วันนี้ (29 ส.ค.) สภาทนายความออกแถลงการณ์ เรื่องให้เจ้าหน้าที่ตํารวจงดใช้การกระทําที่รุนแรงต่อประชาชนในคดีแพ่งตามที่ได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเป็นคดีแพ่งเพื่อขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเกี่ยวกับการที่ประชาชนร่วมชุมนุมและเข้าไปอยู่ในสถานที่ของทางราชการ (สํานักนายกรัฐมนตรี) นั้น นอกจากเป็นการชุมนุมโดยสงบของประชาชนที่ไม่เห็นชอบด้วยกับการปฏิบัติหน้าที่ ของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย แต่การฟ้องร้องในคดีนี้เป็นคดีแพ่งเป็นการขอให้ศาลแพ่งมีคําสั่งไต่สวนฉุกเฉินเกี่ยวกับการขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อให้คู่กรณี คือ พล.ต.จําลอง ศรีเมือง กับพวกรวม 6 คน ออกจากสถานที่ราชการดังกล่าวนั้น สภาทนายความเห็นว่าการดําเนินการบังคับตามหมายห้ามชั่วคราวของศาลของเจ้าหน้าที่ตํารวจนั้นกระทําไปอย่างไม่ชอบด้วยข้อกฎหมาย จึงขอแถลงการณ์มาเพื่อทราบและให้ดําเนินการแก้ไขโดยเร็ว ดังนี้
1. คดีดังกล่าวนั้นเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญาและไม่ใช่คดีที่มีคําสั่งศาลให้ เจ้าหน้าที่ ตํารวจปฏิบัติต่อประชาชนทั้งหมดในที่ชุมนุม เป็นกรณี ที่ใช้บังคับกับคู่ความในคดี คือ พล.ต.จําลอง ศรีเมือง กับพวกรวม 6 คน เท่านั้น
2. คดีแพ่งดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับกับประชาชนที่ไม่ใช่ คู่กรณี ดังนั้นจึงไม่มีกฎหมายรองรับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อประชาชนได้โดยใช้กําลังและอาวุธ อนึ่ง ในขณะนี้คําสั่งของศาลแพ่งที่ให้มีการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ได้ มีการอุทธรณ์คําสั่งต่อศาลอุทธรณ์แล้ว กรณีจึงควรต้องรอการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่ยุติก่อน ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนหรือเลือกที่จะปฏิบัติต่อประชาชนมีการยื้อยุดฉุดกระชากทําให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. สภาทนายความเห็นว่าการกระทําดังกล่าว สํานักงานตํารวจแห่งชาติต้องสั่งให้เจ้าหน้าที่ตํารวจที่เกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลมีหน้าที่ต้องดําเนินการโดยเร็วหยุดการกระทําดังกล่าวนั้นโดยทันที และในขณะเดียวกันต้องนําตัวผู้ที่มีการออกคําสั่งดังกล่าวมาดําเนินการสอบสวนดําเนินคดีต่อไป จึงขอแถลงการณ์มาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
วันเดียวกัน สภาทนายความออกแถลงการณ์อีกฉบับ เรื่อง การปฏิบัติต่อการชุมนุมของประชาชนในสถานที่ราชการตามที่เป็นข่าวและทราบกันโดยทั่วไปว่า มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทั้งในด้านนโยบายและความไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ หน้าที่ที่เป็นเรื่องเรื้อรังระหว่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับรัฐบาลตลอดระยะเวลามากกว่า 90 วัน ขณะนี้เป็นกรณีที่ มีการชุมนุมขยายวงกว้างเข้าไปอยู่ในเขตของทางราชการ (สํานักนายกรัฐมนตรี) บริเวณตึกไทยคู่ฟ้าและอาคารโดยรอบ ซึ่งเป็นกรณีที่มีการประจันหน้ากันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน สภาทนายความเห็นว่า เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว การกระทําตามขั้นตอนหลักของกฎหมายและหลั กของกระบวนการยุติธรรม ควรที่จะนํามาใช้กับกรณี เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์ลุกลามไปเป็นเรื่องที่บานปลายจนไม่อาจที่จะระงับได้และอาจจะมีผลทําให้เกิดกรณี เลือดตกยางออก ซึ่งเป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจระหว่างผู้บังคับใช้กฎหมายในภาครัฐบาลกับประชาชนผู้ร่วมชุมนุมได้ จึงขอแถลงการณ์มาเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นําไปพิจารณาและปฏิบัติ ดังนี้
1. สิทธิของประชาชนในด้านของการชุมนุมและการแสดงออกซึ่งความเห็นทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองโดยชอบที่ได้รับการคุ้มครองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกและได้ให้สัตยาบันแล้ว และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. อย่างไรก็ดี การใช้สิทธิชุมนุมนั้นจะต้องไม่ขัดต่อบทกฎหมายโดยชัดแจ้ง และจะต้องเป็นไปตามกรอบของการปฏิบัติเกี่ยวกับการชุมนุมโดยถูกต้อง การเข้าไปในสถานที่ราชการถือว่าเป็นสิทธิอันชอบที่ประชาชนมีสิทธิที่จะเข้าไปได้ แต่การใช้สถานที่ราชการนั้นก็ต่องเป็นไปในลักษณะที่เป็นประโยชน์กับประชาชนโดยรวมการไปยึดอาคารสถานที่ราชการเพื่อเป็นการประท้วงรัฐบาลนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยข้อถือปฏิบัติ แม้จะเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเข้าไปในสถานที่ราชการนั้นก็ตาม
3. การปฏิบัติใดๆ ต่อผู้ชุมนุมซึ่งได้รวมตัวกันเพื่อประท้วงนโยบายของรัฐบาลถึงความไม่เหมาะสมหรือความไม่ชอบแม้จะเป็นมุมมองที่ แตกต่างกันรัฐบาลก็ไม่ควรสั่งหรือดําเนินการให้มี ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเกี่ยวกับการใช้กําลังที่จะดําเนินการกับผู้ชุมนุม เพราะไม่ มีบทบัญญัติกฎหมายใดอนุญาตให้ทําเช่นนั้นได้ การดําเนินการต่างๆ เกี่ยวการละเมิด รัฐบาลจำเป็นต้องดําเนินการไปในกระบวนการศาลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
4. ในกรณีที่มีการดําเนินการกับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย หน่วยงานราชการหรือรัฐบาลจะต้องดําเนินการโดยความโปร่งใส ไม่มีการซ่อนเร้น กลั่นแกล้ง ยัดเยียด และปกปิดข้อมูลใดที่ประชาชนควรจะได้รับทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิและเสรี ภาพในระบอบประชาธิ ปไตย แม้บางครั้งจะต้องมี ความอดทนต่อการร่วมชุมนุมที่ทําให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการดําเนินการอย่างใดๆ ของหน่วยงานของรัฐก็ตาม กรณีดังกล่าวนี้ก็ควรจะถือเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่โดยการใช้กําลังเพื่อขจัดให้มีการสลายการชุมนุมหรือทําให้การชุมนุมนั้นสลายไป
5. หากมีข้อขัดแย้งอย่างใดๆ ก็ต้องรีบนําเสนอต่อกระบวนการยุติธรรม ใช้สิทธิของตนตามกรอบของกฎหมายในการเสนอข้อเท็จจริงให้ศาลเพื่อให้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งแล้วแต่กรณี จึงขอแถลงการณ์มาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน ลงชื่อ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ