อจ.จุฬาสับ 6 มาตราการเละ! เหมือนยาหม่องทาแผลฉกรรจ์

นายสมภพ มานะรังสรรค์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการ 6 ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ว่า หากรัฐบาลบอกว่าจะแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อด้วยการลดภาษีน้ำมันนั้น ตนเห็นว่า คงไม่ใช่ เพราะมาตรการแบบนี้จะยิ่งทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในอนาคตสูงขึ้น ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือการบริหารกลไกให้ประชาชนใช้น้ำมันอย่างประหยัดมากกว่า โดยมาตรการเช่นนี้ สามารถใช้ได้ผลในประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่นมาแล้ว นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เป็นเศรษฐกิจมหรรพภาค น่าจะมุ่งตรงไปที่ปัญหาเชิงโครงสร้างของการเงินและการคลังมากกว่า


นายสมภพ กล่าวถึงมาตรการให้ใช้น้ำประปา ไฟฟ้า และการให้ขึ้นรถเมล์ฟรี ว่า เป็นมาตรการที่ออกมาแบบผิดฝาผิดตัว

โดยเห็นว่าประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคงไม่น่าจะได้ประโยชน์ เนื่องจากคนกทม.ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเชิงเดี่ยว ที่มีการศึกษาและมีรายได้มาก และเป็นผู้ใช้น้ำประปาและไฟฟ้าน้อย กลับไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ตรงกันข้ามคนจนเมืองกลับเป็นผู้ที่อยู่ด้วยกันหลายคน จึงต้องใช้น้ำประปาและไฟฟ้าไฟมากกว่า ดังนั้น มาตรการนี้จึงอาจไม่มีสิทธิภาพ ส่วนการให้ขึ้นรถเมล์ฟรีนั้น หากจะลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ควรกำหนดตั๋วโดยสารลดราคาลงครึ่งหนึ่งแล้วนำเงินอุดหนุนไปจ่ายให้ผู้ประกอบการจะดีกว่า เพราะหากรัฐบาลเดินหน้าตามมาตรการนี้ จะเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ จนเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผู้ประกอบการ
 

'มาตรการที่ออกมาทั้ง 6 มาตรการนี้ ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่อาจบรรเทาทุกข์แบบประชาสังเคราะห์ได้ชั่วคราว เหมือนกับใช้ยาหม่องหรือกอเอี๊ยะ เพื่อรักษาแผลฉกรรจ์ที่รอการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ตรงจุด รวมทั้งขาดความมีประสิทธิภาพและขาดความเป็นธรรม แม้ว่าการผลักดันนโยบายเพื่อช่วยคนจนจะไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่เป็นการช่วยแบบไม่ยั่งยืน ถือเป็น 'นคราประชานิยม'  รอบใหม่เพื่อซื้อใจประชาชนแบบทิ้งทวน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายบางอย่าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยผมมองว่าระยะยาวจะทำให้เสียวินัยทางการคลัง การแก้ไขปัญหาแบบนี้เราควรมองเสียงสะท้อนจากต่างประเทศว่าเขามองเราอย่างไรมากกว่า โดยตอนนี้มีเสียงสะท้อนในแง่ไม่ดีแล้ว' นายสมภพ กล่าว


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์