พิจิตต โต้ป.ป.ช.ปัดรับสินบนทุจริตซื้อที่ 270ล.-หลังมีมติฟัน11บิ๊ก กทม.กราวรูด

พิจิตต รัตตกุล′โต้รับสินบนคดีทุจริต ซื้อที่ดินทิ้งขยะ กทม270 ล้าน โวยอย่าโยงให้แปดเปื้อน หลัง ป.ป.ช.มีมติฟันพร้อมพวกกราวรูด 11 คนล้วนระดับบิ๊ก รองผู้ว่า-ปลัด-ผู้อำนวยการสำนัก ทุจริตจัดซื้อที่ดินจอดรถขยะมูลค่า 270 ล้าน ให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องศาลฎีกานักการเมือง

นายพิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่ากรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้สัมภาษณ์′มติชนออนไลน′ถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติชี้มูลความผิดนายพิจิตต  รัตตกุล กับพวกรวม11 คนตั้งแต่ระดับรองผู้ว่าฯ  ปลัด กทม. ผู้อำนวยสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตทุจริตจัดซื้อที่ดินตาบอดมูลค่า 270 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2540ว่า ขณะนี้เรื่องการซื้อขายที่ดิน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษากรณีข้อพิพาททางเข้าออกที่ดินของกทม. แล้ว ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กทม.ดำเนินการเพื่อการใช้ที่ดินด้วยสิทธิชอบธรรมอย่างถูกกฎหมายมาตลอด ทั้งนี้ ในการจัดซื้อที่ดินดังกล่าว เริ่มมาตั้งแต่สมัยนายกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา อดีตผู้ว่าราชการกทม. พิจารณาดำเนินการมาก่อน ผ่านคณะกรรมการหลายชุด มีการต่อรองราคากันถึง 5 ครั้ง เนื่องจากตนไม่ยินยอม กระทั่งมอบหมายให้ นายประเสริฐ สมะลาภา อดีตปลัดกทม.ไปดำเนินการต่อ และยังนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในสภากทม.เห็นชอบอีกด้วย
 
"เรื่องนี้ ผมยังฟ้องร้องในศาลปกครอง  เรื่องของราคาประเมินว่ามีมูลค่าแพงเกินไป ทั้งที่เป็นที่ดิน ซึ่งกทม.ใช้เป็นที่สมประสงค์มาโดยตลอด และไม่ใช่ที่ดินตาบอด ไม่ได้สร้างความเสียหายใดให้กับกทม.เลย ส่วนที่ว่า มีเงินผ่านเข้าบัญชีผู้ว่าฯนั้น ผมขอปฏิเสธ เป็นคนละเรื่องกันซึ่งการชำระค่าซื้อขายที่ดินเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ดำเนินการ อย่าโยงปัญหานี้มาให้ผมแปดเปื้อน" นายพิจิตต กล่าว

 
ก่อนหน้านี้ป.ป.ช.มีมติเมื่อวันที่ 19  สิงหาคม 2551 ชี้มูลความผิดนายพิจิตต  รัตตกุล อดีตผู้ว่ากรุงเทพมหานคร(กทม.) กับพวกกราวรูด 11 คน

ตั้งแต่ระดับรองผู้ว่าฯ  ปลัด กทม. ผู้อำนวยสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตทุจริตจัดซื้อที่ดินตาบอดมูลค่า 270 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2540  สำหรับจอดรถขยะ พบหลักฐานมัดจ่ายเป็นเช็คเงินสดเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี-ค่าธรรมเนียม  มีเงินไหลเข้าบัญชีผู้ว่าฯ-ปลัด ให้ส่งให้อัยการสูงสุดฟ้องศาลฎีกาของผุ้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายกล้านณงค์ จันทิก โฆษกและกรรมการ ป.ป.ช.แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า  ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีการกล่าวหา นายพิจิตต รัตตกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่า กทม.กับพวก ว่า ร่วมกันทุจริตการจัดซื้อที่ดินเขตบางซื่อ เพื่อใช้เป็ นที่จอดรถขยะของ กทม.เมื่อปี 2540 วงเงิน 270 ล้านบาท

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ...

กทม.ได้จัดทำประกาศสำนักงานเขตบางซื่อ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ขอซืซื้อที่ดินจากประชาชน โดยแจ้งว่า  กทม. มีความประสงค์จะซื้อ ที่ดินที่อยู่ในเขตบางซื่อ จำนวนไม่ตํ่ากว่า 5 ไร่ ปรากฏว่า มีผู้สนใจจะขายที่ดิน จำนวน 2 ราย แต่นายชวนพัฒนวรานนท์ ผู้อำนวยการเขตบางซื่อ ขณะนั้นมีหนังสือขอทราบราคาประเมินที่ดินเฉพาะแต่ของผู้ขายที่ดินซึ่งเป็นเอกชนผู้หนึ่งไปยังสำนักงานที่ดิน กทม.ร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั้งที่ ที่มีผู้เสนอขายที่ดิน จำนวน 2 ราย และไม่ได้สอบถามราคาประเมินที่ดินที่เสนอขายทุกแปลงโดยหลีกเลี่ยงไม่สอบถามราคาของที่ดินส่วนใหญ่ที่มีราคาประเมินตํ่า

 
นอกจากนี้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินไม่ติดทางสาธารณะและไม่มีทางภาระจำยอมสำหรับใช้ผ่านเข้า - ออก คงมีทางภารจำยอมสำหรับที่ดินจัดสรรตามประกาศคณะปฏิวัติฯ เท่านั้น

แต่นายชวน พัฒนวรานนท์ ได้รายงานนายประเสริฐ สมะลาภา ปลัดกรุงเทพมหานคร ว่า ที่ดินนีมีความเหมาะสมที่กรุงเทพมหานครจะซื้อไว้ ส่วนที่ดินของผู้เสนอขายซึ่งเป็นบริษัทเอกชนอีกรายหนึ่งได้รายงานว่า มีความเหมาะสมน้อยกว่า
ต่อมาได้มีการเสนอเรื่องให้ นายพิจิตต รัตตกุลพิจารณา และได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา โดยมี นายญาณเดช ทองสิมารองผู้ว่า กทม. เป็นประธานกรรมการ และมีนายสมคาด สืบตระกูล เลขานุการผู้ว่า กทม. เป็นกรรมการ ซึ่ง นายญาณเดช ทองสิมา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นอีกหนึ่งชุด โดยมีนายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของที่ดินเสนอให้คณะกรรมการชุดของนายญาณเดช ทองสิมา พิจารณา
 
ในที่สุดคณะกรรมการทั้ง สองชุด ได้ตรวจสอบและมีมติเห็นชอบให้ซื้อ ที่ดินของเอกชนรายดังกล่าว ทั้งที่ได้สอบถามปัญหาทางเข้า - ออก ของที่ดินที่จะซื้อไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน กทม. และได้รับแจ้งยืนยันเป็นหนังสือชัดเจนว่า ที่ดินดังกล่าวไม่ติดทางสาธารณะแต่อย่างใดแต่ก็ยังมีความเห็นให้ซื้อ ที่ดินนี้โดยเห็นว่า ที่ดินที่เสนอขายมีทางภารจำยอมสำหรับที่ดินทุกแปลง
 
ต่อมา นายชวน พัฒนวรานนท์ ได้รายงานผลการพิจารณาถึงปลัด กทม.เพื่อนำเสนอให้นายพิจิตต รัตตกุลห็นชอบให้นายชวน พัฒนวรานนท์ซื้อ ที่ดินรายนี้โ ดยวิธีพิเศษ และเสนอขออนุมัติให้แต่งตั้ง นายชวน พัฒนวรานนท์ กับพวก ทำหน้าที่คณะกรรมการจัดซื้อ โดยวิธีพิเศษด้วยทั้งที่ การซื้อ ที่ดินรายนี้มิใช่กรณีเป็นที่ดินต้องซื้อเฉพาะแห่งและมิใช่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องซื้อโดยวิธีพิเศษแต่อย่างใด  ทั้งผู้เสนอขายยินดีขยายระยะเวลายืนราคาตามที่ขอขยายมาตลอดทุกครั้งไม่มีปัญหาแต่ประการใด

แต่นายพิจิตต รัตตกุล ก็ได้เห็นชอบให้ซื้อที่ดินรายนี้และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ซึ่งเป็นไปตามที่นายชวน พัฒนวรานนท์เสนอทุกประการ

จากนั้นนายชวน พัฒนวรานนท์ ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมซื้อ และรับโอนกรรมสิทธิที่ดินจากนายพิจิตต รัตตกุล โดยทำการแทนในนาม กทม. ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินโดยระบุว่า “สิ่งปลูกสร้างในที่ดินไม่มี”  ทั้ง ๆ ที่มีการเสนอขาย และมีการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เห็นควรซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อีกทัทั้ง ผู้ว่า กทม.ได้อนุมัติให้ซื้อ ที่ดินรายนี้โดยซื้อ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ในราคา 270 ล้านบาท ทั้งนี้โดยมีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงและช่วยเหลือให้ผู้ขายที่ดินไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ค่าธรรมเนียมและอากรในการจดทะเบียน

 
ในการชำระเงินค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ได้มีการสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเขียนเช็คสั่งจ่ายเอกชนเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียว และให้เขียนเช็คเป็นสองฉบับ โดยไม่มีการขีดคร่อม หรือขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ตามระเบียบของทางราชการ เพื่อให้สามารถนำเช็คดังกล่าวไปถอนเงินจากธนาคารเป็นเงินสดได้ทันที

เมื่อเอกชนเจ้าของที่ดินได้รับเงินค่าที่ดินแล้ว ปรากฏว่า ได้มีการสั่งจ่ายเงินเป็นเช็คจากเงินที่ขายที่ดินได้ดังกล่าวให้นายชวน พัฒนวรานนท์ และมีเงินจำนวนหนึ่งฝากเข้าบัญชีของ นายพิจิตต รัตตกุล และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจัดซื้อ ที่ดินในครั้งนี้
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา กับพวกดังกล่าว ทำให้กรุงเทพมหานครได้รับความเสียหายต้องซื้อที่ดินในราคาแพงเกินความเป็นจริงมาก และเป็นที่ดินไม่ติดทางสาธารณะไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ ทำให้ทางราชการเสียหาย
 
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติว่า
 
1. นายพิจิตต รัตตกุล เมื่อครั้ง ดำรงตำแหน่งผู้ว่า กทม.นายสมคาด สืบตระกูล เมื่อเมื่อ ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่ากทม. และนายชวน พัฒนวรานนท์เมื่อครั้ง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตบางซื่อ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 , มาตรา 151 และมาตรา 157 นอกจากนี้นายชวน พัฒนวรานนท์ ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงอีกด้วย
 
2. นายญาณเดช ทองสิมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม  ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีมูลความผิด ทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157
 
3. นายประเสริฐ สมะลาภา ปลัดกรุงเทพมหานคร นายสมควร รวิรัฐ  ผู้อำนวยการสำนักการคลัง และนางอรุณพรรณ แก้วมรินทร์  ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157
 
4. นางอุไรวรรณ วัลยานนท์  หน้าฝ่ายการคลัง นายประยูร ดอกอังกาบ  นายช่างสำรวจ 6 ฝ่ายโยธา และนายวินัย สุขมาก  เจ้าพนักงานปกครอง 6 ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางซื่อ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
 
ให้ส่งรายงาน และเอกสาร พร้อมทั้ง ความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว แล้วแต่กรณีต่อไป

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์