...พ่อแม่ไปทำงานฝากลูกก่อนวัยอนุบาลให้พี่เลี้ยงหรือเนอร์สเซอรี่เป็นผู้ดูแล...คนชราถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว เฝ้าบ้าน หรือเลี้ยงหลาน.....
เป็นภาพชีวิตคนเมืองหลวงที่เราเห็นจนชินตาและกลายเป็นความเคยชินในการปฏิบัติ เนื่องจากถูกบีบบังคับด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหากถามถึงส่วนลึกในใจพ่อแม่ทุกคนคงปรารถนาอยากเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง เนื่องจากแม้พ่อแม่จะฝากลูกไว้กับผู้ที่คิดว่าไว้ใจได้ก็ตามแต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือ บทบาทการเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองของพ่อแม่ลดลง เกิดช่วงเวลาที่พ่อแม่ต้องห่างจากลูกอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง คิดเฉพาะเวลาทำงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง ความห่างเหินนี้ แน่นอนว่า ย่อมมีผลต่อพัฒนาการของเด็กวัยนี้ไม่ อาทิ ทำให้เด็กไม่ได้ดื่มน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ ขาดการเห็นและมีส่วนร่วมในพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด อีกทั้งอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่ได้รับการเติมเต็มในความรักความผูกพันจากพ่อแม่อย่างเต็มที่
ในส่วนของผู้สูงอายุหรือคนชราที่อยู่บ้านอย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพัง เนื่องจากความจำกัดของลูกหลานที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
ทำให้ไม่สามารถดูแลผู้อาวุโสเหล่านี้ได้อย่างแท้จริงสมกับความตั้งใจดีของบุตรหลาน ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านเพียงลำพังทำให้รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง มีปัญหาทางภาวะจิตใจ และหากผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพ ย่อมยิ่งเป็นภาระหนักในการดูแล ครอบครัวบางครอบครัวต้องจ้างพยาบาลพิเศษซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในอัตราสูง ครอบครัวที่ไม่มีรายได้พออาจต้องให้ภรรยาลาออกจากงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ครอบครัวต้องขาดรายได้ที่อาจจำเป็นต่อความอยู่รอดของครอบครัวไปจำนวนหนึ่ง
การเปิด “เนอร์สเซอรี่สองวัย” จึงเป็นแนวทางที่ผมได้นำเสนอไว้ในหนังสือ “กรุงเทพฯที่ผมฝัน” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
โดยส่งเสริมให้สถานประกอบการ หรืออาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีพนักงานรวมกันแล้วมากกว่า 200 คนขึ้นไป จัดสร้างเนอร์สเซอรี่สำหรับเด็กปฐมวัยและเนอร์สเซอรี่สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีการประกันคุณภาพอยู่ภายในสถานประกอบการด้วย โดยแยกเป็นเนอร์สเซอรรี่สำหรับเด็ก และ เนอร์สเซอรีสำหรับผู้สูงอายุ หากสถานประกอบการนั้นมีขนาดใหญ่ไม่พออาจจัดให้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่หลาย ๆ บริษัทจะสามารถเข้าร่วมโครงการได้
การมีเนอร์สเซอรีสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนและเนอร์สเซอรีสำหรับผู้สูงอายุในสถานที่ทำงาน จะช่วยสนับสนุนบทบาทผู้หญิงให้มีโอกาสทำหน้าที่ของตนเองได้แม้อยู่ในสภาพที่จำกัด
เมื่อถึงเวลาพักสามารถมาดูแลบุตรหรือผู้สูงอายุ สามารถให้ความอบอุ่นอย่างใกล้ชิดได้ ทำให้เด็กได้รับการตอบสนองทางกายภาพและจิตใจจากมารดาได้มากขึ้น เป็นการช่วยลดความรู้สึกเหงาว้าเหว่ในจิตใจของเด็ก ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีเมื่อเขาเติบโตขึ้น ส่วนผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกันก็จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดลูกหลาน ลูกหลานได้มีโอกาสปรนนิบัติได้ดีกว่าปล่อยให้อยู่ที่บ้านเพียงลำพัง อีกทั้งผู้สูงอายุก็จะได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนในวัยเดียวกัน มีเพื่อนคุย ทำกิจกรรมร่วมกัน ย่อมช่วยลดความเหงาและว้าเหว่ลงไปได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาระยะยาวที่จะเกิดขึ้นในสังคมได้เป็นอย่างดี
ดร.แดนกับนโยบาย เนอร์สเซอรี่สองวัย...เพื่อคนสามวัยใกล้ชิดผูกพัน
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ดร.แดนกับนโยบาย เนอร์สเซอรี่สองวัย...เพื่อคนสามวัยใกล้ชิดผูกพัน
ดร.แดน กับ นโยบาย เนอร์สเซอรี่สองวัย...เพื่อคนสามวัยใกล้ชิดผูกพัน
หมายเลข 2 ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!