กรุงเทพฯ เป็นเมืองหนึ่งที่ถูกจับตามองว่า สุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม อันเนื่องจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติถี่มากขึ้น โดยเฉพาะพายุจากทะเลจีนใต้ ผลการศึกษาหลายชิ้นที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) และหน่วยงานอื่น ๆ พบว่า ภายในปี พ.ศ.2558 จะมีเมืองอย่างน้อย 21 เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง มีความเสี่ยงสูงที่จะจมน้ำ โดยหนึ่งในนั้นคือ กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ที่ส่งผลให้ กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองน้ำท่วมในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น การทรุดตัวของแผ่นดินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกรมแผนที่ทหารได้ทำการสำรวจพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมามีการทรุดตัวของแผ่นดินในหลายพื้นที่ เขตที่ดินทรุดมากที่สุด คือ เขตบางกะปิ ทรุดตัวลงไปถึง 1 เมตร การเตรียมการเพื่อรองรับน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ในขณะนี้เป็นเพียงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลากเท่านั้น ถือว่ายังมีความน่าเป็นห่วงว่า อาจไม่พอสำหรับการรับมือกับปัญหาปริมาณน้ำที่มีมาก รวมถึงกำลังสูบน้ำที่มีอยู่ อาจไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำที่มีมากหากเกิดพายุพัดเข้ามาทางปากแม่น้ำ
กรุงเทพฯ จึงอยู่ในความเสี่ยงสูงในการที่จะเกิดน้ำท่วมขังอย่างรุนแรง เป็นเหมือนเมืองอยู่ในน้ำ
ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในกรุงเทพฯ เท่านั้น รวมถึงหากมีน้ำท่วมขัง ที่จะส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง โดยเฉพาะน้ำเสียที่รวมกับน้ำในคลอง เป็นแหล่งรวมเชื้อโรค เช่น เชื้อราหรือโปรโตซัว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของทุกคน
การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมขังนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ กทม. ต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการประสาน ผลักดันการรับมือกับน้ำท่วม กับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง
เพราะเรื่องน้ำท่วม เป็นการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการป้องกันปัญหาในอนาคต ตัวอย่างเช่น จัดการน้ำก่อนมาถึง กทม. เน้นประสานกับจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ สร้างแนวป้องกันน้ำ เช่น การสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะของคลื่นตามชายฝั่ง ศึกษาแนวทางป้องกันปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานที่เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังต้องบริหารจัดงานงานประจำที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวกรุงเทพฯ ว่าน้ำจะไม่ท่วมขัง ด้วยสาเหตุท่อระบายน้ำอุดตัน คูคลองตื้น โดย กทม.จะมีป้ายกำหนดการขุดลอกคูคลอง และป้ายขุดลอกท่อระบายน้ำ ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบว่าทางกทม. ได้เข้ามาตรวจสอบแล้ว และกำหนดวันที่ชัดเจนว่า จะเข้ามาดำเนินการขุดลอกเมื่อไร หากทาง กทม. ไม่ได้เข้ามาดำเนินการตามที่ได้แจ้งไว้ ประชาชนสามารถร้องเรียนได้
เรื่องโลกร้อน น้ำท่วม ต้องเป็น “เรื่องร้อน” ที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาพูดคุย และเตรียมรับมือ โดยผมจะประสาน ผลักดันทุกฝ่าย เพื่อ กทม. ในปี 2020 จะเป็นเมืองน่าอยู่ ที่ชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องกลัวน้ำท่วม
ดร.แดนกับนโยบาย กรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมขัง ต้องเตรียมรับมือ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ดร.แดนกับนโยบาย กรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมขัง ต้องเตรียมรับมือ
กรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมขัง ต้องเตรียมรับมือ
หมายเลข 2 ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!