เมื่อเวลา 10.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
กล่าวถึงกรณีที่ผู้บัญาการเหล่าทัพออกมาส่งสัญญาณให้นายกรัฐมนตรีว่าจะต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกว่า ตนยืนยันว่าการแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเป็นเรื่องที่จำเป็น
ในความเห็นของตนยังคิดว่าการยุบสภาน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่าสำหรับบ้านเมือง เหตุผลเพราะว่าหากมีการลาออกก็มีอยู่ 3 ทางคือ
1.รัฐบาลเดิมหาคนใหม่มาเป็นนายกฯ ถ้าเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช มาเป็นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ ผมไม่คิดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นอะไรให้กับประชาชนได้เลย เพราะจะมีบุคลากรจำนวนมากซึ่งร่วมกันกระทำผิดอีก แล้วยังอยู่ในคณะรัฐบาลต่อไป
2.มีการเปลี่ยนขั้ว สมมติว่าเกิดขึ้นจริงและหากเปลี่ยนขั้วพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ประโยชน์เป็นรัฐบาลแน่นอน ผมก็มองว่าแรงต่อต้านในสังคมและความขัดแย้งยังมีอยู่ เพราะต้องยอมรับว่ามีผู้สนับสุนนรัฐบาลจำนวนไม่น้อยที่มองว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เปลี่ยนขั้วอย่างนี้ และ
3.ไม่มีขั้ว คือ การมีรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลพิเศษ ซึ่งเราเคยเสนอเรื่องนี้มาแล้วในช่วงที่นายสมัคร พ้นจากตำแหน่ง แต่ข้อเท็จจริงพรรคการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลไม่พร้อมและไม่ยอมรับความจริงเพราะว่าจะกระทบสัดส่วนตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัฐบาลของพรรคการเมืองด้วยกัน ส่วนการจะไปหาคนนอก คนกลางมาเสริมในรัฐบาลซึ่งไม่นับปัญหาว่าใครจะมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งต้องมาจากการเลือกตั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะหาคนที่ทุกฝ่ายยอมรับว่าเป็นกลางจริงๆ เพราะฉะนั้นการผลักไปให้ประชาชนตัดสินใจเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นคำตอบ และเป็นทางออกที่น่าจะเป็นจริงมากกว่า
ต่อข้อถามว่าหากประชาชนไม่ยอมรับ เพราะรัฐบาลอาจจะมาจากพรรคพลังประชาชน ปัญหาก็จะกลับมาเหมือนเดิม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าการกลับเข้ามาของรัฐบาล ถ้าการเลือกตั้งสุจริตก็เป็นหน้าที่ของทุกคนต้องช่วยกัน เราจะเห็นว่านายสมัครมารับตำแหน่งนายกฯ ไม่มีการประท้วง ซึ่งก็มีคนที่ไม่พอใจแน่นอน แต่ก็ไม่มีการประท้วง เพราะเขายอมรับการเลือกตั้งขณะนั้น แต่การประท้วงเริ่มต้นเมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเริ่มทำผิดกฎหมาย ทำผิดรัฐธรรมนูญ คิดที่จะเข้ามาบริหารประเทศเพื่อตัวเอง เพื่อพวกพ้อง
ดังนั้นถ้าเลือกตั้งเข้ามาใหม่ใครจะชนะก็แล้วแต่ ตนคิดว่าสังคมยอมรับและให้โอกาส แต่โอกาสนั้นต้องถูกใช้ไปเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน
ต่อข้อถามว่ามีการวิเคราะห์ที่ผบ.เหล่าทัพออกมาแสดงความคิดเห็นถือเป็นการส่งสัญญาณอะไรถึงรัฐบาลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าว่า
ตนถือวาเป็นการสะท้อนของกลุ่มบุคคลหนึ่งในสังคมและเห็นได้ชัดว่าเป็นการสะท้อนถึงความอึดอัดกับสภาพความไม่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองที่เกิดขึ้น คิดว่าจะเป็นแรงกดดันที่ทำให้เกิดการปฏิวัติขึ้นหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราหวังว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราไม่สนับสนุนการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งเราเชื่อว่าสิ่งที่เหล่าทัพเลือกใช้วิธีที่จะพูดกับสื่อสารมวลชน ก็เป็นการบ่งบอดกว่าเขาก็ไม่อยากที่จะทำรัฐประหาร
เพราะฉะนั้นตนถึงยังย้ำว่าถึงวันนี้นายสมชายมีความรับผิดชอบต่อประเทศ รับผิดชอบต่อประชาชนและมีความรับผิดชอบต่อระบอบประชาธิปไตย ถึงเวลาที่นายสมชายต้องตัดสินใจให้ประเทศเดินหน้าได้ ไม่ใช่คิดถึงแต่การอยู่ในอำนาจของตัวเองแล้วบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะที่ประชาชนไม่รู้จะพึ่งใครในการแก้ไขปัญหา และมีความเสี่ยงต่อความรุนแรง มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียประชาธิปไตย
ดังนั้น ความรับผิดชอบอยู่ที่นายสมชายว่าจะตัดสินใจหรือไม่ ซึ่งตนไม่มีสิทธิ์ที่จะไปขีดเส้นตายว่าเมื่อไหร่ เพียงแต่บอกว่ายิ่งช้าไปเท่าไหร่โอกาสที่ประเทศเดินหน้าก็หมดไปเท่านั้น และยิ่งช้าไปเท่าไหร่สิ่งที่เป็นคำตอบ ทางออก อาจจะไม่เป็นคำตอบต่อไปก็ได้ และยิ่งทำเร็วเท่าไหร่การยอมรับที่จะทำให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้ก็มีสูง แต่ถ้ายื้อไปความรุนแรงในเชิงอารมณ์และความขัดแย้งก็จะมีมากซึ่งจะทำให้ปัฐหาแก้ไขได้ยาก
ต่อข้อถามว่าหากพรรคร่วมรัฐบาลถอนตัว แล้วมาจับขั้วกับพรรคประชาธิปัตย์จะรับหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า
ต้องมาประเมินกันว่าความยอมรับและการทำให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้จริงๆ เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนที่ทางพรรคร่วมรัฐบาลออกมาพูดค่อนข้างชัดว่าจะรอดูการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ 15 วันก่อน หากผลออกมารัฐบาลผิดก็พร้อมที่จะลาออกนั้น ตนเห็นว่าคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเป็นอิสระแต่ชื่อ แต่รูปแบบไม่ใช่ เพราะตั้งโดยนายกฯ ตนยังนึกไม่ออกว่าผลสอบขจะมีผลต่อรัฐบาลอย่างไร ถึงยันยันว่าเราไม่ใช่ว่าเชื่อมั่นตัวบุคคล แต่รูปแบบไม่ใช่คณะกรรมการอิสระที่จะมาสอบเรื่องแบบนี้ สู้ให้ป.ป.ช.หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เรียกครม.ไปให้การก็ได้ ถึงจะได้ความจริงออกมาว่า มีการสั่งการหรือมีความรับผิดชอบบ้านเมืองหรือไม่