยชอบก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี หรือได้มาด้วยความสุจริต ก็สามารถนำมาพิสูจน์กันในศาล และถ้าพิสูจน์ได้ศาลก็จะคืนทรัพย์สินตรงนั้นให้กับจำเลย ซึ่งตนเห็นว่าการพิสูจน์ในศาลเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่น่าจะมีอะไรต้องเป็นที่กังวล หากทรัพย์สิน 7.3 หมื่นล้านบาทนั้นได้มาโดยชอบ
ด้านนายสุรพงษ์ กองจันทึก คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ฯ สภาทนายความ กล่าวว่า การโฟนอินของพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า
สามารถทำได้ตามสิทธิ ถ้าหากไม่ได้ไปพูดพาดพิงใครในทางที่เสียหาย แต่ขอเตือนสื่อของรัฐโดยเฉพาะ NBT ที่จะนำไปเผยแพร่ นั้นควรพิจารณาถ้อยคำต่างๆให้ดี สำหรับประเด็นในเรื่องการถวายฎีกา เพื่อให้อภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ตนเห็นว่าขบวนการของพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่สิ้นสุด เพราะยังมีเวลาอีก30วัน ในการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อขบวนการยังไม่สิ้นสุดจึงไม่สามารถบอกได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิด และพ.ต.ท.ทักษิณ จึงสามารถเข้าสู้กระบวนการต่อสู้ได้ ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาสู้คดีที่ประเทศไทย โดยไม่ต้องไปอ้างใคร เมื่อคดีสิ้นสุด ก็สามารถถวายฎีกาได้
"ผมขอเตือนว่าในเรื่องของการถวายฎีกาถือเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปกดดันพระราชอำนาจด้วยการล่ารายชื่อคนเป็นแสนๆ รายชื่อเพราะเพียงแค่ชื่อเดียวก็สามารถถวายฎีกาได้แล้ว ดังนั้นอย่าไปกดดันพระราชอำนาจเด็ดขาด" นายสุรพงษ์ กล่าว.