หมายเหตุ : คำแปลบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทริบูน (ไอเอชที) ฉบับประจำวันที่ 13 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา และปรากฏอยู่ในสิ่งพิมพ์ในเครือเดียวกันนี้อีกบางฉบับในวันเดียวกัน อาทิ บอสตัน โกลบ เป็นต้น
การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย บินมาลอนดอนเมื่อคืนวันอาทิตย์ (10 สิงหาคม 2551) เพื่อหลบหนีจากการไต่สวนและการรายงานตัวต่อศาลที่กรุงเทพฯ ที่เดิมกำหนดไว้วันจันทร์นั้น เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่พิสูจน์คำกล่าวที่ว่า
พวกคนรวยล้นฟ้านั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากประชาชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ อิทธิพลและอำนาจเงินของทักษิณทำให้เขาสามารถหลบหลีกข้อกล่าวหาคดีคอร์รัปชั่นที่บ้านเกิด มาลี้ภัยอย่างสำราญใจในฐานะเจ้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ แล้วก็ยังสามารถเตรียมการปูทางเพื่ออ้างสิทธิขอลี้ภัยการเมืองในอังกฤษได้อีก
เราควรจะจับตามองดูพฤติกรรมของทักษิณในการหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมให้ดี ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผลว่าเขามีชื่อเสียงว่าเป็นคนรวยที่สุดของเมืองไทย หรือเพียงเพราะความเป็นที่รู้จักกระฉ่อนระหว่างประเทศของเขาเท่านั้น มหาเศรษฐีแห่งวงการสื่อมวลชนคนนี้ยังเคยเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกทำให้เสื่อมศักดิ์ศรีลงระบอบหนึ่ง ระบอบที่คงรูปแบบเปลือกนอกของประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไว้ แต่เหลือเนื้อหาสาระแท้จริงของประชาธิปไตยน้อยเต็มที จนกระทั่งถูกเตะออกจากอำนาจในการปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อ 2 ปีที่แล้วมานี่เอง
ทักษิณซื้อความนิยมและเสียงสนับสนุนเขาจากคนจนในชนบทไทย เขาไล่ซื้อกิจการสื่อมวลชนหรือไม่ก็ข่มขู่สื่อ (ที่ซื้อไม่ได้) เขาสนับสนุนการใช้วิสามัญฆาตกรรมเป็นเครื่องมือในสงครามเอาชนะยาเสพติดที่ได้รับการโฆษณาอย่างครึกโครม แต่กลับปล่อยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับต้นเหตุแท้จริงของปัญหา คือบรรดาราชายาเสพติดทั้งหลายในพม่า เขายั่วยุให้เกิดการเดินขบวนประท้วงขนานใหญ่เมื่อขายทรัพย์สินของตระกูลคือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มชินคอร์ปเป็นเงิน 1.9 พันล้านดอลลาร์ให้สิงคโปร์ แต่แอบอ้างใช้สิทธิไม่ยอมเสียภาษีใดๆ จากการนี้ และตอนนี้ เขาก็กำลังหนีข้อกล่าวหาที่ว่าเขาใช้อำนาจในทางมิชอบเพื่อให้ได้ข้อมูลภายในมา และเอาไปใช้ประโยชน์ให้คนในครอบครัวเขาไปซื้อที่ดินได้ต่อไป
ในแถลงการณ์ที่คร่ำครวญสงสารตัวเองของเขาที่ส่งจากลอนดอนเมื่อวันจันทร์ (11 สิงหาคม 2551) ทักษิณเสแสร้งเสมือนหนึ่งว่าเขาไม่ได้รับความยุติธรรมและความเที่ยงตรงเป็นกลาง จากศาลไทย
แต่พฤติกรรมก่อนๆ ที่ผ่านมาของเขาเองได้แสดงให้เห็นว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวของเขาเป็นเท็จ ย้อนกลับไปเมื่อยังอยู่ที่กรุงเทพฯ เขาได้ตั้งทีมทนายเพื่อต่อสู้คดีคอร์รัปชั่นและก็ยังได้ยื่นฟ้องร้องคนที่วิพากษ์วิจารณ์ตัวเขาเองในศาลเดียวกันดังกล่าวนั่นเองด้วยเช่นกัน
ต่อคำกล่าวหาของทักษิณว่าระบบตุลาการไทยไม่ยุติธรรม รวมทั้งการที่เขายืนยันว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ต่อเขาเป็นเรื่องการแกล้งกันทางการเมืองด้วยนั้น เราควรพิจารณาเห็นได้โต้งๆ ว่าเป็นแค่ความพยายามของเขาที่จะเตรียมยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองต่อศาลอังกฤษแค่นั้นเอง เพื่อที่ใช้น้ำตาลไอซิ่งโรยแต่งหน้าเค้กก้อนนี้เสียหน่อย เขาก็ได้เพิ่มอีกประเด็นในคำแถลงที่เขียนด้วยลายมือตัวเองด้วยว่า เขากลัวจะถูกลอบสังหารหากเขากลับไปเมืองไทย
ทักษิณควรจะต้องไปรับการไต่สวนข้อกล่าวหาตามกระบวนการยุติธรรมในศาลไทย กระบวนการทางกฎหมายที่เป็นธรรมและโปร่งใสจะเป็นหลักประกันความยุติธรรมได้โดยเฉพาะในกรณีคดีคอร์รัปชั่น และยังจะเป็นการฉีดวัคซีนให้เมืองไทย และอาจจะรวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วยก็ได้ เพื่อป้องกัน "โรคคนเดียวครองอำนาจ" ไม่ว่าจะเป็นการกุมอำนาจโดยมหาเศรษฐีกิจการสื่อมวลชน หรือมหาเศรษฐีกิจการพลังงานของโลกก็ตาม
Inoculating Thailand against one-man rule
When the former prime minister of Thailand, Thaksin Shinawatra, flew into London on Sunday night, fleeing indictment and a Monday court date in Bangkok, he illustrated the old saw that the very rich are very different from you and me. Thaksin's wealth and influence allowed him to elude corruption charges back home, enjoy an easeful exile as the owner of the Manchester City soccer club, and prepare the way for a claim of political asylum in Britain.
Thaksin's actions as a fugitive from justice merit attention not merely because he is reputed to be the richest man in Thailand or because of his international notoriety. Until he was removed from power in a bloodless coup two years ago, the media magnate presided over a debased version of democracy, a system that preserved the external forms of popular sovereignty but little of its substance.
Thaksin bought his popularity and the support of the rural poor in Thailand. He purchased or intimidated media outlets. He countenanced extra-judicial assassinations as a tool for waging a highly publicized war on drugs while leaving alone the drug lords in neighboring Burma, who are the source of that trade. He provoked popular protest when he sold his family's 49 percent share in the Shin telecommunications company for $1.9 billion to a Singaporean company and claimed exemption from any capital gains tax. And he is currently fleeing charges that he used his power to secure insider deals on real-estate purchases for family members.
In a self-pitying statement issued from London Monday, Thaksin pretended he could not receive impartial justice from the courts in Thailand.
But his own previous actions belie that claim. Back in Bangkok he had appointed defense lawyers to fight the corruption charges against him, and he recently filed his own lawsuits against critics in those same courts.
Thaksin's allegations about a tainted Thai judiciary and his assertion that the cases against him are political should be seen as transparent attempts to lay the foundation for a claim of political asylum in British courts. To daub a little icing on that cake, he included in his handwritten statement a fear that he could face assassination if he were forced to return to Thailand.
Thaksin ought to be made to answer the charges against him in the Thai courts. A fair and transparent legal process could assure justice in particular corruption cases. It could also inoculate Thailand - and perhaps other countries as well - against the malady of one-man rule by the world's richest media moguls or energy barons.
เปิดบทบรรณาธิการ เฮรัลด์ ทริบูน จวก ทักษิณ - ฉีดวัคซีนให้เมืองไทย กันโรค คนเดียวครองอำนาจ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง เปิดบทบรรณาธิการ เฮรัลด์ ทริบูน จวก ทักษิณ - ฉีดวัคซีนให้เมืองไทย กันโรค คนเดียวครองอำนาจ